http://www.http://takuyak.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 23/05/2008
ปรับปรุง 13/01/2023
สถิติผู้เข้าชม5,772,982
Page Views7,086,174
สินค้าทั้งหมด 5
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
โลกร้อน หายนะมวลมนุษยชาติ
มิติธรรมชาติ
เศรษฐพอเพียง
สักทองพืชทำเงินที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
"ต้นยางนา" พืชสร้างเงินที่ไม่ธรรมดา
"ไม้ยูคาลิปตัส"ความต้องการใช้ที่มีอย่างต่อเนื่อง
ไม้พยุง ไม้เงินล้านวันนี้ราคาพุ่งแรงแซงไม่หยุด
เปิดคลังไอเดียพืชทำเงิน
ราคาทอง
ราคาน้ำมัน
พยากรณ์อากาศ
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
ทีวีผ่านเน็ต
ศูนย์รวมสมุนไพรทุกชนิด
เพื่อนบ้านทั้งหมด
 

ไม้ยูคาลิปตัส..วันนี้ความต้องการใช้งานยังมีสูง

ไม้ยูคาลิปตัส..วันนี้ความต้องการใช้งานยังมีสูง

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส (อังกฤษ: Eucalyptus)เป็นพรรณไม้มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนีย มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่หมู่เกาะมินดาเนา เซลีเบส ปาปัวนิวกินี ในพื้นที่ชุ่มที่มีน้ำขังในเขตร้อน

ยูคาลิปตัส เป็นไม้ต่างประเทศ มีมากกว่า 700 ชนิด มีถิ่นอยู่ในทวีปออสเตรเลีย

ประเทศไทยได้เริ่มทดลองนำยูคาลิปตัสมาปลูกประมาณปี พ.ศ. 2493 และได้มีการทดลองปลูกกันจริงๆเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2507

ยูคาลิปตัสสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพของดินแทบทุกประเภท ตั้งแต่พื้นที่ริมน้ำ ที่ราบน้ำท่วมถึงบางระยะในรอบปี แม้แต่ดินที่้้เป็๋นทรายและมีความแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลานาน พื้นที่ดินเลวที่มีปริมาณน้ำฝนน้ิอยกว่า 650 มิลลิเ้มตรต่ิอปี รวมทั้งพืนที่ที่มีดินเค็ม ดินเ้ปรี้ยว แต่ยูคาลิปตัสจะไม่สามารถทนต่อดินที่มีสภาพเป็นหินปูนสูง

ลักษณะทั่วไป

ลำต้น เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูง 24-26 เมตร และอาจสูงถึง 50 เมตร ความโตเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เมตร

ใบ เป็นคู่ตรงข้ามเรียงสลับกัน ลักษณะเป็นรูปหอก มีขนาด 2.5-12X0.3-0.8 นิ้ว ก้านใบยาว ใบสีเขียวอ่อนทั้งสองด้าน เส้นใบมองเห็นได้ชัด

เปลือก มีลักษณะเรียบเป็นมัน มีสีเทาสลับสีขาวและน้ำตาลแดงเป็นบางแห่ง เปลือกนอกจะแตกอ่อนร่อนเป็นแผ่นหลุดออกจากผิวของลำต้น เมื่อแห้งจะลอกออกได้ง่าย เปลือกหนาประมาณ 1/2 เซนติเมตร

เมล็ด ขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร สีเหลือง เมล็ด 1 กิโลกรัมมีเมล็ดประมาณ 1-200,000 เมล็ด

ช่อดอก เกิดที่ข้อต่อระหว่างกิ่งกับใบ มีก้านดอกเรียวยาว และมีก้านย่อยแยกไปอีก ออกดอกเกือบตลอดปีออกดอกปีละ 7-8 เดือน

ผล มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม ผิวนอกแข็ง เมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก ทำให่เมล็ดที่อยู่ภายในหล่นออกมา

ลักษณะเนื้อไม้ มีแก่นสีน้ำตาล กระพี้น้ำตาลอ่อน กระพี้และแก่นสีแตกต่างเหก็นได้ชัด เนื้อไม้แตกง่ายหลังจากตัดฟัน

 

การเตรียมพื้นที่ปลูก

สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยูคาลิปตัส ควรเป็็นพื้นที่ราบระบายน้ำได้ดี ลักษณะดินควรเป็นดินร่วนปนทราย มีค่า PH 5-6 ที่สำคัญไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก มีปริมาณน้ำฝนมาก หรือมีความชุมชื้นสูง มีสภาพชื้นแฉะอยู่เสมอ ถ้าเป็นพื้นที่เชิงเขาควรมีความลาดชันน้อย

