http://www.http://takuyak.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 23/05/2008
ปรับปรุง 13/01/2023
สถิติผู้เข้าชม5,772,934
Page Views7,086,123
สินค้าทั้งหมด 5
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
โลกร้อน หายนะมวลมนุษยชาติ
มิติธรรมชาติ
เศรษฐพอเพียง
สักทองพืชทำเงินที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
"ต้นยางนา" พืชสร้างเงินที่ไม่ธรรมดา
"ไม้ยูคาลิปตัส"ความต้องการใช้ที่มีอย่างต่อเนื่อง
ไม้พยุง ไม้เงินล้านวันนี้ราคาพุ่งแรงแซงไม่หยุด
เปิดคลังไอเดียพืชทำเงิน
ราคาทอง
ราคาน้ำมัน
พยากรณ์อากาศ
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
ทีวีผ่านเน็ต
ศูนย์รวมสมุนไพรทุกชนิด
เพื่อนบ้านทั้งหมด
 

สิ่งที่ควรรู้ "กระบวนการขั้นตอนการนำไม้หวงห้ามมาขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า "(สป.3)

สิ่งที่ควรรู้ "กระบวนการขั้นตอนการนำไม้หวงห้ามมาขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า "(สป.3)

"กระบวนการขั้นตอน

การนำไม้หวงห้ามมาขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า (สป.3)"

การขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า

        การขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะได้ทราบว่า ที่ดินที่ใด ของผู้ใดได้ดำเนินการ ปลูกต้นไม้ชนิดใด จำนวนเท่าใด และปลูกเมื่อใดเพื่อรวบรวมข้อมูลไว้เป็นหลักฐานและเพื่อทางราชการจะได้ออกหนังสือรับรองไว้ให้เพื่อเป็นหลัก ฐาน ในการดำเนินกิจการสวนป่า เพื่อการทำไม้ออก และการนำไม้เคลื่อนที่ ตลอดจน การแปรรูปไม้ต่อไปในช่วงเวลาข้างหน้า เป็นการปฏิบัติให้เป็น ไปตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ แก่สุจริตชนผู้ทำสวนป่า นอกเหนือจากเหตุผลทางกฎหมายแล้ว การขึ้นทะเบียนสวนป่าจำเป็น และจะเป็นประโยชน์ แก่ผู้ปลูกอย่างมาก ในแง่ของการสนับสนุนและส่งเสริมของทางราชการ ที่จะให้ความรู้ต่างๆ และข้อมูลในส่วนที่ เกี่ยวข้อง เช่น การปลูกและบำรุงสวนป่า การจัดการสวนป่า การตลาดไม้ การแปรรูปไม้ใช้ประโยชน์ และข่าวสาร ต่างๆ และยังเป็นฐานข้อมูลที่ทางราชการจะได้ ดำเนินการรวบรวม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนส่งเสริม การปลูก การเพิ่มผลผลิตให้แก่ผู้ปลูก ตลอดจนการจัดการป่าเอกชนในภาพรวม ทั้งหมด และจะได้รู้ปริมาณไม้ที่มีอยู่ ในปัจจุบัน และประเมินผลปริมาณไม้ในอนาคต เพื่อการใช้ประโยชน์ต่อไป

        ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 16 และมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติ สวนป่า พ.ศ.2535 อธิปดีกรมป่าไม้จึงกำหนด " ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและ การโอนทะเบียนสวนป่า พ.ศ. 2535 ขึ้น ใช้โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

องค์ประกอบในการขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า

        กฎหมายได้กำหนดองค์ประกอบ 3 ประการ ต้องครบถ้วน จึงจะรับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าตาม กฎหมายได้ ดังนี้

        1) องค์ประกอบที่ 1 คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอเพื่อเป็น "ผู้ทำสวนป่า" ตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง " ที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 5 " ทั้งนี้ตามมาตรา 5 กำหนดไว้ว่า

        มาตรา 5 ผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองหรือผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 4 ประสงค์จะใช้ที่ดินนั้น ทำสวนป่าเพื่อการค้า ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนต่อนายทะเบียนตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด และเมื่อได้ยื่นคำขอ ขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้ยื่นคำขออาจดำเนินการไปก่อนได้จนกว่านายทะเบียนจะสั่งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า ตามมาตรา 6 ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและที่ดินดังกล่าว เป็นที่ดินตามมาตรา 4(1) ผู้ยื่นคำขอต้องมีหลักฐานการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินดังกล่าว พร้อมทั้งหนังสือยินยอมของ ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองในที่ดินนั้น ที่แสดงว่าอนุญาตให้ทำสวนป่าได้ หมายความว่า :- ผู้ยื่นคำขอเพื่อเป็น "ผู้ทำสวนป่า " ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

