http://www.http://takuyak.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 23/05/2008
ปรับปรุง 13/01/2023
สถิติผู้เข้าชม5,781,839
Page Views7,095,821
สินค้าทั้งหมด 5
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
โลกร้อน หายนะมวลมนุษยชาติ
มิติธรรมชาติ
เศรษฐพอเพียง
สักทองพืชทำเงินที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
"ต้นยางนา" พืชสร้างเงินที่ไม่ธรรมดา
"ไม้ยูคาลิปตัส"ความต้องการใช้ที่มีอย่างต่อเนื่อง
ไม้พยุง ไม้เงินล้านวันนี้ราคาพุ่งแรงแซงไม่หยุด
เปิดคลังไอเดียพืชทำเงิน
ราคาทอง
ราคาน้ำมัน
พยากรณ์อากาศ
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
ทีวีผ่านเน็ต
ศูนย์รวมสมุนไพรทุกชนิด
เพื่อนบ้านทั้งหมด
 

ตะกูยักษ์...พีชทำเงินที่มาแรงสร้างรายได้เหลือเชื่อ

ตะกูยักษ์...พีชทำเงินที่มาแรงสร้างรายได้เหลือเชื่อ

 ต้นตะกู

       การปลูกไม้โตเร็วในประเทศไทย ในส่วนของผู้ผลิตไม้เศรษฐกิจโตเร็วในไทยแล้ว มีเกษตรกรและผู้สนใจที่ตะหนักถึงช่องว่างทางการตลาดและมองเห็นว่าเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ ได้ทำการปลูกไม้เศรษฐกิจโตเร็วจำนวนมาก เช่น ยูคาลิปตัส  เพื่อแปรรูปใช้งาน แต่ปลูกยูคาลิปตัสแล้วทำให้ดินเสื่อมสภาพ  หากกลับมาปลูกพืชดังเดิมหรือพืชชนิดอื่นจะได้ผลผลิตไม่ดีเท่าเดิม  จึงได้ชะลอการปลูกไปก่อน  โดยหันมามองไม้โตเร็วชนิดอื่นที่คิดว่าจะดีกว่า แต่การปลูกไม้ดังกล่าวส่วนหนึ่งจะพบปัญหาต่างกันไป เช่นเพาโลเนีย เป็นไม้เมืองหนาว เมื่อนำมาปลูกในไทยก็มีปัญหาเรื่องดินฟ้าอากาศที่ไม่เหมาะสมและดูแลยาก ทำให้ไม่ได้คุณภาพตามที่คาดหวังไว้  กรณีไม้ยมหอมที่มีปัญหาเรื่องหนอนกินยอดอย่างรุนแรง ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ ข้อมูลปัญหาที่พบเหล่านี้เกษตรกรส่วนมากจะพบปัญหาด้วยตัวเอง เนื่องจากไม่มีข้อมูลเรื่องอุปสรรคและปัญหาของไม้ที่ควรจะได้รับรู้ในการตัดสินใจก่อนปลูก เมื่อมีการทดลองและศึกษาข้อมูลในแปลงทดลอง ทำให้รู้ถึงศักยภาพของตะกู เป็นอย่างมาก เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตของตะกูในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งในแนวตั้งและแนวเส้นผ่าศูนย์กลางเจริญเติบโตได้ดีมาก ตะกูจึงเป็นไม้อีกชนิดหนึ่งที่สามารถจัดเป็นไม้เศรษฐกิจโตเร็วในอนาคตได้ แต่เนื่องจากแหล่งต้นใหญ่ ต้นกล้าหรือแหล่งเพาะพันธุ์มีน้อย  เพาะพันธุ์ได้ยาก จึงทำให้เกษตรกรไม่ทราบว่าจะหากล้าพันธุ์ได้ที่ใด รวมถึงข้อมูลที่ยังทราบกันอยู่ในกลุ่มแคบ ๆ ต้นตะกูเป็นไม้ยืนต้นซึ่งใกล้จะสูญพันธุ์จากประเทศไทยแล้ว เป็นไม้มงคล  โบราณเชื่อว่าจะขึ้นเป็นคู่ ๆ ในอาณาเขตบ้านของผู้มีบุญ  ปัจจุบันกรมป่าไม้จัดไม้ตะกูเป็นหนึ่งในไม้ป่ายืนต้นที่ปลูกทางด้านเศรษฐกิจของไทยอันดับที่ 21 ( เป็น 1 ใน 60 ชนิด ) เป็นไม้ที่เหมาะกับการปลูกป่าใหม่ที่ให้ผลเร็ว เป็นไม้โตเร็ว ลำต้นเปลาตรง มีขนาดใหญ่ ได้เนื้อไม้มาก  ส่วนเสียน้อย  ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ทดแทนไม้สัก ซึ่งเป็นไม้หวงห้าม เจริญเติบโตช้า เนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณไม้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด จึงต้องนำเข้าไม้แปรรูปจากต่างประเทศปีละกว่า 50,000  ล้านบาท ทำให้ขาดดุลการค้าทุกปี  การปลูกต้นตะกูจึงนับเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของการปลูกป่าใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งทางสิ่งแวดล้อมและทางเศรษฐกิจของไทยได้เร็วที่สุด