การปรับปรุงสภาพพื้นที่ก่อนปลูก

  • ในสภาพพื้นที่ที่แห้งแล้ง ใช้แทรกเตอร์ไถปาดไม้เดิมออก เก็บริบสุมเผา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ก่อนฤดูฝนปลายเดือนเมษษยน-พฤษภาคม ใช้แทรกเตอร์ไถพรวน 2 ครั้ง โดยครั้งแรกใช้ผาน 3 หลังจากฝนตกหนัก 2-3 ครั้ง ใช้แทรกเตอร์ผาน 7 ไถแปรกลับอีกครั้ง การเตรียมพื้นที่แบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนระยะแรกสูงแต่การปลูกจะได้ผลดีและต้นไม้จะเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการกำจัดวัชพืชด้วย
  • ในสภาพพื้นที่ที่เป็นไร่ร้างหรือพื้นที่กสิกรรมเก่าหรือพื้นที่ถูกแผ้วถางมาเป็นเวลานาน พื้นที่เหล่านี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับวัชพืช ตอนต้นฤดูฝนควรใช้แทรกเตอร์ไถพรวนและเก็บรากวัชพืช

การกำหนดระยะปลูก

ภายหลังไถพรวนสิ่งที่ต้องทำคือการปักหลักกำหนดระยะปลูกเพื่อความสะดวกในการปลูกและให้มีระยะปลูกที่ถูกต้อง ทำให้ต้นไม้เป็นแถวสวยงามสะดวกในการดูแลบำรุงรักษา การปักหลักกำหนดระยะปลูกทำได้ 2 วิธี คือ ปักหมายทุกจุดที่ปลูก และปักหมายเฉพาะแนว โดยระยะห่างขึ้นอยู้กับวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. กรณีปลูกเพื่อเ้ป็นไม้ฟืนหรือเผาถ่าน ควรใช้ระยะปลูก 1X2 หรือ 2X2 เมตร จะได้ประมาณ 400-800 ต้นต่อไร่ โดยช่วง 2-3 ปี สามารถตัดขายใช้ทำฟืนหรือถ่านได้ และตอไม้ยูคาลิปตัสที่ตัดออกไปสามารถแตกหน่อได้โดยไม่ต้องปลูกใหม่
  2. กรณีปลูกเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ หรือไม้สำหรับก่อสร้าง ควรปลูกระยะ 2X3,2X4,3X3,4X4 ซึ่งจะปลูกได้ 100- 270 ต้นต่อไร่สามารถตัดได้เมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป
  3. กรณีปลูกเพื่อเป็นไม้ก่อสร้างต้องมีอายุมากกว่า 5 ปี ควรกำหนดระยะปลูกให้ห่าง โดยปีที่ 1-2 สามารถปลูกพืชควบลงระหว่างแถวได้

การขุดหลุมปลูก

พื้นที่ที่ีมีการจัดการเตรียมพื้นที่โดยการไถพรวน ขนาดหลุมที่ควรใช้ประมาณ 25X25X25 เซนติเมตร ถึง 50X50X50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15

การปลูก

  1. การปลูกยูคาลิปตัสชนิดเดียวล้วนๆไม่มีพันธุ์ไม้อื่นปะปน จะให้ผลผลิตเต็มที่ การตัดการดูแลสวนป่าทำได้ง่าย สะดวก ประหยัด แมลงศัตรูพืชทำลายไม่ค่อยมีเนื่องจากยูคาลิปตัสมีรอบตัดฟันสั้นเพียง 3-5 ปี
  2. การปลูกยูคาลิปตัสร่วมกับพันธุ์ไม้อื่น โดยการปลูกควบกับไม้โตช้าเพื่อเป็นการกระจายรายได้ เพราะสามารถทยอยตัดไม้ยูคาลิปตัสขายเป็นระยะจนกว่าไม้โตช้าจะเจริญเติบโตจนสามารถใช้ประโยชน์ได้
  3. การปลูกยูคาลิปตัสแบบวนเกษตร เป็นการปลูกควบคู่ไปกับการปลูกพืชเกษตร การปศุสัตว์ การประมง

การปลูกยูคาลิปตัีส กล้าำไม้ที่เหมาะสมในการย้ายปลูกหาำกเพาะชำมาจากเมล็ด กล้าควรมีอายุประมาณ 3-5 เดือน ความสูงเฉลี่ยประมาณ 25 -40 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นกล้าที่เพาะมาจา่กการปักชำกล้าำไม้อายุประมาณ 45 วัน ก็สามารถย้ายปลูกได้แล้ว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นต้นฝนโดยเลือกปลูกหลังจากวันที่ฝนตก การปลูกควรใช้มือกดดินให้แน่นระดับดินที่กลบควรให้เป็นแอ่งลึกกว่าระดับดินโดยรอบเล็กน้อย เพื่อให้เป็นแอ่งรับน้ำฝนจากนั้นใช้ดินแห้่งหรือผิวดินที่อยู่ข้างๆ โรยปิดทับรอบๆกล้าไม้เพื่อไม่ให้ผิวหน้าดินที่ยังชื้นถูกแสงแดดและลมพัดโดยตรง

