http://www.http://takuyak.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 23/05/2008
ปรับปรุง 13/01/2023
สถิติผู้เข้าชม5,778,799
Page Views7,092,677
สินค้าทั้งหมด 5
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
โลกร้อน หายนะมวลมนุษยชาติ
มิติธรรมชาติ
เศรษฐพอเพียง
สักทองพืชทำเงินที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
"ต้นยางนา" พืชสร้างเงินที่ไม่ธรรมดา
"ไม้ยูคาลิปตัส"ความต้องการใช้ที่มีอย่างต่อเนื่อง
ไม้พยุง ไม้เงินล้านวันนี้ราคาพุ่งแรงแซงไม่หยุด
เปิดคลังไอเดียพืชทำเงิน
ราคาทอง
ราคาน้ำมัน
พยากรณ์อากาศ
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
ทีวีผ่านเน็ต
ศูนย์รวมสมุนไพรทุกชนิด
เพื่อนบ้านทั้งหมด
 

"ยางนา"ต้นไม้บ้านนาที่สร้างรายได้ไม่ธรรมดา

"ยางนา"ต้นไม้บ้านนาที่สร้างรายได้ไม่ธรรมดา
ต้นยางนา

ชื่อทั่วไป - ยางนา
ชื่อสามัญ - Yang
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Dipterocarpus alatus Roxb.ex G.Don
วงศ์ - Dipterocarpaceae
ชื่ออื่นๆ - ยาง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก ยางนา, ยางกุง, ยางควาย , ยางเนิน ,ราลอย , ลอยด์ กาตีล , ขะยาง , เคาะ , จะเตียล , ชันนา ยางตัง , ทองหลัก
ถิ่นกำเนิด - ป่าดงดิบ และตามที่ต่ำชุ่มชื้นใกล้แม่น้ำลำธารทั่วไป
ประเภท - ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ - ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 30 – 40 เมตร เปลือกหนาเรียบ สีเทาปนขาว โคนมักเป็นพู
- ใบ เดียว เรียงสลับแผ่นใบรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 8 – 15 เซนติเมตรยาว 20 – 35 เซนติเมตร หูใบหุ้มยอดอ่อน มีขนสีน้ำตาล
- ดอก สีชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ออกดอกมีนาคม – พฤษภาคม เป็นผล เมษายน – มิถุนายน
- ผล ผลเป็นผลแห้งทรงกลม มีครีบตามยาว 5 คลีบ ปีกยาว 2 ปีก ปีกสั้น3 ปี
การขยายพันธ์ - ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด สภาพที่เหมาะสม - เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นเป็นหมู่ใน
ป่าดิบและตามที่ราบชุ่มชื้นใกล้แม่น้ำลำธารทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200 – 600 เมตร
ประโยชน์ - ลำต้น ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เมื่ออาบน้ำยาถูกต้องจะทนทานขึ้น
- น้ำมัน ใช้ทาไม้ยาแนวเรือ ใช้เติมเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ทำน้ำมันใส่แผล แก้โรคเรื้อน
ชื่อพื้นเมือง(Common  name)ยาง ยางขาว ยางแดง ยางหยวก ยางแม่น้ำ ( ทั่วไป) กาตีล( เขมร- กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ขะยาง( ชาวบน- นครราชสีมา) เคาะ( กะเหรี่ยง) จะเตียล( เขมร- ศรีสะเกษ) จ้อง( กะเหรี่ยง) ชันนา( หลังสวน- ชุมพร) ทองหลัก( ละว้า- กาญจนบุรี) ยางกุง( เลย) ยางควาย( หนองคาย) ยางใต้( กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ยางเนิน( จันทบุรี) เยียง( เขมร- สุรินทร์) ร่าลอย( ส่วย- สุรินทร์) ลอยด์( โซ้- นครพนม) เหง( ลื้อ)
การกระจายพันธ์ตามธรรมชาติ(Distribution and habitat)
ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบริมลำธาร ในป่าดิบทั่วไป ที่มีดินลึกและอุดมสมบูรณ์มีความชื้นสูง ในระดับสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200- 600 เมตร โดยปกติจะพบไม้ยางนาในป่าดิบแล้ง ในประเทศไทยจะพบไม้ยางนาขึ้นอยู่ทุภาคทั้งภาคเหนือภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้
ลักษณะทางด้านพฤกษศาสตร์(Botanical  description
ลำต้น (Stem) ยางนาเป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ใบแก่จะร่วงหลุดไปใน ขณะเดียวกับที่มีการแตกใบใหม่มาทดแทน ลำต้นเปลา ตรง เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูง ประมาณ 30 –40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม กลมหนา ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด
เปลือก (Bark) เรียบหนา สีเทาปนขาว โคนมักเป็นพูพอน
ใบ (Leaf)เป็นใบเดี่ยว(simple leaf) ติดเรียงเวียน สลับ (spirate) ทรงใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน(elliptical – oblong) ขนาดกว้าง 8 – 15 ซ. ม. ยาว 20 –35 ซ. ม. โคนใบ มนกว้างๆ ปลายใบสอบทู่ๆ เนื้อใบหนา ใบอ่อนมีขนสีเทา ปกคลุม ใบแก่จะผิวเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ ตรงและขนานกัน มี 14 – 17 คู่ เส้นใบย่อยแบบเส้นขั้น บันได เห็นชัดทางด้านท้องใบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น เล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 4 ซ. ม. มีขนบ้างประปราย
ดอก (Flower) เป็นแบบดอกช่อ (inflorescence flower) แบบ panicle สีชมพู ออกเป็นช่อเดี่ยวสั้นๆ ตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่งการเกิดช่อดอกจะเกิดพร้อมกันกับการแตกใบอ่อน ช่อหนึ่งมีหลายดอกโดยโคนกลีบฐานเชื่อมกันเป็นรูปถ้วยและมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายถ้วยแยกเป็น5 แฉก ยาว 2 แฉกและสั้น 3 แฉก มีขนสั้นๆสีน้ำตาลปกคลุมทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบโคนกลีบชิดติดกัน ส่วนปลายกลีบจะบิด เวียนกันในทิศตามเข็มนาฬิกา เกสรผู้มีประมาณ 29 อัน รังไข่รูปรีๆภายในแบ่งเป็น 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย
ผล (Fruit) เป็นผลเดี่ยว (simple fruit) ชนิดผล แห้ง (dry fruit) ที่แก่แล้วไม่แตก(indehiscent fruit) แบบ samara รูปร่างกลม เป็นครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีกยาว 2 ปีก ยาว 10 – 12 ซ. ม. เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น ปีกสั้น รูปหูหนู 3 ปีก มีเมล็ดเดียว
เมล็ด (Seed) มีรูปร่างกลมรีปลาย
ด้านหนึ่งแหลมอีกปลายด้านหนึ่ง
ป้านขนาดยาวประมาณ 1 ซ.ม กว้างประมาณ 0.5 ซ.ม.
ลักษณะทางกายวิภาค(Wood  anatomy)
พอร์ เป็นแบบ พอร์เดี่ยว(solitary pore) เกือบทั้งหมด แบบของ
การเรียงตัวไม่เด่นชัด การกระจายเป็นแบบกระจัด กระจาย
( diffuse porous) พอร์ใหญ่มาก เส้นเรย์เห็นชัด มี ท่อยางเรียง
ต่อกัน 3 – 4 ท่อ อยู่ใกล้ ๆ พอร์
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลปนแดงหรือสีแดงเรื่อๆหรือสีน้ำตาลหม่น เสี้ยนมักตรงเนื้อหยาบ แข็งปานกลาง ใช้ในร่มทนทาน
สกายสมบัติ(Physical properties)
ความหนาแน่น (Density) 695 กก./ ลบ. ม.
การยืดหดตัวทางด้านรัศมี (Radial section)
3.97 %
การยืดหดตัวทางด้านสัมผัส (Tangential section)
10.15 %
การยืดหดตัวทางด้านยาวตามเสี้ยน(Longitudinal section)

