ต้นพะยูง
พยุง พะยูง พะยุง ต้นพยุง ต้นพะยูง ต้นพะยุง
ชื่อพื้นเมือง กระยง กระยุง ชะยุง แดงจีน ประดู่ตม ประดู่ลาย ประดู่เสน ประดู่น้ำ พระยูงไหม หัวลีเมาะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis Pierre
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
สถานภาพ ไม้หวงห้ามธรรมดาประเภท ก
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
ในประเทศ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้ง แถบภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงจากระดับน้ำทะเล 100-200 เมตร
ในต่างประเทศ กัมพูชา ลาว
ลักษณะทั่วไป
ต้นไม้ ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างโปร่ง กิ่งห้อยย้อยลง เปลือกนอกสีน้ำตาลแดง เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดอ้าสี่เหลี่ยมหรือลอกเป็นแผ่นบาง เปลือกในสีขาวอมชมพู
ใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ช่อใบยาว 10-15 ซม. มีใบย่อย 7-9 ใบ เรียงสลับ ใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน กลมหรือเป็นรูปลิ่มกว้าง ๆ ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีขาวนวล ใบเหนียวคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ เส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น ก้านใบย่อยยาว 3-6 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบและปล่ายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกรูปดอกถั่วมี 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 มม. มีกลิ่นหอม ดอกสีขาว
ผล ผลเป็นฝักแห้งไม่แตก แบนและบาง รูปขอบขนานสีน้ำตาลแดง กว้าง 1.2 ซม. ยาว 4-6 ซม. เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข็ม มี 1-4 เมล็ด
ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล
ออกดอก พ.ย.-ก.ค.
ผลแก่ ก.ค.-ก.ย.
การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด
ลักษณะเนื้อไม้ สีแดงอมม่วง หรือสีม่วงเป็นมันมีลายสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนสน เป็นริ้วแคบ ๆ เนื้อละเอียดเหนียวแข็ง
ชั้นคุณภาพ A
ลักษณะทางกายวิภาค ที่เห็นได้ด้วยแว่นขยายขนาด 10-15 เท่า (handlens)
พอร์ ส่วนมากเป็นพอร์เดี่ยว (solitary pore) และพอร์แฝด (multiple pore) มีน้อย แบบของการเรียงตัวไม่เด่นชัด การกระจายเป็นแบบกระจัดกระจาย (diffuse porous) พอร์ใหญ่ทางภายในพอร์มีสารตกค้าง (deposit) เป็นบางพอร์ เส้นเรย์เห็นไม่ค่อยช้ด พาเรงคิมาเป็นแบบปีก (aliform parenchyma) และพาเรงคิมาแบบปีกต่อ (confluent parenchyma) มีลายริ้ว (ripplemark)
สกายสมบัติ ความแน่น (กก./ม.3) 1,032 ความยากง่ายในการผึ่งไม้ ยาก การอบไม้ ตารางที่ 1
กลสมบัติ (strength properties) ชั้นความแข็งแรง มีแรงดัดสถิต มอดูลัสแตกร้าว 171 MPA มอดูลัสยืดหยุ่น 16,377 MPA แรงอัดขนานเสี้ยน 117 MPA แรงเฉือน 26.0 MPA ความแข็ง 13,523 N ทั้งหมดในสภาพแห้ง
ความทนทานตามธรรมชาติ ความทนทานสูงมากกว่า 15 ปี
คุณสมบัติการใช้งาน การเลื่อย การไส การเจาะ การกลึงค่อนข้างยาก การยึดเหนี่ยวตะปูดีมาก การขัดเงาปานกลาง
การใช้ประโยชน์
ด้านการทำฟืนและถ่านไม้ ฟืนให้ความร้อน 5,112 แคลอรี/กรัม ถ่านไม้ให้ความร้อน 7,352 แคลอรี/กรัม