การบำรุงรักษา

  1. การกำจัดวัชพืช เนื่องจากยูคาลิปตัสมีความต้องการแสงและุมีความสามารถในการแก่งแย่งกับพวกวัชพืชในระยะแรกได้น้อย การดายวัชพืชอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็น เมื่อตันไม้สูงพ้นวัชพืชแล้วการดายวัชพืชรอบโคนต้นปีละครั้งก็เพียงพอ
  2. การป้องกันไฟ โดยการกำจัดวัชพืชให้น้อยลง การทำแนวกัำำนไฟ การชิงเผาวัชพืชก่อนถึงหน้าแล้ง
  3. การใส่ปุ๋ย อาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยคอกก็ได้ สำหรับปริมาณที่ใส่ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ขนาดต้นไม้ โดยใช้หลัก ใส่ปริมาณน้อยๆแต่ใส่บ่อยๆ ต้นไม้จะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยในช่วงแรกและในปีที่ 2 ส่วนในปีที่ 3,4 การใส่ปุ๋ยไม่ได้ช่วยให้่การเจริญเติบโตของต้นไม้มากนัก
  4. การลิดกิ่ง ยูคาลิปตัสสามารถลิดกิ่งได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่มีความจำเป็นในการลิดกิ่งเหมือนไม้ป่าชนิดอื่นๆ
  5. การตัดสางขยายระยะ การปลูกยูคาลิปตัสที่มีระยะปลูกชิดกัน ต้นไม้จะเบียดบังแย่งการเจริญเติบโตจึงจำเป็นที่จะต้องมีการตัดสางขยายระยะเพื่อเปิดโอกาสให้ต้นไม้ืที่เหลือเจริญเติบโตได้เต็มที่

 

การเจริญเติบโต

ยูคาลิปตัสจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตอบแทนภายในระยะเวลา 5 ปี การเจริญเติบโตในระยะแรกจะไม่ต้องการเนื้อที่เท่าใดนักเนื่องจา่กมีเรือนยอดแคบๆ แม้ต้นไม้จะเบียดเสียดกันบ้างแต่การเจริญเติบโตยังคงเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

การตัดฟัน และการไว้หน่อ

  1. ปลูกระยะ 1X1 เมตร(1,600 ต้นต่อไร่) ปีที่ 2 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้ฟืนขนาดเล็ก ปีที่ 3-4 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำฟืนและถ่าน ที่เหลือปีที่ 6 เพื่อทำเยื่อกระดาษ หรือไม้แปรรูปขนาดเล็ก
  2. ปลูกระยะ 2X2 เมตร(400 ต้นต่อไร่) และระยะ 2X4 เมตร (200 ต้นต่อไร่) ปีที่ 3-4 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำฟืนและถ่์าน ปีที่ 5 ตัดทำเยื่อกระดาษหรือไม้แปรรูปขนาดเล็ก หรือคงเหลือไม้ลักษณะดีไว้ 10-20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้แปรรูปใช้ก่อสร้างบ้านเรือน
  3. ปลูกระยะ 3X3 เมตร(176 ต้นต่อไร่) และ 4X4 เมตร(100 ต้นต่อไร่) ตัดในปีที่ 5 ทั้งหมด เพื่อทำเยื่อกระดาษ ไม้แปรรูปขนาดเล็ก หรือคงเหลือไม้ลักษณะดี 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้แปรรูปใช้ก่อสร้างบ้านเรือน

การตัดฟันไม้ออกมาใช้ประโยชน์ควรทำในระยะเิริ่มฤดูฝนเพราะดินมีควาวมชื้น ต้นไม้ที่ตัดโค่นลงจะได้รับความเสียหายจากการโค่นลัมน้อยกว่าช่วงฤดูแล้ง ควรตัดไม้ให้สูงจากระดับพื้นดินประมาณ 10-12 เซนติเมตร เพื่อปล่อยให้แตกหน่อใหม่ จากนั้นประมาณ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 10 กิโลกรัมต่อไร่ ปล่อยไว้อีก 1-2 เดือน ทำการตัดแต่งหน่อไว้ให้เหลือเพียง 2-3 หน่อ หรืออาจเหลือไว้ 7-8 หน่ออีกประมาณ 1 ปี จึงค่อยสางหน่อออกไป 5-6 หน่อ ไปทำฟืนทำถ่าน เหลือหน่อดีที่สุดเพียงหน่อเดียวหรือ 2 หน่อ ทำการบำรุงรักษาทุกๆปีตามปกติจนตัดฟันครั้งต่อไป