ลักษณะต้นตะกู

                เป็นไม้ที่มีลำต้นสูงใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สูง 15 30 เมตร เนื้อละเอียดสีเหลืองนวล แข็งแรง น้ำหนักเบา เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระเป็นร่องละเอียดตามแนวลำต้น  กิ่งแตกเป็นแนวทำมุมกับพื้นดิน วางตำแหน่งเป็นคู่ ในตำแหน่งตรงข้ามกันเป็นช่วง ๆ ตามแนวลำต้น แต่ละช่วงสลับกัน ใบเป็นใบเดี่ยวทรงรีคล้ายใบสัก ผิวเนียนละเอียด แผ่นใบด้านบนมีขนสาก ๆ และมีสีเข้ม ส่วนท้องใบจะมีขนสั้น ๆ แทบมองไม่เป็น แต่สัมผัสนุ่มมืออยู่ด้านล่าง เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เป็นเส้นใบชัดทั้งสองด้าน ใบมีกลิ่นหอม  ดอกมีสีเขียวอมเหลืองเมื่อแก่จะเป็นสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม กลุ่มดอกลักษณะกลมใหญ่ ประมาณ 3.5 7 เซนติเมตร จะออกในตำแหน่งปลายกิ่ง ในกลุ่มดอกมีกลีบดอกอัดแน่นจำนวนมากแต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบหยักมนและแผ่ออกเล็กน้อย ใต้กลีบดอกมีกระเปาะเมล็ด 5 กระเปาะ มีเมล็ดข้างใน เมื่อผลแก่เต็มที่จะร่วงลงตามธรรมชาติ เริ่มออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4 ปี สำหรับต้นที่โตเต็มที่แล้วจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายน กันยายน ผลรวมอุ้มน้ำ เกิดจากวงกลีบรองดอกของแต่ละดอกเชื่อมติดต่อกันโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก มีขนาดความโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 6 เซนติเมตร

การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา

                ไม้ตะกูพบในอินเดีย  เนปาล  ไทย  พม่า  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย ฯลฯ  เชื่อว่าเป็นไม้ที่มีขอบเขตการกระจายพันธุ์กว้างชนิดหนึ่ง โดยกระจายพันธุ์จากเนปาลและอัสสัมมาทางทิศตะวันออกจนถึงแถบอินโดจีน และกระจายพันธุ์ลงไปทางใต้แถบมาเลเซีย  อินโดนีเซีย  จนกระทั่งถึงหมู่เกาะนิวกินี  สามารถขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบริมทะเลไปจนถึงระดับความสูง 1,500 เมตร  ปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000 5,000  มิลลิเมตร ในประเทศไทยมีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยมักพบขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดั้งเดิมที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งไว้หรือสองข้างถนนที่ตัดผ่านป่าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น  สามารถตัดให้แตกหน่อได้ดี  จึงเป็นความหวังในอนาคตที่จะปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกูเพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้แผ่นขนาดเล็ก ไม้ท่อน และทำเยื่อกระดาษ  โดยใช้รอบตัดฟันเพียง 5 10 ปี และนับว่าเป็นไม้เศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดชนิดหนึ่ง

ชื่ออื่น ๆ ของต้นตะกู

                กระทุ่ม ( มาจากคำว่า กทัมพ ในภาษาบาลี )

                ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocepalus  chinensis ( Lamk.)  A.Rich.ex Walp.

                ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

                กรุงเทพฯ เรียก กระทุ่ม , กระทุ่มบก

                ภาคเหนือ เรียก ตุ้มหลวง , ตุ้มก้านซ้วง , ตุ้มก้านยาว

                กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน เรียก ปะแด๊ะ  , เปอแด๊ะ , สะพรั่ง

                ขอนแก่น  เรียก ตุ้มพราย , ทุ่มพราย

                สุโขทัย  จันทบุรี  นครศรีธรรมราช เรียก ตะกู

                ภาคตะวันออก เรียก แคแสง , ตะโกส้ม , ตะโกใหญ่

                ภาคใต้ เรียก  ตุ้มขี้หมู , โกหว่า , กลองประหยัน

                ในเมืองไทยพบได้หลายหลายสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ จะมีลักษณะดอกและใบที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย บางสายพันธุ์ก็เติบโตได้แต่เฉพาะในที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่บางสายพันธุ์ก็สามารถเติบโตได้ทั้งที่ใกล้น้ำและที่แล้ง  การลงทุนปลูกต้องเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตเร็ว และจะให้ดีควรเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ เช่นตะกูก้านแดง  ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทางเราแนะนำ เนื่องจากมีการวิจัยและคัดเลือกสายพันธุ์มาแล้ว  ต้นกล้าที่ได้จะเป็นต้นพันธุ์คุณภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งไม้ที่คุ้มค่าสร้างผลกำไรที่แน่นอนต่อผู้ปลูก

                                                                                                                 

เนื้อไม้

                เป็นไม้ที่มีสีเหลืองนวล  แข็งแรง ทนทาน เนื้อละเอียด  น้ำหนักเบา  มีความเหนียว ไม่แตกหักง่าย ขึ้นรูปง่าย  คุณสมบัติพิเศษของต้นตะกูอีกอย่าง คือ ปลวกหรือมอดไม้ไม่กินเหมือนไม้สัก  จึงนิยมนำมาสร้างบ้าน ทำไม้พื้น  ไม้กระดาน  เสาบ้าน  ประตู  หน้าต่าง  วงกบ  เหมาะสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์  เครื่องเรือน  เครื่องใช้ในบ้าน ง่ายต่อการทำการแปรรูป ถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง จึงถูกนำมาแกะสลักเป็นรูปเคารพต่าง ๆ สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ถูกจัดเป็นไม้มงคล เพราะในอินเดียเชื่อกันว่าเป็นต้นไม้ที่โปรดปรานของพระกฤษณะ  และชาวอินเดียนิยมนำดอกตะกูไปใช้ในการบูชาเทพเจ้า และยังนิยมนำดอกตะกูไปสกัดเพื่อเป็นส่วนประกอบของหัวน้ำหอม และเนื่องจากไม้มีลำต้นสูงเปลา สามารถแปรรูปได้ไม้หน้าใหญ่และยาว

                                                                                                                

ลักษณะเด่นของตะกู

1.    โตเร็ว  แปรรูปได้ปริมาณไม้ต่อต้นสูง

2.    สามารถอยู่รอดได้ในพื้นที่น้ำท่วมขัง และสามารถเจริญเติบโตได้เมื่อไม้ฟื้นตัวหลังน้ำลด

3.    ทนแล้ง

4.    มีการงอกขึ้นใหม่ได้อีกจากโคนเดิมหลังจากการตัดฟัน ซึ่งเป็นลักษณะของไม้โตเร็ว ทำให้ผู้ปลูกไม่ต้องลงทุนในการปลูกต้นกล้าอีกในหลายรอบ

5.    เป็นไม้ที่มีลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มแคบ ๆ  เปลืองพื้นที่ในการปลูกน้อย จึงปลูกต่อไร่ได้จำนวนมาก

6.    ปลูกได้ในทุกที่ สามารถช่วยให้ความชุ่มชื้น ฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำป่าน้อยลง

7.    เนื้อไม้เนียน  ละเอียด  สวย  เนื้อไม้มีปริมาณมาก สามารถทำเฟอร์นิเจอร์ได้ทุกชนิดทั้งชิ้นใหญ่และชิ้นเล็ก

