http://www.http://takuyak.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 23/05/2008
ปรับปรุง 13/01/2023
สถิติผู้เข้าชม5,781,407
Page Views7,095,346
สินค้าทั้งหมด 5
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
โลกร้อน หายนะมวลมนุษยชาติ
มิติธรรมชาติ
เศรษฐพอเพียง
สักทองพืชทำเงินที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
"ต้นยางนา" พืชสร้างเงินที่ไม่ธรรมดา
"ไม้ยูคาลิปตัส"ความต้องการใช้ที่มีอย่างต่อเนื่อง
ไม้พยุง ไม้เงินล้านวันนี้ราคาพุ่งแรงแซงไม่หยุด
เปิดคลังไอเดียพืชทำเงิน
ราคาทอง
ราคาน้ำมัน
พยากรณ์อากาศ
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
ทีวีผ่านเน็ต
ศูนย์รวมสมุนไพรทุกชนิด
เพื่อนบ้านทั้งหมด
 

ขยายความ "ความเข้าใจเรื่องสวนป่าเอกชน"

ขยายความ "ความเข้าใจเรื่องสวนป่าเอกชน"

   ขยายความ "ความเข้าใจเรื่องสวนป่าเอกชน"

            ตามมาตรา 47 พ.ร.บ. ป่าไม้ 2484 ไม้สักและไม้ยางไม่ว่าจะขึ้นอยู่ หรือปลูกขึ้น ณ ที่ใด ๆ (ที่ป่าหรือที่ดินกรรมสิทธิ์ก็ตาม) เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก มิใช่ทรัพย์สินส่วนควบของดินใด ๆ การตัด การแปรรูป การนำเคลื่อนที่ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าปลูกขึ้นมาเองบนที่ดินกรรมสิทธิ์ใด ๆ ก็ตาม ต้องได้รับอนุญาต แต่เพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับ ประชาชนที่จะประกอบการปลูกป่าเป็นอาชีพ จะต้องนำที่ดินไปขึ้นทะเบียนสวนป่า ตาม พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 5 ไม้สักและไม้ยางและไม้หวงห้ามอีก 171 ชนิด ก็จะได้รับสิทธิในการคุ้มครองสิทธิ์ของประชาชนเจ้าของที่ดินและสวนป่านั้น ๆ จึงจะนำที่ดินมาขึ้นทะเบียนสวนป่าได้ ไม้อื่น ๆ ในป่า (นอกประเภทหวงห้าม) เป็นทรัพย์สินส่วนควบของที่ดินกรรมสิทธิ์ จึงไม่จำเป็นต้องนำที่ดินไปขึ้นทะเบียนสวนป่าแต่อย่างใด จะตัด แปรรูป หรือนำเคลื่อนที่ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อนำเคลื่อนที่ออกนอกที่ดินหากมีเจ้าหน้าที่ตรวจจับก็จะพิสูจน์ได้ยากกว่าเป็นไม้ในดินกรรมสิทธิ์ ความไม่สะดวกจึงเกิดขึ้นกับประชาชนแสดงสิทธิไม่ได้ พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 จึงคุ้มครองเฉพาะไม้สักและยางและไม้หวงห้ามอีก 171ชนิด ให้กับประชาชน เพราะว่าไม้อื่น ๆ กลายเป็นทรัพย์สินส่วนควบของที่ดินไป ข้อความตรงนี้แสดงให้เห็นว่า พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535ไม่ครอบคลุมผลประโยชน์ของประชาชนเท่าที่ควร โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นไม้นอกประเภทหวงห้าม หรือไม้ต่างประเทศที่ปลูกนอกที่ดินกรรมสิทธิ์ คือ ปลูกในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ กรณีเช่นนี้ประชาชนจะต้องไปปฎิบัติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 15 ประชาชนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงเสียสิทธิพึงได้ไป โดยเฉพาะการปลูกไม้โตเร็วที่มีอายุการตัดขายได้ในระยะสั้น ใช้ต้นทุนน้อย เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถินเทพา ไม้กระถินออราโคคาร์ปา (หรือกระถินณรงค์ต้นตรงพันธุ์ใหม่)
 