 

 

 

 โครงสร้างของต้นยูคาลิปตัส

โครงสร้างของต้นยูคาลิปตัสซึ่งประกอบด้วย เปลือกไม้ซึ่งอยู่ด้านนอกสุดและเนื้อไม้ที่ซ่อนอยู่ด้านใน โดยในส่วนของเนื้อไม้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนแรก คือ “กระพี้” หรือเนื้อไม้ด้านนอกซึ่งอยู่ติดกับเปลือกไม้และเป็นที่อยู่ของท่อลำเลียงน้ำ (xylem) จำนวนมาก

ส่วนที่สอง คือ “แก่น” หรือเนื้อไม้ด้านในสุดซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกระพี้

เมื่อต้นยูคาลิปตัสเติบโตเต็มที่พื้นที่ของกระพี้ก็จะเพิ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างท่อลำเลียงน้ำใหม่ ซึ่งท่อลำเลียงน้ำอันเก่าหลังจากใช้งานมานานก็จะมีการสะสมของสารต่างๆ ภายในเซลล์ จนเกิดการอุดตันจนกลายเป็นแก่นที่ไม่สามารถลำเลียงน้ำได้อีก ซึ่งยูคาลิปตัสนั้นจะมีแก่นก็ต่อเมื่ออายุเกิน 15 ปีขึ้นไป

ยูคาลิปตัสเป็นไม้ที่มีพื้นที่ของกระพี้มากจึงหมายถึงการมีพื้นที่ลำเลียงน้ำขึ้นสู่เรือนยอดมากตามไปด้วย เนื่องจากแนวโน้มการดูดน้ำของต้นไม้แต่ละต้นมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ของกระพี้ในลำต้นเป็นสำคัญ

เนื่องจากยูคาลิปตัสจะมีระบบรากที่แผ่ขยายเร็วและสามารถหยั่งลงไปในดินได้ในระดับลึก จึงมีประสิทธิภาพในการเสาะแสวงหาแหล่งน้ำใต้ดินได้มากกว่าพืชชนิดอื่น

 

 ข้อมูลยูคาลิปตัสต่อการใช้น้ำ

ยูคาลิปตัสเป็นแค่ต้นไม้ทั่วไปเท่านั้น ไม่ทำให้พื้นดินกลายเป็นทะเลทรายแน่นอน มีการปลูกจริงในหลายพื้นที่ และมีการทดลองในเชิงวิชาการก็ได้ข้อพิสูจน์แล้ว ประกอบกับประเทศไทยเราไม่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ให้เกษตรกร หรือนายทุนทำการปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นโดยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว ไม้เหล่านี้จึงปลูกอยู่อย่างกระจัดกระจาย หรือบางที่เกษตรกรก็นำไปปลูกตามพื้นที่ว่างเปล่าในหัวไร่คันนาที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ การปลูกไม้นี้กลับเป็นการช่วยให้พื้นที่ที่ปลูกพืชอื่นไม่ได้ ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และช่วยให้รักษาดินได้ดีกว่าการปล่อยพื้นที่รกร้างว่างเปล่า