         (1) เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น

         (2) หรือกรณีเป็นผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินจะต้องมีสัญญา เช่าหรือสัญญาเช่าซื้อ พร้อมหนังสือยินยอมของผู้ให้เช่า หรือผู้ให้เช่าซื้อที่แสดงว่าอนุญาตให้ทำสวนป่าได้

        2) องค์ประกอบที่ 2 *****ชนิดไม้ที่ขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าได้ตามกฎหมาย**** ตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง *****"เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ " *****ซึ่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 6 และมาตรา 7 ได้กำหนดไว้ดังนี้

        มาตรา 6 *****ไม้หวงห้ามมีสองประเภท คือ ประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ได้แก่ ไม้ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ ได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้ ****ประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ ได้แก่ไม้หายากหรือไม้ที่ควรสงวน ซึ่งไม่อนุญาตให้ทำไม้ เว้นแต่รัฐมนตรี จะได้รับอนุญาตในกรณีพิเศษ

        มาตรา 7 ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้ชนิด อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาการเพิ่มเติมหรือเพิกถอนชนิดไม้ หรือเปลี่ยนแปลงประเภทไม้หวงห้ามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนด ไว้แล้วก็ดี หรือจะกำหนดไม้ชนิดใด เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดขึ้นในท้องที่ใดนอกจากท้องที่ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดตามความวรรคก่อนแล้วนั้นก็ดี ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ซึ่งตราขึ้น ตามความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ใช้ บังคับได้ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

        หมายความว่า :-ชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นทะเบียนได้ ให้พิจารณาจากประเภทที่ดิน จึงขอสรุปชนิดพันธุ์ไม้หวงห้าม ดังนี้

         (1) ในที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้น ไม้หวงห้ามคือ "ไม้สัก และไม้ยาง " เท่านั้น

         (2) ในที่ดินประเภทอื่น นอกเหนือจากข้อ (1) แล้วจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าที่ดินดังกล่าวเป็น "ป่า" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 หรือไม่ และหรือเป็นป่าสงวนแห่งชาติ

        - กรณีไม่เป็น "ป่า " ไม้หวงห้ามคือ " ไม้สักและไม้ยาง " เท่านั้น

        - กรณีเป็น "ป่า " ไม้หวงห้ามได้แก่ " ไม้สักและไม้ยาง " และชนิดพันธุ์ไม้อีกจำนวน 171 ชนิด ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530

        3) องค์ประกอบที่ 3 ประเภทที่ดินที่จะขอขึ้นทะเบียนได้ตามกฎหมายตามพระราช บัญญัติ สวนป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้กำหนดประเภทที่ดิน ที่จะขอขึ้นทะเบียนสวนป่าไว้ 5 ประเภท ดังนี้

        มาตรา 4 ที่ดินที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นที่ดินประเภทหนึ่งประเภทใด ดังต่อไปนี้

         (1) ที่ดินที่มีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

         (2) ที่ดินที่มีหนังสือของทางราชการรับรองว่า ที่ดินดังกล่างอยู่ในระยะเวลาที่อาจรับ โฉนดที่ดินหรือหนังสือ รับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ เนื่องจากได้มีการครอบครองและ เข้าทำกินในที่ดินดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมหรือตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพไว้แล้ว

         (3) ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่มีหลักฐาน การอนุญาต การเช่าหรือเช่าซื้อ

         (4) ที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติให้บุคคลเข้าทำการปลูกป่า ในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ หรือเข้าทำการปลูกสร้างสวนป่า หรือไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรม

         (5) ที่ดินที่ได้ดำเนินการเพื่อการปลูกป่าอยู่แล้วโดยทบวงการเมือง รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงาน อื่นของรัฐ

ตามมาตรา 4 ดังกล่าว ประเภทที่ดินที่จะขอขึ้นทะเบียนสวนป่าได้นั้นต้องเป็นที่ดินประเภท

ตามกฎหมายดัง ต่อไปนี้คือ

        1 . พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 (แก้ไขเพิ่มเติม)

        2 . พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 (แก้ไขเพิ่มเติม)

        3 . พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 (แก้ไขเพิ่มเติม)

        4 . พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 (แก้ไขเพิ่มเติม)

        5 . พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 (แก้ไขเพิ่มเติม)

        6 . ที่ดินของทบวงการเมือง รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

        หมายความว่า :- ประเภทที่ดินที่จะขอขึ้นทะเบียนสวนป่าได้ คือ

         (1) ตามมาตรา 4(1) ที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้แก่

         - โฉนดที่ดิน 6 แบบ คือ น.ส. 4 น.ส.4 ก. ข. ค.ง. จ.

