ตื่น “คาร์บอน เครดิต” โอกาส "ร้อนๆ" ของไทย |
หลังจากพิธีสารเกียวโตผ่านพ้น “คาร์บอนเครดิต” ก็กลายเป็น “สินค้า” (Commodity) สุดฮอทที่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันสร้างมูลค่าได้อย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากประเทศที่พัฒนา (Annex1) แล้ว เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามพิธีสารเกียวโต ที่กำหนดให้ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อย 5.2% ภายในปี 2555 จึงจำเป็นต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อมาหักกลบกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาสู่บรรยากาศ ตัวอย่างโครงการ CDM ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานน้ำ ลม แสงอาทิตย์ หรือชีวมวล สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เนื่องจากสามารถลดการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งอื่นที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ โครงการการปรับปรุงกระบวนการบำบัดน้ำเสียหรือบ่อขยะ เพื่อให้สามารถกักเก็บและทำลายก๊าซมีเทน สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบเดิมที่เป็นบ่อผึ่งหรือกองขยะที่มีการปลดปล่อย ก๊าซมีเทนขึ้นสู่บรรยากาศโดยตรง เมื่อมีการดำเนินโครงการ CDM ก็จะมีการกักเก็บก๊าซมีเทนและนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อพิจารณาจากประเภทโครงการเหล่านี้ จะเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย ซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าว ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 เห็นชอบ โครงการ CDM จำนวน 7 โครงการ (ก่อนที่จะตั้งองค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก) และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาอย่างเร่งด่วน โครงการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) 1.โครงการ Dan Change Bio-Energy Cogeneration Project ผลิตไฟฟ้าจาก กากอ้อย และใบอ้อย ตั้งอยู่ที่ จ. สุพรรณบุรี 2.โครงการ Phu Khieo Bio-Energy Cogeneration Project ผลิตไฟฟ้าจาก กากอ้อย และ ใบอ้อย ตั้งอยู่ที่ จ. ชัยภูมิ โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) โดยขายคาร์บอนเครดิตให้กับบริษัท Chubu Electric Power จากญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัทเอ.ที ไบโอพาวเวอร์ ซึ่งเป็นความประสงค์ของบริษัท Chubu ฯ แต่แรกเริ่มที่จะซื้อคาร์บอนเครดิตจาก เอ.ที ไบโอพาวเวอร์ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการเข้ามาซื้อคาร์บอนเครดิต นอกจากจะเข้ามาซื้อโดยผ่านเทรดเดอร์แล้ว ยังรุกเข้ามาร่วมทุนจากบริษัทที่จะขายเครดิตคาร์บอน เป็นเรื่องเป็นราว เลยทีเดียว โดยรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต จะเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทฯที่ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง จากราคาแกลบและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น “การขายคาร์บอนเครดิต จะช่วยกระตุ้นผู้ประกอบการให้กล้าตัดสินใจลงทุน เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะจะมีรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตเข้ามาชดเชยสภาพคล่องของบริษัท“ นที สิทธิประศาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอ.ที ไบโอพาวเวอร์ ระบุ และว่า นอกจากเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว บริษัทยังให้ความสำคัญกับการดูแลชุมชนรอบโรงไฟฟ้า โดยมอบเงินสนับสนุนปีละกว่า 1 ล้านบาทเข้าสมทบในกองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า และตั้งกองทุนประกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีก 5 ล้านบาท เพื่อให้โรงไฟฟ้าอยู่ร่วมกับชุมชนได้ยั่งยืน สำหรับโครงการที่ได้รับรองโครงการ CDM จากองค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) แล้วจำนวน 30 โครงการ จากจำนวน 59 โครงการที่เสนอขอใบรับรอง ศิริธัญญ์ ยังตั้งข้อสังเกตว่า 30 โครงการที่ผ่านการพิจารณา ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดกลางและใหญ่ ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการพิจารณา เกือบทั้งหมดจะเป็นโครงการขนาดเล็ก ซึ่งจะมีอุปสรรคในการดำเนินการเพราะบริษัทเหล่านี้จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามขั้นตอน (ไม่รวมเงินลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงาน) เป็นเงินถึง 6-10 ล้านบาทต่อหนึ่งโครงการ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการตรวจประเมิน เนื่องจากบริษัทตรวจประเมินโครงการดังกล่าวในไทยมีน้อยราย ทำให้โครงการเล็กๆเหล่านี้ต้องรวมตัวกันเพื่อร่วมกันดำเนินการเพื่อลดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังพบว่า ขณะนี้มีคอร์เปอเรทจากต่างประเทศ เริ่มเข้ามาซื้อคาร์บอนเครดิต จากบริษัทไทยที่อยู่ระหว่างขอคาร์บอน เครดิต เพราะต้องการสร้างภาพลักษณ์ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (ซีเอสอาร์) โดยไม่จำเป็นต้องรอให้บริษัทเหล่านี้ได้รับการรับรองการซื้อขายคาร์บอน เครดิต จาก UNFCC ก่อน โดย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ |
มันเป็นโครงการคนรวย ไม่รวยทำไม่ได้ เขาส่งเสริมภาคธุรกิจ แต่ไม่ส่งเสริมภาคประชาชน
ส่วนท้องถิ่น(อบต.) ควรประชาสัมพันธ์ แนะนำ และขั้นตอนการขออนุญาติ ให้เกษตรกรได้ดีที่สุด
เมื่อต้นยางพาราอายุ 30ปี เมื่อโค่นต้นยางและปลูกยางใหม่ เนื้อไม้ยางพาราที่โค่น ที่เป็น carbon จะแปลรูปไปอยู่ใน Furniture อย่างน้อย 7ปี ก่อนน้ำไปทำเป็นเชื้อเพลิง หรืออื่นๆ
สิ่งที่คนไทยว่า การผลิตพลังงานจากเชื้อเพิลงทดแทน เช่น น้ำ ลม และเชื้อเพลิงจากไม้ ถึงจะเป็น CDM Project แต่ไม่มีใครคิดถึงเกษตรกรไทยที่จะช่วยเขา ขาย Cabon credit จากการปลูกยางพาราเลย ผมอยากให้ผู้รู้เรื่องทำ CDM Project เกี่ยวกับการปลูกต้นยางลองมาทำเรื่องนี้ดู เผื่ออาจจะขาย carbon credit นี้นำเงินเข้ามาช่วยเกษตรกรไทย ให้พัฒนาพันธ์ยางพารา ที่ดีกว่าปัจจุบัน
แล้วโครงการนี้จะเสร็จสมบูรณ์อย่างไร และเมื่อไหร่ ไม่เห็นรัฐบาลนำมาพูดให้ประชาชนทั่วไปฟังเลย อยากรู้จัง
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน
น่าสนใจมากๆ ถ้าเป็นประชาชนธรรมดาจะทำอย่างไรได้บ้างกับ
โครงการนี้ค่ะ