จากการศึกษาผลกระทบของการปลูกไม้ยูคาลิปตัสต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำบนดิน พบว่าการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดสามารถแสดงออกมาในรูปของอัตราส่วนการคายน้ำ ซึ่งเป็นค่าของปริมาณน้ำที่พืชใช้ในการสร้างวัตถุแห้งหนักหนึ่งกรัม ประสิทธิภาพในการใช้น้ำของพืชจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชพรรณ ดังนั้นอัตราส่วนการคายน้ำของพืชชนิดใด มีค่าต่ำแสดงว่าพืชชนิดนั้นมีประสิทธิภาพในการใช้น้ำได้สูง (วิสุทธิ์,2530) โดยประสิทธิภาพการใช้น้ำคือการสร้างมวลสารจำนวนหน่วยที่เท่าๆกัน ไม้แต่ละชนิดใช้ปริมาณน้ำมากน้อยเพียงใดนั้น ในเรื่องนี้ Dabral (1970) ได้ทำการศึกษาที่สถาบันวิจัยป่าไม้ เดนราคูน ประเทศอินเดีย ด้วยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้น้ำของไม้ 4 ชนิด คือ ไม้สนเขา ไม้พอพูลัส ไม้พยุง และไม้ยูคาลิปตัส ผลการศึกษาพบว่า ในการสร้างมวลสาร 1 กรัม พรรณไม้ต่างๆ ข้างต้นจะต้องใช้ปริมาณน้ำ 8.87, 3.04, 2.59 และ 1.41 มิลลิลิตรต่อกรัม ตามลำดับ จากการทดลองแสดงว่าไม้ยูคาลิปตัสมีประสิทธิภาพการใช้น้ำดีที่สุด เนื่องจากใช้น้ำน้อยที่สุดในการสร้างมวลชีวภาพต่อกรัม ซึ่งสอดคล้องกับการสรุปความของ เริงชัย (ม.ป.ป.) ที่ว่า “ไม้โตเร็วชนิดต่างๆนั้น ต้องการความชื้นเพียงน้อยนิด ก็สามารถสร้างชีวมวล ทั้งต้น, ราก และใบได้มากมาย เมื่อเทียบกับชนิดไม้โตช้า” และ พงศ์ (2529) รายงานลักษณะเด่นของไม้ยูคาลิปตัสคือความสามารถพิเศษในการรักษาสมรรถนะในการผลิตชีวมวลไว้ได้เมื่อน้ำในดินมีน้อยลง ผลการทดลองพบว่า ในขณะที่น้ำในดินลดลง 66 และ 84% การผลิตชีวมวลจะลดลงเพียง 25 และ 38 % ตามลำดับเท่านั้น ความสามารถในการปรับตัวเองไม้ยูคาลิปตัสดังกล่าวข้างต้น เป็นหลักฐานที่ช่วยอธิบายได้ว่าไม้ยูคาลิปตัสใช้น้ำในการผลิตชีวมวล (การเจริญเติบโต) น้อยกว่าไม้อื่นๆ ซึ่งแสดงประสิทธิภาพการใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตชีวมวลของพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตชีวมวลของพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ

ชนิดไม้การใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตชีวมวล (ลิตร/กรัม)
Eucalyptus tereticornis ยูคาลิปตัส เทเรติคอร์นิส 0.48
Syzygium cumini หว้า 0.50
Albizzia lebbek พฤกษ์ 0.55
Acacia auriculaefarmis กระถินณรงค์ 0.72
Dalbergia sissoo ประดู่แขก 0.77
Pongamia pinnata - 0.88

นอกจากนี้เรื่องการใช้น้ำของยูคาลิปตัสที่มีผลต่อระดับน้ำใต้ดิน ที่ถูกโจมตีว่าเมื่อปลูกยูคาลิปตัสที่ใดบ่อน้ำหรือบ่อบาดาลจะแห้ง ซึ่งจากการศึกษาของพิทยา (2530) โดยทำการทดลองขุดบ่อในแปลงซึ่งปลูกไม้ 2 ชนิดคือ แปลงไม้ยูคาลิปตัส และไม้กระถินณรงค์ เปรียบเทียบกับในที่โล่ง จำนวน 4 บ่อ ปรากฏว่าเมื่อขุดบ่อได้ลึก ประมาณ 2.60 เมตร ก็ถึงระดับน้ำใต้ดินในบ่อทั้ง 4 แห่ง และทำการบันทึกระดับน้ำทุก ๆ 5 วัน ตลอดช่วงฤดูแล้วตั้งแต่เดือน มกราคม - เมษายน 2529 พบว่าการลดระดับน้ำใต้ดินในบ่อของทั้ง 3 บริเวณ ไม่มีความแตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 3 และ 4 โดยสรปได้ว่าประสิทธิภาพการใช้น้ำใต้ดินในบ่อลดลงเฉลี่ยวันละ 1.50 เซนติเมตร เท่าๆ กัน ทั้งในสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถินณรงค์ ที่มีอายุ 7 ปี และในที่โล่งตลอดช่วงฤดูแล้งระหว่างวันที่ 22 มกราคม - 23 เมษายน 2529 โดยระดับน้ำอยู่ลึกจากผิวดินมีค่าไม่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการอ้างของ จอห์น (2528) ซึ่งท่านได้อ้างการศึกษาของสถาบันวิจัยป่าไม้ เตราดู ประเทศอินเดียที่ว่าระบบรากของไม้ยูคาลิปตัส เทเรทติคอร์นิสจะหยั่งลงไปในดินลึกถึง 3 เมตรและเจริญเติบโตตามแนวรัศมี 3.5 เมตร จากลำต้น ส่วนรากของยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีสที่อายุ 5 ปี มีความลึกของรากน้อยกว่า 3 เมตรแต่การเติบโตของรากในแนวราบจะเป็น 9 เมตร ซึ่งสรุปได้ว่าระบบรากของไม้ยูคาลิปตัสมีการปรับตัวที่จะใช้น้ำฝนในส่วนของผิวดินมากกว่าจะใช้น้ำใต้ดินในระดับความลึกมากๆ

