ตะกู ตะกู ตะกูก้านแดงประโยชน์มากมาย
http://www.thaisakluangwood.co.th
Thaisakluangwood Co.,Ltd.
บริษัท ไม้สักหลวงไทย จำกัด 349 หมู่ที่ 12 ต.เมืองปัก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 30150
หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับตะกูมาแล้ว คุณจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า "ตะกูเป็นไม้ที่คุณควรปลูก" นอกจากคุณลักษณะพิเศษที่เป็นไม้ปลูกง่ายแล้ว ไม้ตะกูยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น
* ไม้อัด* ไม้บาง ก้านไม้ขีดไฟ* ไฟเบอร์บอร์ด* พาร์ติเคิลบอร์ด* แปรงลบกระดาน* พื้นรองเท้า
* พื้นรองเท้า* เฟอร์นิเจอร์ ตู้โต๊ะเตียง ซึ่งสามารถใช้แทนไม้สักได้เลย * เฟอร์นิเจอร์ ตู้โต๊ะเตียง ซึ่งสามารถใช้แทนไม้สักได้เลย
* โครงหลังคาบ้าน ตัวบ้าน ฯลฯ
ประโยชน์ ของตะกูที่มีความต้องการในตลาดเศรษฐกิจไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะประโยชน์สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ใช้ในการทำเยื่อกระดาษ ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์พบว่า ไม้ตะกู อายุ 3 ปี สามารถทำเยื่อกระดาษเขียนหนังสือ และการดาษหนังสือออฟเสทที่มีคุณภาพดี และเป็นเนื้อเยื่อชั้นดีที่ให้ความเหนียวของกระดาษสูง นอกจากนี้ตะกูยังมีคุณสมบัติเด่นในแง่ตัดแตกหน่อได้ดี จึงเป็นความหวังใหม่ในอนาคตสามารถปลูกเป็นสวนป่า เพื่อจำหน่ายในรูปไม้ซุงที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดชนิดหนึ่งความรู้ครับเพื่อน ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติตะกูพบการกระจายพันธุ์อยู่ในช่วงเส้นรุ้งที่ 9-27 องศาเหนือ ตั้งแต่ประเทศเนปาล ไล่มาทางทิศตะวันออกจนถึงบังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลงไปจนถึงหมู่เกาะปาปัวนิวกินี ในประเทศไทยตะกูมีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยพบที่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี เลย เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ตรัง สตูล และภูเก็ต ขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบริมทะเลไปจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000-5,000 มิลลิเมตร โดยมักพบต้นตะกูขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดั้งเดิมที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งร้างไว้ หรือสองข้างทางรถยนต์ที่ตัดผ่านป่าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น เช่นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง เป็นต้น
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบคุณสมบัติของไม้โตเร็วบางชนิดกับไม้ตะกู
ตะกูเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 16-27 เมตร (สำหรับในประเทศไทย ต้นตะกูที่โตเต็มที่ที่พบในป่าธรรมชาติมีขนาดโตทางเส้นรอบวงเพียงอกประมาณ 280 ซม. สูงประมาณ 27 เมตร) เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งตั้งฉากกับลำต้น ส่วนใหญ่ลำต้นเปลาตรง มีการลิดกิ่งเองตามธรรมชาติ (บางถิ่นกำเนิดโดยเฉพาะในแถบประเทศอินเดีย ลำต้นจะไม่เปลาตรงเนื่องจากมีกิ่งขนาดใหญ่ การลิดกิ่งตามธรรมชาติมีน้อย) เปลือกสีเทาปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน ใบเดี่ยวเรียงตัวตรงข้ามเป็นคู่ ๆ มีขนาดประมาณ 5-12 x 10-24 ซม. ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบมีขนสาก ๆ และมีสีเข้มกว่าทางท้องใบ ท้องใบมีขนนุ่มและจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบมี 7-14 คู่ เห็นชัดทั้งสองด้านดอกตะกูมีขนาดเล็กติดกันแน่นอยู่บนช่อดอกแบบ Head สีขาวปนเหลืองหรือสีส้ม กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็น ช่อกลมเดี่ยวหรือเป็นกระจุกไม่เกิน 2 ช่อ อยู่ตามปลายกิ่ง ผลตะกูเป็นผลเดี่ยวโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก เรียกผลแบบนี้ว่า Fruiting Head มีขนาดความโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-6 ซม. ผลแก่มีสีเหลืองเข้ม ในผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมากบรรจุอยู่ภายใน เมล็ดมีขนาดประมาณ 0.44 x 0.66 มม. เมล็ดแห้งหนัก 1 กิโลกรัม มีจำนวนเมล็ดประมาณ 18-26 ล้านเมล็ด ผลแก่เป็นอาหารของสัตว์ป่าจำพวกกวาง เก้ง และนก ซึ่งสัตว์เหล่านี้ช่วยให้การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ (Natural Regeneration) ของไม้ตะกูเกิดขึ้นได้ง่าย เราจึงสามารถพบเห็นกลุ่มไม้ตะกูขึ้นอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งๆที่บางแห่งอาจจะมองไม่เห็นแม่ไม้ในบริเวณข้างเคียงเลยก็ตาม
ที่มา : กลุ่มงานพัฒนาผลิตผลป่าไม้ สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ (2548)
ทันที สนใจปรึกษาได้ที่ คุณกิตติศักดิ์ Tel.086-048-085-4 E – mail : thaisakluangwood@gmail.com
Link: คลิ๊กที่นี่