8.    ปลวกและมอดไม่กินเหมือนไม้สัก

ขั้นตอนการปลูกต้นตะกู

                ปลูกด้วยกล้าพันธุ์ สูงประมาณ 5 นิ้ว ขุดหลุมกว้าง 30 x 30  เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร หากเป็นพื้นที่ลูกรังควรขุดหลุมกว้าง 40 x 40 เซนติเมตร จากนั้นตากแดดทิ้งไว้สักระยะเพื่อฆ่าเชื้อ  ควรใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ๆ ละ 250 300  กรัม ขณะนำต้นตะกูลงปลูก ระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตกในขณะฉีกถุง  กลบดินให้แน่น อย่าให้น้ำขังบริเวณหลุม  ควรใช้ไม้ค้ำขวางลมผูกเชือกยึดติดกับไม้ค้ำ เพื่อป้องกันต้นล้ม ระยะเริ่มปลูกถึง 2 เดือน ควรดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้ต้นกล้าไม่ชะงัก การเจริญเติบโตพอต้นไม้อายุประมาณ 5 เดือน สูงประมาณ 5 เมตร

การใส่ปุ๋ย ( เพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น )

ปีที่ 1

-         ครั้งที่ 1 หลังจากการปลูกลงดิน 1 เดือน

-         ครั้งที่ 2 ช่วงปลายฤดูฝนแรก หลังจากปลูกลงดินไว้ ( ช่วงเดือนกันยายน ตุลาคม )

ปีที่ 2 – 5

-         ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน ( เดือนพฤษภาคม )

-         ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน ( เดือนกันยายน ตุลาคม )

พื้นที่สำหรับปลูก

                ต้นตะกูสามารถปลูกได้ไร่ละประมาณ 120 ต้นขึ้นไป   โดยดูตามสภาพพื้นที่เพาะปลูก  พื้นราบ การปลูก 3 x 3 เมตร ( ระยะด้านห่าง 3 เมตร ระยะแถว 3 เมตร ) เนินเขา  การปลูก 3 x 3 เมตร ( ระยะด้านห่าง 3 เมตร ระยะแถว 5 เมตร )

การดูแลรักษา

                ต้นตะกูสามารถหาอาหารเองได้ การดูแลรักษาจึงไม่ยุ่งยากใด ๆ เพียงแค่ช่วง 5 เดือนแรกหลังจากปลูกลงดินที่ต้องให้น้ำบ้าง  หลังจากนั้นก็แค่ใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น  แต่สิ่งที่ควรระมัดระวังในระยะเริ่มปลูกปีที่ 1 2  ควรหาวิธีป้องกันไม่ให้สัตว์กินพืชเข้าไปในแปลง เพราะอาจเข้าไปกัดกินยอดและใบของต้นตะกูได้ ส่วนโรคและแมลงที่ผ่านมาในประเทศไทย ยังไม่เคยมีรายงานความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงใด ๆ ในช่วง 3 ปีแรกจะต้องทำการดูแล ให้ตะกูได้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอเป็นการเร่งผลผลิตและปริมาณเนื้อไม้ เพื่อให้ตะกูมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าการปลูกตามธรรมชาติ ควรให้ปุ๋ยทุก 4 เดือนในระยะแรก และให้ปุ๋ยปีละ 2 ครั้งก่อนและหลังหน้าฝน  เมื่อไม้อายุ 2 ปีขึ้นไป ในช่วงแรกที่ต้นตะกูยังไม่โต ให้ทำการดายวัชพืช ไม่ให้วัชพืชสูงคลุมต้นกล้า  เมื่อต้นไม้สูงพ้นวัชพืชแล้ว ทำการดายวัชพืชรอบโคนต้นปีละครั้งก็เพียงพอ  ในช่วงระยะที่เจริญเติบโตตะกูสามารถลิดกิ่งได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่มีความจำเป็นในการลิดกิ่งเหมือนป่าชนิดอื่น ๆ

                หากต้องการปลูกเพื่อเป็นธุรกิจอย่างจริงจัง  การปลูกแบบนี้จะทำให้ได้ผลผลิตที่ได้คุณภาพและให้ผลตอบแทนเร็วกว่าปกติ  เนื่องจากสามารถควบคุมไม้ให้มีคุณภาพดี สามารถควบคุมแปลงปลูกทั้งในเรื่องจำนวนการปลูก  การให้ปุ๋ย และการดูแล  โดยจะทำการตัดโค่น เพื่อทำกำไรช่วงแรกในปีที่ 5 จำนวนหนึ่ง เพื่อให้ไม้ที่เหลืออยู่มีระยะห่างพื้นที่ในการเจริญเติบโต

                การปลูกแบบนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะไม่ต้องดูแลหรือบำรุงรักษามาก เพียงแค่ดูแลเมื่อแรกลงกล้าพันธุ์ไม้จนกระทั่งแน่ใจว่าไม้อยู่รอดแล้ว จากนั้นก็ปล่อยให้เจริญเติบโตตามสภาพแวดล้อม

                สามารถปลูกได้ตามระยะรอบแนวที่เพื่อเป็นแนวเขต เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเมื่อถึงระยะการตัดโค่นแล้วก็จะได้ผลตอบแทนจากการขายไม้พอสมควร

 

บทวิเคราะห์การลงทุน วงรอบ 25 ปี

 

ประเภทการลงทุน

งบลงทุน

เริ่มรับรู้รายได้

ยอดรวมรายได้

รายได้สุทธิ

เฉลี่ยรายได้ต่อปี

การดูแลรักษา

ปลูกไม้ยางพารา

38,000.-

ปีที่ 7

287,000.-

249,000.-

9,960.-

ต้องควบคุมรายได้เอง

ปลูกปาล์มน้ำมัน

26,500.-

ปีที่ 3

606,000.-

579,500.-

23,180.-

ต้องควบคุมรายได้เอง

ปลูกไม้ยูคาลิปตัส

42,000.-

ปีที่ 5

142,500.-

100,500.-

4,020.-

ควบคุมเองเมื่อตัดโค่น

ปลูกไม้ตะกู

21,500.-

ปีที่ 3

946,400.-

924,900.-

36,996.-

ควบคุมเองเมื่อตัดโค่น

 

  ข้อมูลอ้างอิง

  กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

  ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

 

สรุป                        บทวิเคราะห์นี้แสดงรายได้โดยประมาณต่อพื้นที่ 1 ไร่ต่อวงรอบ 25 ปี         ประมาณการอ้างอิงจากสถานการณ์ราคาในปัจจุบันที่ท้ายเอกสาร

"ตะกูยักษ์" สายพันธุ์ก้านแดงราคาเริ่มต้นที่1บาทกว่าๆ    จำหน่ายเมล็ดพันตะกูยักษ์สายพันธุ์ก้านแดงจำนวนมากราคาไม่แพงที่สำคัญเป็นเมล็พันธุ์ที่เก็บปีนี้ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้ามปีแบบผู้จำหน่ายอื่นเปอร์เซ็นต์การงอกสูงมาก.....สนใจติดต่อคุณไก่..081-2839267

      