ตารางที่ 2 การลดระดับน้ำใต้ดินในบ่อของสวนป่าอายุ 7 ปี เปรียบเทียบกับในที่โล่งท้องที่จังหวัดศีรษะเกษ (หน่วย : ซม./วัน)

เดือนยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิสกระถินณรงค์ที่โล่ง
มกราคม 2529 1.60 1.80 1.70
กุมภาพันธ์ 2529 0.50 1.80 1.70
มีนาคม 2529 1.47 1.47 1.54
เมษายน 2529 1.10 1.05 0.95
เฉลี่ย 1.46 1.49 1.46

ตารางที่ 3 ระดับน้ำในบ่อลดลงจากผิวดินในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม - 23 เมษายน 2529 (หน่วย : เมตร)

ระดับน้ำยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิสกระถินณรงค์ที่โล่ง
ครั้งแรก 2.85 2.79 2.67
ครั้งสุดท้าย 4.06 4.00 3.82
ระดับที่ลดลง 1.21 1.21 1.15

จากข้อมูลและการวิเคราะห์ข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
• ไม้ยูคาลิปตัสจัดได้ว่าเป็นไม้ที่มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมาก เมื่อเทียบกับการสร้างชีวมวลที่เท่า ๆ กัน
• ไม้ยูคาลิปตัสมีการสร้างชีวมวลในปริมาณที่มากกว่าไม้ชนิดอื่นๆ ก็อาจจะมีผลให้มีการใช้น้ำมากขึ้นตามส่วน ซึ่งก็เป็นไปตามปกติของพืชและไม้โตเร็วทั่วไป
• อัตราการคายน้ำและระเหยน้ำของสวนป่าไม้ยูคาลิปตัสนั้น อยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป เมื่อเทียบกับไม้โตเร็วอื่นๆ
ข้อกล่าวอ้างว่าไม้ยูคาลิปตัสเปรียบเสมือนต้นไม้สูบระบายน้ำ ที่ทำให้หนอง บึง และแผ่นดินแห้งแล้งนั้น มีหลักฐานทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าระดับน้ำที่ลดลงเท่ากับการปลูกพืชอื่น และ ดีกว่าในที่โล่ง

 โครงการ “ปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา”

ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดห้องเรียนภาคสนามเรียนรู้การปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาและในไร่มันสำปะหลัง ภายใต้โครงการ “การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบทโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินด้วยการปลูกไม้โตเร็ว” ในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมการใช้ไม้ยูคาลิปตัสมาก โดยใช้แม่ไม้จำนวน 4 พันธุ์ ใน 2 ท้องที่ (Site) เขตอำเภอพนมสารคาม และอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา คือ สายพันธุ์ K51, K59, K7 และ K58 ได้ทำการทดลองปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาปรับแต่ง เป็นลักษณะของการปลูกพืชควบในระบบวนเกษตร เกษตรกรสามารถปลูกยูคาบนคันนาได้โดยปลูกเป็นแถวเดี่ยว ๆ ให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2 – 3 เมตร เพื่อเปิดช่องว่างให้นาข้าวในนาได้รับแสงสว่างอย่างเต็มที่และเพียงพอ การปลูกลักษณะนี้แทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ปลูกและการดูแลรักษา เพราะชาวนาต้องยกตกแต่งคันนาและบำรุงรักษาต้นข้าวอยู่แล้ว หากคัดเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมตามคำแนะนำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะตัดไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่น้อยกว่า 3 ตัน ต่อไร่ เมื่ออายุ 5 ปี นอกจากนี้ยังได้ทดลองปลูกไม้ยูคาลิปตัสควบมันสำปะหลัง, ปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาที่มีระยะห่างต่าง ๆ กัน และปลูกไม้ยูคาลิปตัสในบริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการไม่พบความเสียหายในเรื่องของการแย่งปุ๋ยพืชอาหารหรือการทำให้ดินเสื่อมสภาพ สามารถจะปลูกพืชสวนครัวหรือพืชชนิดอื่น ๆ ได้ เป็นการใช้พื้นที่เกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากจะเพิ่มวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมไม้ภายในประเทศ ยังเป็นการเพิ่มรายได้ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่เกษตรกรในชนบท สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยรวมให้แก่ชุมชนและประเทศอีกด้วย

“โครงการปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา" สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการปลูกข้าวเชิงเดี่ยวประมาณ 2 – 3 เท่า ขณะที่การปลูกไม้ยูคาลิปตัสเป็นขอบเขตไร่มันสำปะหลัง ก็จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1 – 2 เท่า ซึ่งขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิของพืชทั้งสองชนิด ดังนั้นการปลูกไม้ยูคาลิปตัสในระบบวนเกษตร จึงนับว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ที่จะช่วยยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ยูคาลิปตัส ทำให้ดินเสื่อมจริงหรือ?