ด้านเป็นไม้ประดับ เนื่องจากเป็นไม้มีค่าหายากและเนื้อไม้สวยงามยิ่งกว่าไม้ชิงชัน หรือรกะพี้เขาควาย และใกล้สูญพันธุ์ สมควรปลูกเป็นไม้อนุรักษ์พันธุกรรมพืชในสวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ แต่ถ้าปลูกเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจจะได้ไม้ราคาแพงมาก เพราะว่าในอดีตได้มีการทำไม้ชนิดนี้ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นมาก ขายเป็นกิโลกรัม นับว่าเป็นไม้ที่น่าจะมีการพัฒนาพันธุ์เพื่อใช้เป็นสินค้าได้ราคาสูงที่สุด ประการสำคัญมีชื่อเป็นมลคล เชื่อกันว่าปลูกแล้วจะช่วยพยุงให้โชคดีมีชัยเสมอ
ด้านสมุนไพร สรรพคุณ
ราก แก้ไข้พิษ
เปลือกต้น เปลือกต้มเอาน้ำอมแก้ปากเปื่อย
พะยูงเป็นชื่อพื้นเมืองทางการของไม้ชนิดนี้ แต่ก็มีการเรียกขานที่แตกต่างกันไป ตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น กระยง กระยุง (เขมร – สุรินทร์) ขะยุง (อุบลราชธานี) ประดู่ลาย (ชลบุรี) พะยูงไหม (สระบุรี) ประดู่เสน (ตราด) ประดู่ตม (จันทรบุรี) หีวสีเมาะ (จีน) เป็นต้น (เต็ม สมิตินันท์ 2523) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia cochinchinensis Pierre อยู่ในอนุวงศ์ Papilionaceae วงศ์ Leguminosea มีชื่อทางการค้าในตลาดต่างประเทศว่า Siamese Rosewood หรือ Thailand Rosewood มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม พะยูงจัดว่าเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และยังเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่มีราคาแพงที่สุด ชนิดหนึ่งในตลาดต่างประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตามจากสถิติปริมาณไม้ ที่ทำออกจากป่า ระหว่างปี พ.ศ. 2528 ถึง 2532 ในปี พ.ศ. 2530 มีการทำไม้พะยูงออกสูงสุด แต่มีปริมาณเพียง 662 ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบ กับไม้สัก (37,278 ลบ.ม.) และไม้ประดู่
(51,937 ลบ.ม.) ในปีเดียวกัน (ฝ่ายสถิติป่าไม้ 2532) จึงอาจจะถือได้ว่าไม้พะยูงในประเทศไทย กำลังเผชิญกับสภาวะที่ล่อแหล่มต่อการสูญพันธ์ หรือสูญสิ้น
ในความหลากหลายทางพันธุ์กรรม การอนุรักษ์สายพันธุ์จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วนสำหรับไม้ชนิดนี้
ลักษณะทั่วไป
พะยูงเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 25 เมตร มีช่วงลำต้น 10-15 เมตร มีเปลือกสีเทา เรียบ ลอกเป็นแผ่นบาง ๆ เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง โดยมากจะมีพุ่มใบกว้าง การแตกกิ่งก้านจะแตกเป็นแขนงแยกย่อยจากกิ่งใหญ่ โดยมากตาที่จะแตกเป็นกิ่งใหม่
่มักจะอยู่บนกิ่งแขนงย่อยบริเวณส่วนนอกของพุ่มใบ ใบเป็นใบประกอบเป็นช่อแบบขนนก ช่อใบยาว 10-15 ซม. มีใบย่อย 7-9 ใบ เรียงตัวสลับกัน ใบมีลักษณะเหนียวคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ มีลักษณะรูปไข่ขนาดกว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายใบแหลม ดอกพยุงมีขนาดเล็กสีขาวเกิดบนช่อดอกเชิงประกอบ ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้ยอด ออกดอกระหว่างเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม ผลพะยูงเป็นฝักเกลี้ยงรูปขนานแบนและบอบบางกว้าง 1.2 ซม. ยาว 4-6 ซม. ตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ดมองเห็น เส้นแขนงไม้ชัดเจน ฝักพะยูงเมื่อแก่จะไม่แตกออกเหมือนฝักแดง หรือ ฝักมะค่าโมง ฝักจะร่วงหล่นโดยที่เมล็ดยังอยู่ในฝัก มีเมล็ดจำนวน 1-4 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบนเป็นรูปไต สีน้ำตาลเข้ม ผิวเมล็ดค่อนข้างมันมีขนาด กว้างประมาณ 4 มม. ยาว 7 มม. (ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ 2526) ระบบรากเป็นระบบรากแก้วและรากแขนงโดยรากแก้วจะเป็นรากแกนหลักที่มีรากแขนงแตกย่อยออกไป เป็นไม้ที่มีระบบรากค่อนข้างลึก รากฝอยจะมีปมรากแบบปนรากถั่วช่วยในการตรึง ก๊าซในโตเจน
การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
เนื่องจากไม้พยุงเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในหลายประเทศ มีสภาพภูมิอากาศและถูมิประเทศและระบบนิเวศน์ที่แตกต่างกันไป การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติจึงขี้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะและองค์ประกอบทางพันธุ์กรรมที่จะเอื้ออำนวยให้สายพันธุ์นั้น ปรับตัวได้ในสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์นั้นพรรณไม้ที่เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของระบบนิเวศน์นั้น ๆ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ซึ่งปัจจัยนี้จะเป็นตัวกำหนดให้การวิวัฒนาการร่วมกันภายในแต่ละสังคมพืชแตกต่างกันไป และได้พรรณไม้ที่แตกต่างและเหมาะสมเฉพาะแต่ละท้องถิ่นและ จะส่งผลให้เกิดความผันแปรทางพันธุศาสตร์ระหว่างถิ่นกำเนิด เนื่องจากการคัดเลือกพันธุ์ตามธรรมชาติ สำหรับประเทศไทยจะพบพะยุงได้ตามธรรมชาติ
ิในป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบแล้งทั่วไป ทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-200 เมตร
การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า
แม้ในปัจจุบันวิทยาการด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน การขยายพันธุ์พืชได้หลายชนิด รวมทั้งไม้ป่าบางชนิดก็ตาม แต่ก็ยังจำกัดอยู่ในระดับของการทดลองเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะสำหรับพรรณไม้ป่า เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์์เครื่องมือที่ทันสมัยและงบประมาณที่สูง
และมีขบวนการค่อนข้างซับซ้อน การขยายพันธุ์พะยูงด้วยเมล็ดจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมและสะดวกที่สุด วิธีการผลิตและการเพาะชำกล้าพะยูงนั้น มิได้มีความแตกต่างและสลับซับซ้อนจาก การผลิตกล้าไม้ป่าชนิดอื่นเท่าไดนัก เนื่องจาก เมล็ดพะยูง มีความงันที่เปลือกอยู่บ้าง การเพาะเมล็ด
ถ้าจะให้ได้ผลดีและมีการงอกที่สม่ำเสมอ จึงควรขจัดความงันที่เปลือกออกด้วยการ ปฏิบัติต่อเมล็ดก่อนเพาะ ด้วยวิธีหนึ่ง อาจจะด้วยการแช่ในน้ำเย็นเป็นเวลา 25 ชม. หรือแช่ในกรดกำมะถันเข็มข้นเป็นเวลา 1 นาที แล้วล้างกรดออกด้วยน้ำไหล เป็นเวลา 30 นาที (ชนะ ผิวเหลือง และคณะ 2532) หลังจากนั้นนำเมล็ด ไปเพาะในกระบะทรายที่เตรียมไว้ กลบเมล็ดด้วยทรายเพียงบาง ๆ รดน้ำสม่ำเสมอแต่อย่าให้แฉะเมล็ดพะยูงจะงอกหมดภายใน 7 วันหลังจากหว่าน เมื่อเมล็ดพะยูงงอกได้ ประมาณ 10-14 วัน ซึ่งกล้าอ่อน จะมีความสูงราว 1 นิ้ว และมีใบเลี้ยง 1 คู่ ก็สามารถย้ายไปชำในถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้ โดยทั่วไป มักใช้ถุงพลาสติกขนาด 4 x 6 นิ้ว เจาะรูปประมาณ 8-12 รู สำหรับวัสดุที่ใช้ในการเพาะชำกล้าไม้ อาจจะมีส่วยผสมที่แตกต่างกันไป แต่จากผลการทดลองพบว่าส่วนผสมระหว่าง ดินตะกอนริมห้วย : ทราย : ขี้เถ้าแกลบ : ปุ๋ยหมัก = 5 : 2 : 2 : 1 มีความเหมาะสมที่สุด (สุคนธ์ สิมศิริ และคณะ 2531) ระยะเวลาที่ใช้ในการอนุบาลกล้าพะยูงในเรือนเพาะชำนั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการบำรุงและ การดูแลรักษา โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 3-5 เดือน จึงจะได้กล้าไม้ขนาดที่เหมาะสมต่อการย้ายปลูก ซึ่งควรที่จะมีความสุขไม่น้อยกว่า 30 ซม. ทั้งนี้เพื่อให้กล้ามีความแข็งแรงและสามารถแก่งแย่งกับวัชพืชได้