 

           ประเภทของที่ดินที่จะนำมาขอขึ้นทะเบียนสวนป่า ตามพ.ร.บ.นี้ได้ต้องเป็นประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้นะคะ คือ 
1.
ที่ดินที่มีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

2.
ที่ดินที่มีหนังสือของทางราชการรับรองว่า ที่ดินดังกล่าว อยู่ในระยะเวลาที่อาจขอรับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรบรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ เนื่องจากได้มีการครอบครองและเข้าทำกินในดินดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพไว้แล้ว
3.
ที่ดินในเขตปฎิรูปที่ดินตามกฎหมายว่าดัวยการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่มีหลักฐานการอนุญาตการเช่าหรือเช่าซื้อ
4.
ที่ดินที่มีหนังสืออนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ ให้บุคคลเข้าปลูกป่าในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ หรือเข้าปลูกสร้างสวนป่า หรือไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรม
5.
ที่ดินที่ได้ดำเนินการเพื่อปลูกป่าอยู่แล้วโดยทบวงการเมือง รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
 

 

              พ.ร.บ.ที่ดินทั้ง 5 ข้อดังกล่าวข้างต้น ขาดไปส่วนหนึ่งที่ทำให้เสียผลประประโยชน์ของประชาชนไปได้คือ ที่ดินตามพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 ซึ่งสามารถขออนุญาตปลูกป่าไม้ตามมาตรา 54 ซึ่งนำไปขึ้นทะเบียนสวนป่าไม่ได้เว้นแต่จะตราลงไปเป็นข้อ 6 คือ พื้นที่ป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ 2484 อันหมายถึง พื้นที่ป่านอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอุทยานแห่งชาติ แต่อย่างไรก็ตาม มีที่ดินบางประเภทที่ได้มีการออกเอกสารสิทธิของทางราชการ แต่เป็นเพียงใบรับแจ้งความของการครอบครองที่ดินซึ่งในทางปฎิบัติกำนันเจ้าของท้องที่เป็นผู้รับแจ้งจึงมิใช่เอกสารสิทธิพร้อมที่นำไปรับโฉนดหรือ น.ส.3 ได้ตามนัยแห่งข้อ 2 ของมาตรา 4 ในพ.ร.บ.สวนป่า 2535 เพราะ ส.ค. 1 นั้นยังไม่มีการสำรวจว่าได้ทำประโยชน์ก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน (1 ธันวาคม 2497) ถูกต้องหรือไม่
 

 

               ด้วยเหตุดังกล่าวนี่เอง ฉะนั้นไม้ที่มีอยู่หรือปลูกขึ้นจึงมีสภาพเป็นไม้ป่า และถูกบังคับ โดยพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 เว้นแต่จะได้สำรวจถูกต้องแล้วเพียง การรอรับโฉนด หรือ น.ส.3 เท่านั้นสำหรับ ภ.บ.ท. (5หรือ6)เป็นเพียงใบเสร็จรับเงิน การชำระเงินภาษีบำรุงท้องที่ ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ ตามประมวลกฎหมายที่ดินจึงไม่สามารถนำไปขอโฉนดหรือ น.ส.3 ได้ส.ท.ก คือเอกสารสิทธิให้สิทธิกินแก่บุคคลในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามความในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงไม่สามารถที่จะนำไปออกโฉนด หรือ  น.ส.3ได้
 

 

                 ที่ดิน 3 ประเภทหลังนี้ไม่สามารถนำไปขอขึ้นทะเบียนสวนป่าไม้ได้ พ.ร.บสวนป่า2535 จึงครอบคลุมไม่ถึงปัญหาที่ตามมา คือของป่าที่ผลิตได้จากสวนป่า ในพ.ร.บ สวนป่า พ.ศ. 2535 มิได้บัญญัติคำว่า ของป่า ไว้ด้วย ดังนั้น การจะนำผลผลิตจากป่าออกมาจึงเป็นปัญหาโดยเฉพาะการจะตัดไม้ออกมาเผาเอาถ่านฟืน เปลือกไม้ ยาง ดอกไม้ เหง้า เมล็ด ผล ชันไม้ น้ำมัน กล้วยไม้ น้ำผึ้ง เห็ด ควรจะได้รับการยกเว้นด้วย แนวทางแก้ไข คือ เพิ่มความหมายของคำว่าไม้ ให้ครอบคลุมถึงบรรดาของป่าที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในสวนป่านั้นด้วย
 