ความคิดเห็น

  1. 11
    unicon53002
    unicon53002 union53002@gmail.co.th 31/08/2010 12:56
    ต้นตะกูสามารถ ใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียวได้ไหมครับ
  2. 12
    อ.ชอบ  อินทร์ชม
    อ.ชอบ อินทร์ชม chobservice@gmail.com 16/06/2008 22:21
    รายนี้ดีมากครับดีมากมาก {icon1} {icon1}
    ข้อความพิเศษต้นตะกู
    28-01-2008 Views: 3096
    ในปัจจุบันสถานการณ์การขาดแคลนไม้ทั้งในเมืองไทยและตลาดโลกทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุมาจากการใช้ไม้จำนวนมหาศาลของประชากรโลก ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้จากอดีตจนถึง ปัจจุบัน มีการตัดไม้ธรรมชาติเพื่อนำมาสนองความต้องการ ในการใช้ประโยชน์จากไม้ของมนุษย์ตลอดมา จนเมื่อมาถึงจุดวิกฤติ หลายประเทศได้มีการห้ามตัดไม้ธรรมชาติเพื่อนำมาใช้งาน เช่น ประเทศไทยมีการออกกฏหมายห้ามตัดไม้ในปี พศ. 2532 , ส่วนประเทศในแถบยุโรป, สหรัฐอเมริกา ,แคนนาดา, และสแกนดิเนเวีย หลายประเทศออกกฏหมายห้ามตัดไม้มานานหลายสิบปี เมื่อการห้ามตัดไม้เกิดขึ้น ทางออกของการแก้ปัญหา ที่จะตอบสนองอุปสงค์จำนวนมหาศาลเหล่านี้จึงมีอยู่ทางเดียวคือการปลูกไม้ขึ้นเองเพื่อใช้งาน ซึ่งทำให้ในหลายประเทศมีการพัฒนาอุตสาหกรรมสวนป่าเศรษฐกิจขึ้นอย่างมั่นคง โดยได้รับการนับสนุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน มีการพัฒนากระบวนการการผลิตอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ทั้งในด้านสายพันธุ์พืชและในเรื่องกรรมวิธีการปลูกและดูแลรักษา ต่อเนื่องไปจนถึงเทคโนโลยีในการแปรรูป และการผลิตสินค้าและลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการใช้ไม้ในตลาดโลกได้ทันเวลานั้น หลายประเทศจึงศึกษาและเสาะแสวงหาพันธุ์ไม้โตเร็วที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตได้ดี เหมาะกับภูมิประเทศและสภาพอากาศในพื้นที่ประเทศนั้นๆ โดยเนื้อไม้สามารถตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจได้ ตัวอย่างเช่นไม้สน, มะฮอกกานี,ไม้เพาโลเนีย,ยูคาลิปตัส เป็นต้น ในประเทศไทยนับจากมีการปิดป่าถานการณ์ความเดือดร้อนเนื่องจากการขาดแคลนไม้ใน ตลาดมีเพิ่มมากขึ้นและมีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการวิเคราะห์ตัวเลขการนำเข้าไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ จากต่างประเทศที่มีมากถึงประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท และเป็นตัวเลขการนำเข้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากคำกล่าวของ นายธานี วิริยะรัตนพร รองอธิบดีกรมป่าไม้ เมื่อหลายปีที่ผ่านมา กล่าวถึงสถานการณ์ไม้เศรษฐกิจว่าหลังจากที่รัฐบาลประกาศยกเลิกสัมปทานป่าไม้ในประเทศไทย ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไม้บางส่วนต้องนำเข้าไม้จากต่างประเทศมูลค่าสูงถึงปีละ 50,000 ล้านบาท ตัวเลขการนำเข้าไม้จากต่างประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ถ้าเราไม่หาทางออกไว้แต่เนิ่นๆ เชื่อว่าในอนาคตไทยต้องเจอวิกฤติขาดแคลนไม้เศรษฐกิจแน่ และเมื่อพิจารณาไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้ต่างๆ ที่มีการนำเข้ามาในไทย ส่วนหนึ่งจะนำเข้า