การคัดเลือกพื้นที่และการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก
พะยูงแม้จะจัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญก็ตาม การปลูกสร้างสวนป่าของไม้ชนิดนี้นับว่ายังอยู่ในอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับ ไม้เศรษฐกิจชนิดอื่น เช่น สัก เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปรับปรุงสภาพป่าเสื่อมโทรม อนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร การปลูกเชิงพาณิชย์หรือวนเกษตรเพราะยังมิได้มีนโยบายกำหนดไว้ว่าจะต้องปลูกไม้พะยูงในอัตราส่วนหรือจำนวนเท่าใดของเป้าหมายของการปลูกป่าของแต่ละปี การปลุกไม้พะยูงโดยทั่วไปจึงยังอยู่ในระดับที่ต่ำและมักจะเป็นการปลูกเพื่อการทดลอง สาธิตหรือ จากความสนใจเฉพาะบุคคล จึงยังมิได้มีการสรุปถึงวิวัฒนาวิธีที่เหมาะสมสำหรับการปลูกไม้พะยูง
อย่างไรก็ตามไม้พะยูงสามารถปลูกได้ทั่วไปในหลายพื้นที่ทั้งทางภาคอีสานและภาคใต้ (ดำรง ใจกลม 2528) การคัดเลือกพื้นที่และการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกพะยูงจึงมิได้มีความแตกต่างหรือสลับซับซ้อนจากการเตรียมพื้นที่เพื่อการปลูกพรรณไม้้ชนิดอื่นเท่าใดนัก การเตรียมพื้นที่ที่สำคัญ จึงประกอบด้วยการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก การไถพรวนพื้นที่หากสภาพภูมิประเทศเอื้ออำนวย เช่น เป็นที่ราบ และการเก็บและทำลายเศษปลายไม้และวัชพืช
วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม
ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกไม้พะยูงคือในช่วงที่เป็นต้นหรือกลางฤดูฝน (ระหว่างพฤษภาคม-สิงหาคม) เพราะจะทำให้กล้าไม้มีอัตราการรอดตายที่สูงและมีระยะเวลา นานพอสำหรับการตั้งตัว การปลูกพะยูงโดยทั่วไปจะปลูกด้วยกล้าไม้ ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการปลูกด้วยเหง้า ก่อนจะย้ายปลูกลงในแปลงประมาณ 2 อาทิตย์ ควรลดปริมาณการให้น้ำ (การรดน้ำ) แก่กล้าลง ทั้งนี้เพื่อให้กล้าไม้มีการปรับตัว และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้หลังจาก การปลูกเนื่องจากฝนทิ้งช่วงก่อนนำไปปลูกกล้าไม้ ้ควรได้รับการใส่ปุ๋ยด้วยในปริมาณที่
ี่พอเหมาะ (ประมาณต้นละ 1 ช้อนชา) ทั้งเพื่อให้ให้กล้าไม้มีปริมาณธาตุอาหาร ที่เพียงพอในช่วยระยะแรกของ การตั้งตัว และสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้
การเตรียมหลุมสำหรับการปลูกกล้าไม้ ควรขุดให้ลึกพอที่จะคลุมระบบรากได้หมดหาก มีการใส่ปุ๋ยที่กล้าไม้ก่อนย้ายปลูกแล้ว การใส่ปุ๋ย ที่ก้นหลุมอาจจะไม่จำเป็น หากบริเวณแปลงปลูกมีปลวกอยู่มากควรใส่ยากำจัดปลวกที่ก้นหลุมด้วย สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสมนั้นควร จะเป็น 2 x 2 หรือ 3 x 3 เมตร ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างกันเท่าใดนักในอัตราการเจริญเติบโต (อนันต์ สอนง่าย และคณะ 2531)