นักวิชาการจากรมป่าไม้ได้ทำการศึกษาผลกระทบของการปลูกยูคาลิปตัสโดยเปรียบเทียบกับการปลูกกระถินณรงค์ ซึ่งเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการปรับปรุงดิน ซึ่งได้ผลการศึกษาดังนี้

1.การปลูกไม้ยูคาลิปตัส ไม่ปรากฎผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตลอดช่วงระยะเวลา 8 ปีที่ทำการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุตัดฟัน 4 ปี ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพดินแต่อย่างใด

2.การปลูกยูคาลิปตัสระยะ 4X4 สามารถปลูกพืชไร่ควบได้ไม่เกิน 3 ปี เนื่องจากการบดบังแสงแดดและการแก่งแย่งน้ำ ซึ่งไม้กระถินณรงค์ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน

3.ผลผลิตของพืชไร่ที่ทำการปลูกซ้ำในพื้นที่ที่เคยปลูกยูคาลิปตัสให้ผลผลิตมากกว่าพื้นที่ที่เคยปลูกกระถินณรงค์ (อายุตัดฟัน 4 ปี เท่ากัน)

4.ไม้ยูคาลิปตัสมีความสามารถในการแก่งแย่งความชื้นในดินสูง ดังนั้นในฤดูกาลที่แห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงจึงมีผลกระทบต่อพืชข้างเคียง จึงไม่ค่อยพบวัชพีชภายใต้สวนยูคาลิปตัส

5.หากต้องการปลูกพืชไร่ผสมผสานในพื้นที่ควรปลูกยูคาลิปตัสให้มีระยะห่าง 8 X 8 เมตร และปลูกห่างจากต้นยูคาลิปตัสประมาณ 1 - 1.50 เมตร

6.การปลูกยูคาลิปตัสเชิงเศรษฐกิจควรตัดไม้ออกจากพื้นที่ในปีที่ 4 เนื่องจากต้นไม้เจริญเติบโตถึงระดับสูงสุด เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้น้ำและธาตุุอาหารมากเกินไป ทำให้ดินมีการได้พักตัว

ข้อดี/ข้อเสีย

ข้อดี

1.โตเร็ว สามารถใช้ประโยชน์ได้ภาย 4-5 ปี มีการลงทุนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับไม้โตเร็วชนิดอื่น

2.เจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

3.มีประสิทธิภาพสูงในการใช้น้ำและธาตุอาหารน้อยสำหรับการเจริญเติบโต

4.ช่วยปรับปรุงระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้นได้ โดยการเป็นไม้เบิกนำที่ดี

5.มีความสามารถในการแตกหน่อ

6.มีเนื้อไม้แข็งแรง ลำต้นเปลาตรง

7.กิ่งก้านใช้ทำฟืนถ่านที่มีคุณภาพดี ให้ความร้อนสูง ไม่แตกขณะเผาและไม่มีควันคุณภาพถ่านใกล้เคียงถ่านจากไม้โกงกาง

8.เมื่ออายุ 3-6 ปี เนื้อไม้มีความเหมาะสมสำหรับผลิตเยื่อกระดาษ

9.ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแผ่นเส้นใยไม้อัด แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นไม้อัดซีเมนต์แผ่นไม้ประกอบต่างๆ

10.การปลูกยูคาลิปตัสในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจะช่วยรักษาระดับความชื้นในอากาศ

ข้อเสีย

1.เป็นพืชที่มีการใช้ปริมาณน้ำสูง เนื่องจากการเจริญเติบโตที่เร็วทำให้ความชื้นและระดับน้ำใต้ดินลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำและพืชข้างเคียง

2.เป็นไม้ที่มีความสามารถในการแก่งแย่งทางด้านเรือนรากสูง มีการแก่งแย่งความชื้นได้ดี หากปริมาณความชื้นในดินต่ำหรือฝนตกน้อยไม้ยูคาลิปตัสจะดูดความชื้นจากดินไปหมด ทำให้การเจริญเติบโตของพืชชั้นล่างและไม้ข้างเคียงชะงัก

3.ใบสดของยูคาลิปตัสมีน้ำมันหอมระเหยสะสมอยู่ ซึ่งถ้ามีปริมาณความเข้มข้นสูงจะสามารถยับบั้งการงอกและการเจริญเติบโตของพืชอื่นได้

4.เป็นไม้ที่มีศักยภาพต่ำในการปลูกเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน

5.คุณภาพเนื้อไม้ยูคาลิปตัสเมื่อแปรรูปจะบิดงอได้ง่าย เนื้อไม้มีเสี้ยนบิดเป็นเกลียวและแตกร้าว จึงเหมาะสมสำหรับใช้งานหน้าแคบและสั้น

                                        จำหน่ายต้นกล้ายูคาลิปตัส....สนใจติดต่อ..