        - โฉนดแผนที่

        - โฉนดตราจอง

        - ตราจองที่ตราว่า " ได้ทำประโยชน์แล้ว"

        - หนังสือรับรองการทำประโยชน์ คือ น.ส. 3 , น.ส. 3 ก,ข แบบหมายเลข 3

         (2) ตามมาตรา 4 (2) ที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 และตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ได้แก่

        - หนังสือรับรองของทางราชการ ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

        - หนังสือแสดงการทำประโยชน์ในนิคมสร้างตนเอง แบบ น.ค. 3

        - หนังสือแสดงการทำประโยชน์ในนิคมสหกรณ์ แบบ กสน. 5

         (3) ตามมาตรา 4(3) ที่ดินตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ได้แก่

        - หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ แบบ ส.ป.ก. 4 01 ส.ป.ก.4-01 ก. ส.ป.ก.4-01 ข.

        - สัญญาเช่า

        - สัญญาเช่าซื้อ

        - สัญญาค่าชดเชยที่ดิน

         (4) ตามมาตรา 4(4) ที่ดินตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ได้แก่

        - หนังสืออนุญาตตามมาตรา 16 ทวิ (2) แบบ สทก. 1 ข

        - หนังสืออนุญาตตามมาตรา 20 แบบ ป.ส. 31

         (5) ตามมาตร 4(5) ที่ดินตามมาตรานี้ มิได้กำหนดว่าเป็นที่ดินประเภทใด แต่ต้องเป็นที่ดินของทบวงการเมือง รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งได้ดำเนินการอื่นเพื่อการปลูกป่า จึงอาจเป็นป่า ที่สาธารณะประโยชน์ ที่ราชพัสดุ ดังนั้นการขึ้นทะเบียนให้ ใช้หลักฐานดังนี้

        - โฉนดที่ดิน

        - หนังสือรับรองการทำประโยชน์

        - หรือหลักฐานแสดงการมีสิทธิ์ ใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น

        หมายเหตุ  : กรณีหลักฐานเอกสารที่ดินประเภทใดก็ตาม ไม่เป็นไปตามนี้ให้ไปดำเนินการขอหลักฐานเอกสารที่ดิน ให้ถูกต้องเสียก่อน เช่น สค 1 หรือ นส.2 ให้ไปขอโฉนดที่ดิน นค. 1 ให้ขอ นค. 3 เป็นต้น แล้วจึงนำหลักฐานที่ดิน ตามกฎหมายมาขอขึ้นทะเบียนสวนป่าต่อ ไป

เอกสารและหลักฐานประกอบการขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า

        เมื่อประสงค์จะใช้ที่ดินทำสวนป่าเพื่อการค้าและผู้ยื่นคำขอมีองค์ประกอบครบถ้วน แล้ว ให้จัดเตรียมเอก สารและหลักฐานประกอบพร้อมสำเนาดังต่อไปนี้

        1.แบบคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า (สป.1)

        2. หลักฐานของผู้ยื่นคำขอ แนบคำขอ

  • กรณีเป็นนิติบุคคล

        - สำเนาบัตรประจำประชาชน ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ

        - สำเนาทะเบียนบ้าน

  • กรณีเป็นนิติบุคคล ที่มิใช่ทบวงการเมือง หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

        - สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

        - สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนไว้

        - สำเนาบัตรประจำตัว และทะเบียนบ้านของกรรมการผู้จัดการหรือ ผู้จัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดแทนนิติบุคคลนั้น

  • กรณี "ผู้ยื่นคำขอ" มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนในการยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ที่ดินเป็นสวนป่าต้องเตรียม หลักฐานเพิ่มเติมดังนี้ คือ