ไม้พะยูงสามารถปลูกผสมกับไม้ชนิดอื่นได้ แต่พรรณไม้ที่จะปลูกผสมกับพะยูง ควรเป็นพรรณไม้ที่มีความใกล้เคียงกัน ทั้งอัตราการเจริญเติบโต และความต้องการในสภาพของระบบนิเวศน์ที่คล้ายคลึงกันทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนการวิวัฒนาการร่วมกันและลดการแก่งแย่งกันของระบบรากและเรือนยอดในระยะยาว พรรณไม้ที่จะใช้ปลูกร่วมกับพะยูงอาจเป็น ประดู่ มะค่าโมง และแดง เป็นต้น
การบำรุงรักษา
ระยะเวลาสำหรับการบำรุงรักษาแปลงปลูกไม้พะยูงนั้นยังกำหนดแน่นอนไม้ได้ เพราะขึ้นอยู่กับงบประมาณและการ เจริญเติบโตของต้นไม้ ที่ปลูกแต่ละพื้นที่ว่าจะสามารถครอบคลุม การเจริญเติบโตของวัชพืชได้เร็วเพียงใด อย่างไรก็ตามพอสรุปในเบื้องต้นได้ว่าควรมี การบำรุงรักษาติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี
การบำรุงรักษามีวิธีปฏิบัติในลักษณะเดียวกับการบำรุงรักษาพรรณไม้ชนิดอื่น ๆ ที่กำจัดวัชพืชควรดำเนินการ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะในฤดูแล้งไม่ควรให้มีวัชพืชหรือเศษวัชพืชอยู่ในแปลง เพราะจะกลายเป็นเชื้อเพลิงและก่อให้เกิดไฟไหม้แปลงได้้การกำจัดวัชพืชในช่วงก่อนถึงฤดูแล้ง
จึงมีความสำคัญมากและควรดำเนินการควบคู่ไปกับการป้องกันไฟ ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นมากในระยะที่ต้นไม้ยังเล็กอยู่ การป้องกันไฟควรเริ่มดำเนิน
การตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม หรือเมื่อแน่ใจว่า ไม่มีโอกาสที่จะเกิดไฟได้อีก
การใส่ปุ๋ยในระยะที่ต้นไม้ยังเล็กมีความสำคัญมากเพราะยังอยู่ในภาวะที่ต้องแก่งแย่ง กับวัชพืชกล้าไม้จึงควรได้รับ การใส่ปุ๋ยอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณการป้องกันโรค และแมลงหากมีการระบาดอย่างรุนแรงก็มีความจำเป็น ที่จะต้องใช้ยาฆ่าแมลงที่เหมาะสม พร้อมทั้งขจัด ทำลายไม้ที่ได้รับความเสียหายจากโรคและแมลง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่แพร่ระบาดของโรคและแมลงต่อไป ในขณะที่ต้นไม้ยังเล็กอยู่ช่วง 3-5 ปีแรกของการปลูกไม่้ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงเข้าแปลงปลูกเพราะสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นจะเหยียบย่ำต้นไม้และกัดกินใบและยอดซึ่งจะทำให้ต้นไม้เสียรูปทรงและอาจตายได้
การบำรุงต้นไม้ด้วยการตัดและแต่งกิ่งสำหรับพะยูงอาจจะไม่มีความจำเป็นเท่าใดนัก นอกเสียจากเป็นส่วนที่ถูกทำลายด้วยโรคและแมลง เพื่อมิให้เป็นแหล่งแพร่ระบาดต่อไป การปลูกพะยูงในระยะปลูกที่แคบเช่น 2 x 2 เมตร จะช่วยให้ต้นไม้้มีการริีดกิ่งเองตามธรรมชาติได้ดีกว่าการปลูกในระยะ
ที่ห่างสำหรับการตัดสางขยายระยะนั้นยังไม่มีตัวเลขกำหนดแน่นอนว่าควรจะเป็นเมื่อไรหรือเมื่อไม้มีขนาดเท่าใดเพราะขึ้นอยู่กับระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดินบริเวณนั้น อย่างไรก็ตามข้อสังเกตสำหรับพิจารณาการตัดสางขยายระยะคือ เมื่อเรือนยอดเริ่มเบียดเสียดชิดกันมาก และการตัดสางขยายระยะ ควรพิจารณาต้นที่โตด้อยหรือแคระแกร็นกว่าต้นอื่นเป็นหลัก
โรคแมลงและศัตรูธรรมชาติ