จากประเทศที่ยังคงมีทรัพยากรป่าธรรมชาติหลงเหลืออยู่ แต่ก็มีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยในอนาคตไม้ที่จะนำเข้ามาในประเทศจะมาจากกลุ่มประเทศที่มีการทำอุตสาหกรรม สวนป่าเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา, แคนนาดา, กลุ่มประเทศทางสแกนดินีเวีย เป็นต้น ในปัจจุบันการผลิตไม้เพื่อใช้แปรรูปในเมืองไทยมีเพียงไม้ยางพาราแปรรูปเท่านั้นที่มีปริมาณในตลาด ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการตัดโค่นยางพาราที่หมดอายุน้ำยางโดยสามารถผลิต ป้อนตลาดไม้แปรรูปในประเทศและส่งออกได้ระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นปริมาณที่ไม่พอเพียงเมื่อเทียบกับตัวเลขการนำเข้าในแต่ละปี แม้ว่ามีการทะยอยโค่นตัดไม้ยางพาราจำหน่ายสำหรับแปรรูปเพื่อทำสินค้าและผลิตภัณฑ์,เครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ แต่ปริมาณไม้ยางพาราแปรรูปก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด สาเหตุมาจากไม้ยางพาราแปรรูปที่ผลิตได้ ส่วนมากจะทำการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเช่น จีน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ เวียตนาม,ญี่ปุ่น เป็นต้น เนื่องจากราคาไม้แปรรูปที่ส่งไปยังประเทศดังกล่าว มีราคารับซื้อที่สูงกว่าในประเทศ แต่ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ต้องใช้ไม้ในประเทศกลับประสบปัญหาขาดแคลนไม้ใช้งาน โดยอีก ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปริมาณไม้ยางพารามีการขาดแคลนและมีความผันผวนก็คือถ้าราคาน้ำยางพาราในตลาดมีราคาสูง เกษตรกรจะชะลอการตัดโค่นไม้เพื่อแปรรูปในระยะที่กำลังจะหมดน้ำยางและหันมาขายน้ำยางแทน โดยในกรณีนี้เมื่อต้นยางอายุมากถึงจุดหนึ่ง จะถึงอายุที่ต้นยางพาราจะให้น้ำยางในปริมาณน้อยและจะลดลงเรื่อยๆเกษตรกรจะทำการตัดโค่นต้นยางพาราเพื่อขายไม้ แต่หากในช่วงดังกล่าวราคาน้ำยางในตลาดราคาดี เกษตรกรก็จะชะลอการตัดโค่น หันมาขายน้ำยางอีกระยะหนึ่งก่อน ทำให้จำนวนไม้ ที่ต้องแปรรูปเพื่อป้อนตลาดนั้นชะลอตัวและมีปริมาณลดลง จะเห็นได้ว่าแม้ปริมาณการ ปลูกยางพาราในประเทศจะมีมากก็ตาม แต่ภาวะการขาดแคลนไม้ก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไม้ยางพาราไม่ใช่ไม้สวนป่าโดยตรง แต่การแปรรูปไม้ยางพาราเป็นเพียงผลพลอยได้ของการปลูกสวนยาง เพื่อใช้น้ำยางเท่านั้นระยะตัดฟันที่แท้จริงต้องรอให้ไม้หมดน้ำยางประมาณอายุตั้งแต่ 25-30 ปีขึ้นไป ซึ่งใช้ระยะเวลาวงจรการโค่นตัดเป็นเวลานาน และให้ผลผลิตเนื้อไม้ต่อไร่ไม่สูงนัก สถานการณ์การขาดแคลนไม้ในปัจจุบัน มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตในวงกว้าง แม้กระทั่งสมาคมผู้ผลิตเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย ที่เคยใช้ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนส่งออก ยังพิจารณาการทำข้อตกลงนำเข้าไม้หลากชนิดจากสหรัฐอเมริกาแทน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้ ส่วนไม้เบญจพรรณและไม้ชนิดอื่น ก็มีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบสัดส่วนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถทำส่วนแบ่งการตลาดได้เพราะไม่มีปริมาณไม้ในมือ