         - หนังสือมอบอำนาจ

        - สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ

        - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

  • หลักฐานเกี่ยวกับที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียน

        - สำเนาหลักฐานที่ดิน เพื่อแสดงว่า ที่ดินดังกล่าวผู้ยื่นคำขอ เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองหรือสิทธิ์ใช้ ประโยชน์ในที่ดินนั้น

        - หลักฐานการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดิน และหนังสือยินยอมของผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองในที่ดินนั้น ที่แสดงว่าอนุญาตให้ทำสวนป่าได้ (ทั้งนี้เฉพาะที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินเท่านั้น)

         - แผนที่สังเขป แสดงที่ตั้ง เขตติดต่อและแนวเขตที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า

        3.เอกสารหรือหลักฐานประกอบอื่น ๆ ตามที่ทางราชการแจ้งให้นำส่ง

        หมายเหตุ - กรณีที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งมีชื่อร่วมเป็นเจ้าของหลายคน ด้วยกัน ต้องมีหนังสือยินยอมให้ทำสวน ป่าได้ จากเจ้าของร่วมทุกคน

         - กรณีที่ดินตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 4 (3) ของพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 " หลักฐานการอนุญาต การเช่าหรือเช่าซื้อ " นั้น หมายความถึง การที่หน่วยราชการผู้ดำเนินการจัดที่ดินอนุญาต ให้เช่า หรือให้เช่าซื้อ แก่ผู้ได้รับสิทธิ์ในที่ดิน จะนำไปอนุญาตให้เช่าหรือเช่าซื้อต่อผู้อื่นมิได้

สถานที่ยื่นคำขอเพื่อขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและนายทะเบียน

        1. สถานที่ยื่นคำขอเพื่อขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า เมื่อผู้ประสงค์ปลูกสวนป่าหรือปลูกสวนป่าอยู่แล้วมีความ ประสงค์ที่จะขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าให้ตรวจสอบ องค์ประกอบ 3 ประการให้ครบถ้วน และจัดเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการขึ้นทะเบียน ที่ดินเป็นสวนป่า ให้ถูกต้องและครบถ้วน แล้วยื่นคำขอต่อ

         (1) สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อผู้อำนวยการส่วนปลูกป่าภาคเอกชนสำนักส่งเสริม การปลูกป่า กรมป่าไม้ (สถานที่ตั้ง กรมป่าไม้ 61 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กทม.) เพื่อเสนอต่อนายทะเบียน

         (2) สำหรับท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อนายอำเภอ หรือปลัดผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอที่ที่ดินตั้งอยู่ เพื่อเสนอต่อนายทะเบียน

        2. นายทะเบียน ผู้ทำหน้าที่นายทะเบียน คือ

         (1) สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร คือ อธิบกรมป่าไม้ หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมป่าไม้มอบหมาย

         (2) สำหรับท้องที่จังหวัดอื่น คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการมอบหมาย

        ขั้นตอนการดำเนินการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและการออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดิน เป็นสวนป่า

        เมื่อผู้ปลูกสวนป่า มีความประสงค์ที่จะขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า มีองค์ประกอบ 3 ประการครบถ้วน จัดเตรียมเอกสารและ หลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้ยื่นคำขอตามสถานที่กำหนด ซึ่งจะมีขั้นตอนดำเนินการลำดับ ดังนี้

        1) อำเภอท้องที่ รับคำขอพร้อมเอกสารและหลักฐานประกอบคำขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ คำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอให้ถูกต้องครบถ้วน ใช้เวลาตรวจสอบหนึ่งวันทำการ หากตรวจสอบแล้วเห็นว่า ไม่ถูกต้องให้คืนคำขอพร้อมเอก สารหลักฐานประกอบคำขอแก่ผู้ยื่นคำขอภายในห้าวันทำการ เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง

        2) เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้ลง ทะเบียนรับคำขอตามลำดับก่อนหลังในทะเบียนรับคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าตามแบบ สป.2 แล้วให้ อำเภอส่งเรื่องราวคำขอพร้อมเอกสาร หลักฐานประกอบคำขอเสนอจังหวัด ภายในห้าวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับคำขอ

        3) เมื่อจังหวัดได้รับเรื่องราวคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าแล้วให้ตรวจสอบความถูกต้องอีกชั้นหนึ่ง และพิจารณาเสนอนายทะเบียน เพื่อสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปทำการตรวจสอบสถานที่ตั้งและสภาพที่ดินที่ขอขึ้น ทะเบียนเป็นสวนป่า ภายใน ห้าวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่องราว