พะยูงมีศัตรูธรรมชาติที่เป็นทั้งโรคและแมลงหลายชนิดด้วยกัน แมลงมีทั้งที่เจาะเมล็ด เช่น Antrocephalus sp. พวกกัดกินใบ เช่น Plecoptera Feflexa, Psilogramma menephron พวกม้วนใบ เช่น Apoderus sp. และพวกเจาะลำต้น เช่น Sphenoptera sp. เป็นต้น (ฉวีวรรณ หุตะเจริญ 2526) สำหรับโรคที่เป็นศัตรูของพะยูงมักพบในขณะที่เป็นกล้าอยู่ได้แก่ โรคราสนิม ( Rust ) ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Maravalia pterocarpi (thir.) Thir. ซึ่งจะทำลายทั้งส่วนใบและลำต้นของกล้าไม้ โดยเฉพาะกิ่งยอด และโรคใบจุด (Tar spot) ซึ่งเกิดจากเชื้อราในกลุ่ม Ascomycetes โดยจะทำลายใบ (กฤษณา พงษ์พานิช และคณะ 2531)
การเจริญเติบโตและผลผลิต
พะยูงแม้จะเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่เนื่องจากเป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าจึงได้รับความสนใจน้อยมาก ในการปลูก
สร้างสวนป่า ความรู้เกี่ยวกับอัตราการเจริญเติบโตของไม้หนุ่มจนถึงช่วงอายุตัดฝัน ตลอดจนอัตรา ผลผลิต ทั้งในรูปน้ำหนักและปริมาตรไม้ในแต่ละช่วงอายุตัดฟัน
จึงยังจำกัด อย่างไรก็ตามอัตราการเจริญเติบโตของพะยูง ในช่วงที่ยังเป็นกล้าไม้ หรือไม้เล็กมีผู้ศึกษาและได้ผลดังนี้ เมื่อปลูกด้วยระยะปลูก 2 x 3 เมตร
กล้าไม้เมื่อมีอายุ 1 และ 2 ปี จะมีความสูง 1.1 เมตรและ 2.1 เมตรตามลำดับ และกล้าไม้อายุ 4 ปี เมื่อปลูกในระยะ 2 x 2 เมตร จะมีความสูง 4.4 เมตร
(อนันต์ สอนง่าย และคณะ 2531) แม้จะไม่มีข้อมูลแสดงถึงอัตราการเจริญเติบโตของไม้อายุมากกว่า 10 ปีก็ตาม อัตราการเจริญเติบโตในช่วงอายุ 1-4 ปี ก็นับว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
การใช้ประโยชน์
ประโยชน์ของไม้พะยูงโดยมากจะอยู่ในรูปของการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ที่มีสีสันและลวดลายสวยงามจนถือได้ว่าเป็นไม้ที่มีราคาแพงที่สุดชนิด
หนึ่งในตลาดโลก เนื้อไม้พะยูงมีความละเอียด เหนียวแข็งทนทานและชักเงาได้ดีี มีน้ำมันในตัวจึงมักใช้ทำเครื่อง เรืีอน เครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ในการแกะสลัก
และทำด้ามเครื่องมือต่าง ๆ
ข้อจำกัดของไม้ชนิดนี้
พะยูงแม้จะเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญและสามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่ แต่เนื่องจากเป็นไม้ที่โตค่อนข้างช้า อีกทั้งไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับช่วงอายุตัดฟันและอัตราผลผลิตที่พึงได้ พะยูงจึงไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรในการปลูกสร้างสวนป่าอย่างจริงจัง ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จำกัดการปลูกไม้ชนิดนี้ให้ประสบความสำเร็จ สำหรับการทำลายของโรคและแมลง นั้นไม่ใช่ปัญหาและอุปสรรค สำคัญของ
การปลูกสร้างสวนป่าของไม้ชนิดนี้
ข้อเสนอแนะต่อราษฎรและภาคเอกชนที่สนใจในการปลูกไม้ชนิดนี้
พะยูงเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่คุ้มค่าแก่การลงทุนและให้ผลตอบแทนสูง อย่างไรก็ตามคุณภาพของเนื้อไม้นับว่า เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงไม้พะยูงมีแนวโน้มที่จะแตกเป็นพุ่ม ตั้งแต่ในขณะที่มีอายุน้อยเพียง 3-4 ปี ดังนั้นการปลูกควรจะปลูกในระยะชิด
เช่น 2 x 2 เมตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการบังคับรูปทรงของต้นไม้ให้มีความเปลาตรงมากขึ้นและสะดวกต่อการควบคุมวัชพืช และที่สำคัญเมล็ด
ที่จะใช้สำหรับการเพาะกล้าควรมีคุณภาพหรือได้รับการปรับปรุงคุณภาพพันธุศาสตร์แล้ว
จากหนังสือ เอกสารส่งเสริมการปลูกป่า กองบำรุง กรมป่าไม้
โดย ชัยสิทธิ์ เลี้ยงศิริ และคณะ
คุณไก่ 095-4654546
0 ความคิดเห็น