                                            คุณไก่..081-2839267   095-4654546

 

Tags : ยูคาลิปตัส ไม้ยูคาลิปตัส ต้นยูคาลิปตัส ต้นกล้ายูคาลิปตัส

ความคิดเห็น

  1. 1
    10/08/2017 14:43

    autentici orologi replica movimento svizzero orologi rolex a Roma sia nuovi che usati. orologi replica usati brescia Consulta i prezzi dei rolex ed acquista direttamente online o in sede presso gioielleria

  2. 2
    coco
    coco dazz@game.com 10/08/2017 14:42

    For the table fans is a table is not enough,[url=http://www.emontre.eu]replique rolex[/url] because the savings still stay in a month to eat

    five times the level of lamb skewers,[url=http://www.zorologi.cn]orologi replica[/url] I put the enthusiasm of the table are devoted to the

    purchase of watches and clocks in the magazine, and I and the nations The fate of the magazine is from the magazine to see the picture of the

    nations began.

  3. 3
    archiraphat
    archiraphat archiraphat.ni@gmail.com 24/10/2016 08:55

    รับซื้อไม้ยางพารา ยูคา แบบเหมาสวน แถวพิษณุโลกและใกล้เคียง


    รับซื้อต่อเนื่องตลอดปี และไม่จำกัดจำนวน ให้ราคาสูง ทางเรามีทีมงานดูแล ตัด ขนย้ายเอง หลังจากตกลงราคาและเงื่อนไขเรียบร้อยแล้ว โดยที่ท่านไม่ต้องทำอะไรเลย ที่สำคัญจ่ายเงินทันที


    สนใจติดต่อ สอบถามรายละเอียดได้เลย


    โทร 080-3301517


    Line : archiraphat

  4. 4
    k.uga
    k.uga y2hand@yahoo.com 04/10/2013 23:46

    ต้องการซื้อไม้ยูคาจากไร่...ติดต่อ ...y2hand@yahoo.com..ร้านค้าไม้ยูคา นนทบุรี ครับ

  5. 5
    k.uga
    k.uga y2hand@yahoo.com 04/10/2013 23:44

    ต้องการซื้อไม้ยูคาจากไร่...ติดต่อ ...y2hand@yahoo.com..ร้านค้าไม้ยูคา นนทบุรี ครับ

  6. 6
    Tom
    Tom iammouse_1@hotmail.com 27/10/2012 22:13

    ต้องการไม้ยูคาฯ ขนาด 3x3  40-45 ตัน


    ส่งกระบี่ 


    เสนอราคาครับ


    iammouse_1@hotmail.com

  7. 7
    08/07/2012 10:18

    ต้องการขายสวนยูคาอายุ 6 ปี จำนวน 20 ไร่ ลงยูคาไว้ 8,000 ต้น ติดต่อที่ 0813699606 จังหวัดมุกดาหาร


  8. 8
    ไข่มุก
    ไข่มุก kaimuknin@gmail.com 08/07/2012 10:16

    ต้องการขายสวนยูคาอายุ 6 ปี จำนวน 20 ไร่ ลงยูคาไว้ 8,000 ต้น ติดต่อที่ 0813699606 จังหวัดมุกดาหาร


  9. 9
    18/04/2012 20:32

    รับซื้อ - รับตัดไม้ยูคา แบบเหมาไร่ เหมาสวน มีทีมงานคนตัดไม้ พร้อมรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ รถไถ รถคีบไม้ บริเวณจังหวัดที่สามารถรับตัดได้


    - สระแก้ว , ปราจีนบุรี , นครนายก , ฉะเชิงเทรา , ชลบุรี , ปทุมธานี , สระบุรี , ลพบุรี


    มีประสบการณ์ พูดคุยต่อรองกันได้ครับ ติดต่อ 081-982-2123 คุณชัย ครับผม

  10. 10
    21/03/2012 10:11

    ขอแก้ไขค่ะ ต้องการแหล่งขายที่แน่นอนค่ะ(ทางเราต้องการซื้อระยะยาว)086 8809080

 1  2  3  4  5  6 [Next]

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view