        4) พนักงานเจ้าหน้าที่ (ตามที่นายทะเบียนสั่ง) ออกไปทำการตรวจสอบสถานที่ตั้งและสภาพที่ดินที่ขอ ขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า และเสนอผลการตรวจสอบ พร้อมความเห็นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง (ยกเว้น กรณีที่ดินตามมาตรา 4(4) ประ เภทที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ให้นายทะเบียนสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบ และทำรายงานเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ตาม "ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการตรวจสอบที่ดินที่มีหนังสืออนุญาต ตาม กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ ให้บุคคลเข้าทำการปลูกป่าในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ หรือเข้าทำการปลูก สร้างสวนป่าหรือไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรม ที่ขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า พ.ศ. 2535 " และรายงานผล การตรวจสอบต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง)

        5) นายทะเบียนแจ้งการสั่งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวัน ทำการ นับแต่วันที่อำเภอท้องที่ได้รับคำขอ หรือได้รับรายงานผลการตรวจสอบกรณีที่ดินตามมาตรา 4(4) แล้วแต่กรณี โดยให้จัดทำเป็นหนังสือแจ้ง การสั่งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและจัดส่งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนตอบรับหรือกรณีผู้ยื่นคำขอมารับหนังสือเอง ให้ผู้ยื่นคำขอลงนามรับทราบต่อท้ายสำเนาคู่ฉบับหนังสือนั้น

        6) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งคำสั่งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าไว้ในทะเบียนรับคำขอ ตามแบบ สป.2

        7) กรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า ให้ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งดังกล่าว " คำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ให้เป็นที่สุด"

        8) นายทะเบียน ออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า ตามแบบ สป.3 "หากมีเงื่อนไขที่ นายทะเบียนเห็นควรกำหนดให้ผู้ทำสวนป่าปฎิบัติเพิ่มเติมให้ระบุไว้ในเงื่อนไขแนบท้ายหนังสือรับรอง " แล้วมอบ สป.3 ให้ผู้ทำสวนป่า เพื่อเก็บไว้ใช้เป็น หลักฐาน

        9) เมื่อนายทะเบียนออก สป.3 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ลงรายละเอียดการขึ้นทะเบียนไว้ใน ทะเบียนหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า ตามแบบ สป . 4 เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานของทางราชการต่อไป และให้สำเนาเรื่องราวทั้ง หมดส่งป่าไม้เขตท้องที่และกรมป่าไม้ทราบ

สรุปการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535

 1. พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 ตราขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2535 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 20 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2535

          พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิแก่ผู้ปลูกสวนป่าประเภทไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 โดยไม่ต้องดำเนินการขออนุญาตในการทำไม้หวงห้ามและขออนุญาตนำไม้เคลื่อนที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ผู้ปลูกสวนป่าประเภทไม้หวงห้ามผู้ใดประสงค์จะดำเนินการตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 จะได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น การได้รับการยกเว้นค่าภาคหลวงและการไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎเกณฑ์บางประการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 โดยมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกรมป่าไม้ รวม 5 ฉบับ ได้แก่

          1. ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า และการโอนทะเบียนสวนป่า      พ.ศ. 2535

          2. ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการตรวจสอบรายงานและดำเนินการ สำหรับที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติให้บุคคลเข้าทำการปลูกป่าในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ หรือเข้าทำการปลูกสร้างสวนป่า หรือไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรมที่ขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า พ.ศ. 2535

          3. ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียน การรับรอง การตี ตอก ประทับหรือแสดง          การยกเลิก และการทำลายตราที่ใช้ในกิจการสวนป่า พ.ศ. 2535

          4. ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการแจ้ง การออกหนังสือรับรองการแจ้งตัดหรือโค่นไม้ การเก็บรักษาหนังสือรับรองการแจ้ง บัญชีแสดงรายการไม้ เอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับการดังกล่าว การขอ การออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง และหลักฐานแสดงการได้ไม้มาโดยชอบจากการทำสวนป่า พ.ศ. 2535

5. ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการนำไม้ท่อน ไม้แปรรูป หรือสิ่งประดิษฐ์ฯ ที่ได้มาจากการทำ    สวนป่าเคลื่อนที่ พ.ศ. 2535

 

2. หลักเกณฑ์ของสวนป่าที่จะนำมาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสวนป่า

          พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และองค์ประกอบของสวนป่าที่จะนำมาดำเนินการตามกฎหมายฉบับนี้ไว้ จึงไม่ครอบคลุมสวนป่าทุกสวนป่าได้ หลักเกณฑ์มีดังนี้ คือ

          2.1 ผู้ทำสวนป่า ต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองหรือผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น และจะต้องเป็น เจ้าของต้นไม้ (มาตรา 5)

          2.2 ชนิดพันธุ์ไม้ ต้องเป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ (มาตรา 3 วรรคแรก)

          2.3 ประเภทที่ดินเฉพาะตามที่กฎหมายว่าด้วยสวนป่ากำหนดไว้ (มาตรา 4) ต้องมีหลักฐานเอกสารที่ดิน ซึ่งทางราชการได้ออกให้ เช่น

(1) ที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้แก่

          - โฉนดที่ดิน (น.ส.4, น.ส.4 ก, น.ส.4 ข, น.ส.4 ค, น.ส.4 ง, น.ส.4 จ)

         - โฉนดแผนที่

          - โฉนดตราจอง

          - ตราจองที่ตราว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว

          - หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก, น.ส.3 ข แบบหมายเลข 3)

(2) ที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 และที่ดิน

ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ได้แก่

                             - หนังสือแสดงการทำประโยชน์ในนิคมสร้างตนเอง แบบ น.ค.3

                             - หนังสือแสดงการทำประโยชน์ในนิคมสหกรณ์ แบบ กสน.5

                   (3) ที่ดินตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ได้แก่

                             - หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ แบบ ส.ป.ก.4-01, ส.ป.ก.4-01 ก,

                                ส.ป.ก.4-01 ข

                             - สัญญาเช่า

                             - สัญญาเช่าซื้อ

                             - สัญญาค่าชดเชยที่ดิน

                   (4) ที่ดินตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ได้แก่

                             - หนังสืออนุญาต ตามมาตรา 16 ทวิ (2) แบบ ส.ท.ก.1 ข

                             - หนังสืออนุญาต ตามมาตรา 20 แบบ ป.ส.31

                   (5) ที่ดินที่ได้ดำเนินการเพื่อการปลูกป่าอยู่แล้วโดยทบวงการเมือง รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

 3. ขั้นตอนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535

          พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 มีขั้นตอนดำเนินการก่อนการที่จะตัดหรือโค่นไม้ไว้ล่วงหน้าเพื่อการตรวจสอบรับรอง จนถึงขั้นตอนการตัดไม้และนำไม้เคลื่อนที่ออกจากสวนป่าการดำเนินการ     ส่วนใหญ่แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นเพียงผู้ตรวจสอบ และรับรองเอกสารให้เท่านั้นผู้ทำสวนป่าจะต้องดำเนินการด้านการคัดเลือกไม้ ตีตราไม้ จัดทำบัญชี และออกเอกสารหลักฐานการนำไม้เคลื่อนที่ด้วยตนเอง โดยมีลำดับขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

          1. การขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า

          2. การขึ้นทะเบียนตราประทับไม้

          3. การแจ้งตัดหรือโค่นไม้

          4. การลงทะเบียนเล่มที่หนังสือแสดงบัญชีรายการไม้

          5. การออกหนังสือแสดงบัญชีรายการไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่าเพื่อนำไม้เคลื่อนที่

ในแต่ละขั้นตอนการดำเนินการมีรายละเอียดดังนี้

          3.1 การขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า

                   (1) ผู้ประสงค์ขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า      ตามแบบ สป.1 พร้อมเอกสารและหลักฐานประกอบ ที่นายอำเภอท้องที่ที่ที่ดินตั้งอยู่

                (2) นายอำเภอท้องที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอพร้อมเอกสารและหลักฐานให้ถูกต้อง แล้วส่งเรื่องให้จังหวัดท้องที่ภายใน 7 วันทำการ นับแต่ได้รับคำขอ

                   (3) จังหวัดท้องที่ตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องแล้วสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบพื้นที่สวนป่า

                   (4) พนักงานเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบพื้นที่สวนป่า แล้วรายงานจังหวัดพร้อมความเห็นภายใน 7 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

                   (5) จังหวัด (นายทะเบียน) พิจารณาแจ้งสั่งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า   ถ้าสั่งรับออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า ตามแบบ สป.3 ระยะเวลาภายใน 15 วัน    ทำการนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากอำเภอ

          3.2 การขึ้นทะเบียนตราประทับไม้

                   (1) ผู้ทำสวนป่าจัดทำ ตรา ที่มีลักษณะรูปรอยตราอย่างใดก็ได้ แต่ต้องมีอักษรย่อของจังหวัดท้องที่

                   (2) ผู้ทำสวนป่ายื่นคำขอขึ้นทะเบียนตรา ตามแบบ สป.7 พร้อมเอกสารหลักฐานและ  ดวงตราต่อนายอำเภอท้องที่

                   (3) อำเภอท้องที่รับคำขอพร้อมตรวจสอบเอกสารหากถูกต้องส่งเรื่องให้จังหวัดท้องที่ ระยะเวลาภายใน 5 วันทำการ

                   (4) จังหวัดตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนตรา ตามแบบ สป.8 และหนังสือรับรองตรา ตามแบบ สป.9 ให้แก่ผู้ทำสวนป่า ภายใน 5 วันทำการ

          3.3 การแจ้งตัดหรือโค่นไม้

                   (1) ผู้ทำสวนป่า ยื่นคำขอแจ้งการตัดหรือโค่นไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า ตามแบบ   สป.12 พร้อมเอกสารหลักฐาน ต่อนายอำเภอท้องที่

                   (2) อำเภอท้องที่รับคำขอแจ้งการตัดหรือโค่นไม้ฯ ตรวจสอบความถูกต้องแล้วสั่งให้เจ้าหน้าที่ออกไปทำการตรวจสอบไม้ตามคำขอ ว่ามีชนิดและจำนวนไม้ถูกต้องตามที่แจ้งไว้หรือไม่

                   (3) นายอำเภอท้องที่พิจารณาออกหนังสือรับรองการแจ้งตัดหรือโค่นไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า ตามแบบ สป.13 ให้แก่ผู้ทำสวนป่า โดยไม่ชักช้า

                   เมื่อผู้ทำสวนป่าได้แจ้งตามแบบแจ้งการตัดหรือโค่นไม้ฯ (สป.12) แล้ว สามารถดำเนินการตัดหรือโค่นไม้ที่แจ้งได้ทันที และสามารถจะตัดหรือโค่นเวลาใดก็ได้ก่อนหรือหลังจากได้รับหนังสือรับรองการแจ้งตัดหรือโค่นไม้ฯ (สป.13)

          3.4 การลงทะเบียนเล่มที่หนังสือแสดงบัญชีรายการไม้

                   (1) ผู้ทำสวนป่าจัดหาหนังสือแสดงบัญชีรายการไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า ตามแบบ สป.15 ตามที่ทางราชการกำหนดไว้

                   (2) ผู้ทำสวนป่านำหนังสือแสดงบัญชีรายการไม้ (สป.15) ไปขอลงทะเบียนเล่มที่ที่จังหวัดท้องที่

                   (3) พนักงานเจ้าหน้าที่จะลงทะเบียนให้แล้วจึงนำไปใช้ได้

       3.5 การออกหนังสือแสดงบัญชีรายการไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า

                   เมื่อผู้ทำสวนป่าจำหน่ายไม้ท่อนหรือจะนำไม้เคลื่อนที่ออกจากสวนป่า จะต้องดำเนินการดังนี้

                   (1) ตีตราประทับไม้ประจำสวนป่า ตีเลขเรียงประจำท่อน ตีเลขปีย่อ

                             วิธีปฏิบัติในการตีตราไม้

                             (1.1) ไม้ท่อนที่มีขนาดความโตที่กึ่งกลางท่อนเกินกว่า 80 เซนติเมตร ให้ตี ตอก ประทับ หรือแสดงตราลงบนหน้าตัดด้านโคนและปลายของไม้แต่ละท่อน พร้อมด้วยเลขเรียงประจำท่อน

                   การตีเลขเรียงประจำท่อน ให้ใช้เลขเรียงเริ่มตั้งแต่ 1 จนสิ้นปี พ.ศ. นั้น เมื่อเริ่มปี พ.ศ. ใหม่    ให้เริ่มต้นใหม่

                             (1.2) ไม้ท่อนที่มีขนาดความโตที่กึ่งกลางท่อนตั้งแต่ 80 เซนติเมตรลงมาให้ตี ตอก ประทับ หรือแสดงตราที่หน้าตัดด้านโคนของไม้