(
ไม่มีข้อมูล) %
การผึ่งและอบไม้ ( ไม่มีข้อมูล)
 
กลสมบัติ(Mechanical properties)
ความแข็ง (Hardness) 471 ก. ก.
ความแข็งแรง (Strength) 888 ก. ก./ ตร. ซ. ม. 90,200 ก. ก./ ตร. ซ. ม. 2.14 ก. ก.- ม.ตั้งแต่ 1-10 ปี เฉลี่ยประมาณ 4.3 ปี
การอาบน้ำยาไม้ (Wood-preservation) อาบน้ำยาได้ง่าย ( ชั้นที่
2)
ชั้นความแข็งแรง (Strength group)
B
ชั้นคุณภาพไม้ (Grade timber)

ความทนทานตามธรรมชาติ (Durability)

ความเหนียว (Toughness)

ความดื้อ (Stiffness)
การขยายพันธุ์(Reproduction)
ปกตินิยมใช้ผลเพื่อการขยายพันธ์ ผลหรือเมล็ดที่เหมาะในการนำมาเพาะ คือช่วงที่ผลเปลี่ยนสีจาก สี
เขียว มาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ควรเก็บจากต้นไม่ควร เก็บผลที่ร่วงหล่น เพราะผลยางนาจะสูญเสีย ความชื้น
ในผล อย่างรวดเร็ว พบว่าหากความชื้นในผลน้อยกว่า 30 %แล้วเมล็ดจะตายหรือมีเปอร์เซ็นต์การงอก
น้อยมาก ดังนั้นเมื่อเก็บผลจากต้นแล้วควรรีบทำการเพาะทันที โดยตัดปีก และเพาะในวัสดุเพาะที่เป็น
ขี้เถ้าแกลบ รดน้ำให้ชุ่มจะงอกได้ภายใน 5 – 6 วัน มีช่วงระยะเวลาการงอกไม่เกิน 1 เดือน
การใช้งาน(Uses)
การเลื่อย อยู่ในระดับปานกลาง การไส อยู่ในระดับ
ปานกลาง การเจาะ อยู่ในระดับปานกลาง การกลึง อยู่ใน
ระดับปานกลาง การยึดเหนี่ยวตะปู อยู่ในระดับปานกลาง การขัดเงา อยู่ในระดับปานกลาง
การออกดอกและการติดผล(Flowering  and fruiting habit)
ออกดอกในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม - มกราคม ผลจะแก่จัดในระหว่างเดือนมีนาคม- พฤษภาคม
การใช้ประโยชน์(Usability)
เนื้อไม้ (wood) ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและการก่อสร้างทั่วไป ทำเรือ
ขุด เรือขนาดเล็ก ทำหีบ ถังใส่ปูนซิเมนต์ เครื่องเรือน ใช้ทำพื้น ฝา เพดาน รอด ตง แจว พาย
กรรเชียง ตัวถังเกวียน เมื่ออาบน้ำยาโดยถูกต้องจะมีความทนทาน
ดีขึ้นสามารถใช้งานได้ คงทนถาวรและใช้ทำไม้หมอนรองรถไฟได้ดี ทำไม้บาง ไม้อัด
ไม้ฟืน (wood fuel)ให้ค่าความร้อน 4,810 แคลลอรี่/ กรัม
ถ่านไม้ (Charcoal)
ให้ค่าความร้อน 6,055
แคลลอรี่/ กรัม
น้ำมัน
ที่ได้จากการเจาะต้นใช้ทาไม้ ยาแนวเรือทาเครื่องจักสาน ทำไต้ ใช้เดินเครื่องยนต์ แทนน้ำมันขี้โล้
สรรพคุณทางยา
เปลือกต้นรสฝาดเฝื่อนขม ต้มดื่มแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกายฟอก        โลหิต ใช้ทาถูนวด แก้ ปวดตามข้อ
เมล็ดใบรสฝาดร้อน ต้มใส่เกลืออมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน
ใบและยางรสฝาดขมร้อน รับประมานขับเลือด ตัดลูก(ทำให้เป็นหมัน
น้ำมันยางรสร้อนเมาขื่น ทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน รับประทานกล่อม เสมหะ ห้ามหนอง ใช้แอลกอฮอล์ 2 ส่วนกับน้ำมันยาง 1 ส่วน รับประทานขับปัสสาวะ รักษาแผลทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว แก้โรคทาง
เดินปัสสาวะ จิบขับเสมหะ ผสม เมล็ดกุยช่ายคั่วให้เกรียม บดอุดฟันแก้ฟันผุ
น้ำมันยางดิบ รสร้อนเมาขื่น ถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ ถ่ายกามโรค ถ่ายพยาธิใน ลำไส้
     ราคาซื้อขาย
   ราคาซื้อขายต้นยางนาในปัจจุบันถือว่าเป็นไม้ที่สามารถทำรายได้ไม่แพ้สักทอง..หรืออาจพูดได้ว่าทำราคาได้ดีกว่าสักทองด้วยซ้ำไป..เพราะราคาที่ซื้อไม้ยางนาในปัจจุบันซึ่งขาดตลาดเป็นอย่างมากและต้องนำเข้าจากประเทศเพี่อนบ้านเป็นจำนวนมาก  การซื้อขายไม้ยางนาขนาดอายุ15-20ปีราคาสูงอยู่ที่ต้นละ15,000บาทถึง25,000บาทต่อต้นเลยทีเดียว

จำหน่ายต้นกล้าพันธุ์ยางนาสายพันธุ์ดีคัดสรรเพื่อการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ สวนป่ายางนา...
สนใจติดต่อ"คุณไก่"
โทร. 095-4654546 หรือที่ 094-6465654 

ขอขอบคุณ สทท.อุบลราชธานี

Tags : ยางนา ไม้ยางนา ต้นยางนา กล้าพันธุ์ไม้ยางนา

ความคิดเห็น

  1. 111
    อาโน.
    อาโน. arno989@hotmail.com 01/06/2009 08:09
    ต้องการต้นกล้ายางนาจำนวนมาก ขนาด 80 cm. ขอทราบราคาและพร้อมส่ง ประมาณ 20,000 ต้นขึ้นไป
    {color=red}083-469-1260{/color}
  2. 112
    สุริยะ
    สุริยะ suriya@ucc.co.th 29/05/2009 23:21
    คุณ ไก่ ครับ

    ผมอยากปลูกบ้างครับ
    ที่บุรัรัมย์

    ประมาณ 100 ต้น

    ขอทราบราคา และรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยครับ

    สุริยะ

[Back]   1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11 12

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view