    ปลูกแล้วรวยครับเนื่องจากไม้เมืองไทยหมดแล้วครับ
    การปลูกต้นตะกูแบบสมบูรณ์ครับ (ไม้เมืองไทยหมดแล้วครับพี่ ๆ ๆ เพื่อนชาวสวน)
    การปลูก ควรปลูกต้นฤดูฝน ระยะปลูก 4 x 4 ปลูกได้ประมาณไร่ล่ะ 100 ต้นหรือ 150- 170 ต้นครับ ปลูกเพื่อขาย หลุมปลูกมีขนาด 30×30 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยอินทรีย์สูตรพิเศษ รองก้นหลุมๆละ 250-300 กรัม คลุกเคล้าให้ทั่วหลุม แล้วนำต้นตะกูลงไปปลูกในหลุม โดยให้ระมัดระวังขณะฉีกถุงอย่าให้ดินในถุงแตก หลังขากนั้นให้กลบดินให้แน่น อย่าให้เป็นแอ่งหรือน้ำแฉะขังบริเวณหลุมปลูก และใช้ไม้ค้ำขวางลมผูกเชือกยึดติดกับไม้ค้ำ
    การใส่ปุ๋ย
    ปีที่ 1 - หลังจากปลูก 1 เดือน ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 300 กรัม- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 400 กรัม
    ปีที่ 2 - ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 350-400- ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 400 กรัม
    ปีที่ 3-5
    - ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 500 กรัม
    - ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 500 กรัม
    ปีที่ 6 ขึ้นไป ให้ตัดต้นเว้นต้น เพื่อให้ต้นตะกูมีขนาดที่ใหญ่ออกทางด้านข้าง และมีเนื้อไม้ที่แข็งแรงการใส่ปุ๋ยให้ใส่
    - ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัม
    - ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน (เดือนกันยายน - ตุลาคม ) ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 12-4-7 อัตราต้นละ 1 กิโลกรัม
    การดูแลรักษา
    นอกจากการใส่ปุ๋ยตามที่กำหนด สิ่งที่ควรระมัดระวังในระยะเริ่มปลูกปีที่1-2 ควรหาวิธีป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย แพะ และแกะ ซึ่งเป็นสัตว์กินพืช เข้าไปในแปลงปลูกต้นตะกู เพราะอาจเข้าไปกินใบต้นตะกูได้ และอาจทำความเสียหายได้ถึง 60% ส่วนโรคและแมลงที่ผ่านมายังไม่มีรายงานความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงกรณีที่ต้นตะกูมีอายุได้ 5 ปี เพื่อให้ต้นตะกูมีคุณภาพควรตัดต้นเว้นต้น เพื่อให้ต้นตะกูที่เหลือมีการเจริญเติบโตในด้านความหนาของลำต้น และความแข็งแรงของเนื้อไม้ โดยเฉพาะคุณภาพเนื้อไม้ของต้นตะกูจะมีคุณภาพใกล้เคียงกับไม้สักทองคุณสมบัติต้นตะกู เป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ โตเร็วมาก มีเนื้อไม้ที่ละเอียดแน่นไม่บิดงอง่าย มีน้ำหนักใกล้เคียงกับไม้สักแต่จะเบากว่าเล็กน้อย อายุ 5 ปีขึ้นไป สามารถแปรรูปทำเฟอร์นิเจอร์ได้หลากหลาย เช่น เก้าอี้ โซฟา โต๊ะ พื้นกระดาน ฝาบ้าน ลังใส่ของคุณสมบัติพิเศษ คือ ปลูกง่าย โตเร็ว หากมีอายุ 1 ปีขึ้นไป จะทนต่อภาวะน้ำท่วมและไฟป่า สำคัญปลวกมอดไม่กิน ส่วนโรคและแมลงที่ผ่านมายังไม่มีรายงานความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงกรณีที่ต้นตะกูมีอายุได้ 5 ปี เพื่อให้ต้นตะกูมีคุณภาพควรตัดต้นเว้นต้น เพื่อให้ต้นตะกูที่เหลือมีการเจริญเติบโตในด้านความหนาของลำต้น และความแข็งแรงของเนื้อไม้ โดยเฉพาะคุณภาพเนื้อไม้ของต้นตะกูจะมีคุณภาพใกล้เคียงกับไม้สักทองคุณสมบัติต้นตะกู เป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ โตเร็วมาก มีเนื้อไม้ที่ละเอียดแน่นไม่บิดงอง่าย มีน้ำหนักใกล้เคียงกับไม้
    ตะกู ที่เก็บจากต้นมา 1 ลูก สามารถเพาะให้เป็นต้นกล้าได้หลายร้อยถึงหลายพันต้น ในจำนวนนี้ส่วนมากจะเป็นก้านแดง และ จำนวนน้อยก้านมันก็จะเหลืองขาวเขียว เป็นธรรมชาติ แต่เมื่อตะกูสูง 4-5 เมตรแล้วก้านแดง ๆ ที่คุณเคยเห็นตอนเล็กมันก็จะหมดไปมันจะเขียวทั้งหมดจะเหลือที่แดงก็ที่ยอดอ่อนที่แตกออกมาใหม่ ดังนั้นตะกูจริง ๆ เมื่อเติบใหญ่มันก็จะเขียว สวยงาม และเปลี่ยนข้อมูลกันได้ครับ

    อ.ชอบ 081-906-5549 081-915-9209 จ.นนทบุรี
    มีกล้าพันธ์ขายครับก้านแดงต้นละ 6 บาทครับสูง 8-10 นิ้วครับสั่งครับ ผม ปลูกแล้ว 100 ไร่ครับ
    จ.เพชรบูรณ์ครับ
    เมื่อปลูกครบ 5 ปี
    ต้นตะกูจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่ต่ำกว่าสามสิบเซ็นและสูงไม่ต่ำกว่าสิบเมตร จะทำให้ตะกูมีเนื้อไม้ 2.5 คิว ปัจจุบันราคาไม้ คิวละ 2,500 บาท ไม้ตะกูมีความหนาแน่นของเนื้อไม้อยู่ที่ 0.5 และไม้สักทองมีเนื้อไม้อยู่ที่ 0.56 ซึ่งใกล้เคียงกันมาก สีเนื้อไม้ก็ใกล้เคียงกัน ปลูก 1 ครั้ง ตัดได้ 3 เที่ยว ครับ
[Back]   1 2

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view