ที่มา:งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม
ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

*****************************************************************************************************************************************************

สนใจกล้าพันธุ์ไม้ปลูกป่าทุกชนิด

ติดต่อคุณไก่ 095-4654546


Tags : พรบ.สวนป่า ป่าไม้ ความเข้าใจป่าไม่ ต้นไม้ ไม้หวงห้าม

ความคิดเห็น

  1. 11
    นานา
    นานา hellnevercry@hotmail.com 08/04/2011 04:00
    ใครช่วยตอบหน่อยค่ะ เพราะอ่านข้อมูลมาหลายเว็บแล้ว กะว่าจะปลูกยางนาเป็นสวนป่า ก็เข้าใจอยู่ว่าต้องไปขออนุญาติปลูก พอจะตัดก็ต้องขออนุญาติตัด อาจตัดแล้วไปขอก็ได้  จากที่อ่านมานะค๊ะ บางคนก็บอกว่าต้องให้อธิบดีเซ็นต์ ต้องทำเรื่องให้มาตีตราไม้ก่อนตัด ให้มานับว่าที่จะตัดมีเท่าไหร่ มีหลักฐานอะไรหรือเปล่า ขั้นตอนพวกนี้ใช้เวลาเท่าไหร่  พอจะเคลื่อนย้ายก็ต้องขอเคลื่อนย้าย ทำบัญชี คุม และตีตราไม้  พอจะแปรรูปไม้ก็ต้องขอแปรรูป จะแปรรูปใช้เลื่อยยนต์ก็ต้องขออนุญาติอีก ย้ายไม้ไปที่หนึ่งก็ต้องทำเรื่อง  แล้วเกือบทุกขั้นตอนต้องเสียเงินไม่รู้ว่่าเท่าไหร่ คิดยังไง แล้วว่าขายได้จะได้เงินสัก ต้นละ หมื่นสองหมื่น นะจะเหลือสักเท่าไหร่กันน้อ ใครทราบช่วยอธิบายทีเถอะค่ะ 
    และอีกอย่างที่มีปัญหาอยู่ยังไม่ได้รับการแก้ไข คือป่าไม้สนับสนุนการปลูกป่า แต่ไม่ได้ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ในเรื่องที่ดินประเภทใดที่ปลูกแล้วตัดได้หรือไม่ได้ พอชาวบ้านปลูกไปแล้วตัดไม่ได้ ไม่มีใครกล้าซื้อ บางคนมีที่10ไร่ 20 ไร่ ก็ปลูกป่าสัก กันหมด พอโตขายไม่ได้ และยังปลูกอย่างอื่นไม่ได้ด้วย เพราะต้นสักโตเป็นป่าไม่มีแสงส่องถึงพื้นดินแล้ว จะตัดก็ไม่กล้าตัดกลัวติดคุก ที่กู้เงินมาปลูกป่าก็เป็นหนี้ดอกเบี้ยท่วมหัว ที่ดีก็คือเราได้ป่ากลับคืนมา แต่คนที่เสียเงินและลงแรงปลูกป่ากลับไม่ได้อะไรเลย แถมยังเป็นหนี้อีก  
  2. 12
    ชาวนาอาลัย
    ปรึกษาคุณพ่อ - แม่  ท่านแนะนำให้ปลูกต้น มะเยาหิน ไม่ทราบว่าพืชชนิดนี้ไม่มีกฏหมาย คุ้มครองหรือเปล่า วันนี้วันที่ 1 มกราคม 2554 ขอบันทึกเก็บไว้ในประวัติศาสตร์ อนาคตอาจจะเหมือน ต้นสักและยาง
[Back]   1 2

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view