                             (1.3) ไม้แปรรูปซึ่งเป็นไม้เสาถากและไม้แปรรูปเหลี่ยมให้ดำเนินการตามตัวอย่างท้ายระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการขึ้นทะเบียน การรับรอง การตี ตอก ประทับหรือแสดง          การยกเลิกและการทำลายตราที่ใช้ในกิจการสวนป่า พ.ศ. 2535

                             (1.4) ไม้แปรรูปอื่นๆ ให้ตี ตอก ประทับ หรือแสดงตราที่หน้าตัดของไม้

                             (1.5) สิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หรือส่วนใดๆของต้นไม้ ให้ตี ตอก ประทับหรือแสดงตราที่สิ่งนั้นๆ ในบริเวณที่เห็นได้ง่ายและสะดวก แก่การตรวจสอบ

                   (2) วัดขนาดไม้ ความยาว และความโต (เส้นรอบวง) ที่จุดกึ่งกลางท่อน

                   (3) จัดทำบัญชีไม้และลงรายการในหนังสือแสดงบัญชีรายการไม้

                   (4) ถ่ายสำเนาหนังสือรับรองการแจ้งตัดหรือโค่นไม้ฯ (สป.13) แล้วให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่อำเภอท้องที่รับรองถูกต้อง

                   (5) เมื่อนำไม้เคลื่อนที่จะต้องมี สป.15 และสำเนา สป.13 ที่รับรองแล้วโดยพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับไม้ไปด้วย

******************************************************************************************************************************************************

                 สนใจกล้าพันธุ์ไม้ปลูกป่าเศรษฐกิจทุกชนิด

           ติดต่อคุณไก่ 095-4654546  

Tags : การจดทะเบียนไม้ประเภท ก.(สป.3)

ความคิดเห็น

  1. 1
    นสงสาวพงศ์นภา
    นสงสาวพงศ์นภา P.noiprom@gmail.com 10/01/2017 01:12

    สวัสดีค่ะสนใจอยากจะทำสวนป่าค่ะ


    ไม่ทราบว่าการดำเนินการต่างๆข้างต้นตั้งแต่การขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าจนถังการออกหนังสือแสดงบัญชีรายการไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่ามีบุคคลใดรับจ้างทำไหมค่ะ ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ ดิฉันอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอสตึกค่ะ. ขอบคุณล่วงหน้าอย่่างสูงค่ะ


  2. 2
    สุวิทย์
    สุวิทย์ suwitfireman@gmail.com 18/06/2013 10:00

    ซื้อไม้พยุง จากคุณไก่ มาปลูก  ไม่ถึง 1 ปี สูงเกิน  4  เมตร ขอบคุณมาก ที่ให้ทุกความรู้ ในการค้นคว้า เพื่อปลูกต้นไม้


    089 581 7919  (ดับเพลิง   อ.โนนดินแดง    จ.บุรีรัมย์)

  3. 3
    กระบี่มือเดียว

    กฏหมายย่อมมีความสำคัญต่อประชาชน ในเมื่อประชาชนทราบเช่นนี้แล้วย่อมต้องปฏิบัติตาม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    ในแง่ของประชาชน มีไม่ถึง 10% ที่จะทราบเรื่องที่เราอ่านมา จะทำอย่างไรให้ประชาชน "รู้เรื่อง" ที่พวกเราทราบ
    นี่คือปัญหาระดับชาติ "เกาไม่ถูกที่" แก้ปัญหาลำบาก

  4. 4
    คนรักบ้านเกิด
    คนรักบ้านเกิด Thep_smile@hotmail.com 19/10/2010 14:56
    แถวบ้านผมเค้าลักลอบตัดต้นไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยอ้างสิทธิครอบครอง นส.2ข จำนวน 31 ไร
    อยากให้มีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเข้ามาดูแลด้วยครับ
    ป่าสงวนแห่งชาติ ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
  5. 5
    คุณไก่081-2839267
    คุณไก่081-2839267 nangpaya@hotmail.com 04/02/2010 16:42

    จำหน่ายกล้าพันธุ์ไม้ สัก ยางนา ประดู่ ตะกู มะค่า เต็ง รัง พยุง ตะเคียนทอง คชราช มะฮอกกานี ชิงชัน สำโรงและกล้าพันธุ์ไม้ยืนต้นทุกชนิด..สนใจติดต่อคุณไก่..081-2839267

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view