http://www.http://takuyak.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 23/05/2008
ปรับปรุง 13/01/2023
สถิติผู้เข้าชม5,781,729
Page Views7,095,711
สินค้าทั้งหมด 5
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
โลกร้อน หายนะมวลมนุษยชาติ
มิติธรรมชาติ
เศรษฐพอเพียง
สักทองพืชทำเงินที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
"ต้นยางนา" พืชสร้างเงินที่ไม่ธรรมดา
"ไม้ยูคาลิปตัส"ความต้องการใช้ที่มีอย่างต่อเนื่อง
ไม้พยุง ไม้เงินล้านวันนี้ราคาพุ่งแรงแซงไม่หยุด
เปิดคลังไอเดียพืชทำเงิน
ราคาทอง
ราคาน้ำมัน
พยากรณ์อากาศ
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
ทีวีผ่านเน็ต
ศูนย์รวมสมุนไพรทุกชนิด
เพื่อนบ้านทั้งหมด
 

"ต้นยางนา"พืชสร้างเงินที่ไม่ธรรมดา(ตอน2)

"ต้นยางนา"พืชสร้างเงินที่ไม่ธรรมดา(ตอน2)

    

ผมได้มีโอกาสอ่านบทความที่เป็นงานเขียนหนึ่ง ของดร.เสรี พงศ์พิศในเวบไซต์"phongphit.com"น่าสนใจมากอ่านแล้วผมคิดว่ามันเป็นงานเขียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตกรไทยเป็นอย่างมากถึงแม้จะเป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ที่ท่านได้พานพบมา ด้วยสำนวนแบบเข้าใจได้ง่ายๆแบบชาวบ้านๆ น่าสนใจไม่น้อยครับ  สิ่งที่ท่านได้เล่านั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบง่ายๆแต่อยู่แบบวิถีไทยที่ไม่ธรรมดา ซึ่งสอดคล้องกัยตัวผมเองที่ได้มีโอกาสพบและพูดคุยกับปราชญ์ชาวบ้านแห่งเมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ "คุณ อัษฎางค์ สีหราช"บุคลากรคุณูปการงานเกษตรต่อเกษตรกร ปราชชาวบ้านท่านนี้ได้พูดไว้ในบทสนทนาในการการโทรทัศน์ช่อง11พิษณุโลกซึ่งสอดคล้องกับประสบการณ์งานเขียนที่ดร.เสรีที่ผมเอามาฝากให้ท่านอ่านนี้เป็นอย่างมาก แนวคิดและวิถีความสำเร็จแห่งชีวิตเกษตรกร สามารถสร้างเองได้ บำเน๊จบำนาญแห่งชีวิตเกษตรกร สามารถสร้างได้จริง คุณอัษฎางค์ได้กล่าวไว้ว่าเขาปลูกต้นยางนาไว้ในที่ดินในไร่นาสวนผสมของเขาเหมือนกับการสร้างหลักประกันแห่งชีวิตไว้ให้กับตัวเองแล้ว เมื่อชีวิตวัยเกษียณมาถึงเขาจะมาบำนาญป็นเงินก้อนโตที่เดียวล่ะและในขณะที่ยีงไม่ได้ตัดไม้ขายเขาก็ยังมีรายได้ในระดับพืชหน้าดินได้อีก  พืชทุกชนิดสามารถคัดเลือกปลูกให้เกื้อกูลกันได้ ระบบวงจรและระบบนิเวศพึ่งพาซึ่งกันและกันอย่างลงตัว หากแต่เรามีการวางแผนที่ดีมันก็สำเร็จไปเกือบร้อยเปอร์เซนต์แล้ว

     ณ ที่นี้ต้องขออนุญาตและขอขอบคุณ ดร.เสรี พงศ์พิศ และเวบไซต์ "phongphit.com"เป็นอย่างสูงที่บทความของท่านได้ก่อให้เกิดแรงจูงใจที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกรเป็นคุณูปการ อันจะส่งผลให้เกษตรกรได้มีแนวคิดที่สร้างความมั่นคง และสร้างหลักประกันอนาตดของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญต้องขอขอบคุณเรื่องราวดีๆในวิถีเกษตรกรของอาจารย์ ประกาศิต อำไพพิศ ลองอ่านกันดูนะครับ หากเป็นประโยชน์กรุณาช่วยกันบอกสิ่งดีๆเหล่านี้ต่อกันด้วย...

ยางพารากับยางนาอยู่ด้วยกันได้

PDF พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย ดร. เสรี พงศ์พิศ   
Monday, 01 August 2005
วันนี้ที่ราคายางพาราขึ้นไปเกือบ 70 บาท ชาวบ้านก็แห่กันปลูกยางแบบเอาเป็นเอาตาย ไม่รู้ว่าอีก 7-8 ปีข้างหน้าจะตายหรือจะรอดก็ไม่ทราบ เมื่อยางนับล้านๆ ไร่เริ่มกรีดพร้อมกัน
           
ชาวนครศรีธรรมราชจำนวนมากที่ได้สรุปบทเรียนจากยางพาราได้ปรับวิถีชีวิตกันใหม่หลายปีแล้ว หลังจากที่ได้ทำแผนแม่บทยางพาราไทย ไม่ต้องการเสี่ยงเอาชีวิตไปแขวนอยู่บนเส้นด้ายยางพาราเส้นเดียวอีกต่อไป ไม่ว่าวันหนึ่งราคาจะสูงเพียงใด แต่ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า วันไหนราคายางจะหล่นลงไปอยู่ที่ 20 บาทหรือต่ำกว่านั้น พูดเป็นเล่นไป อะไรๆ ก็เกิดได้
           
สู้ทำแบบอาจารย์ประกาศิต อำไพพิศ ที่บ้านสะแก ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ดีกว่า เป็นครูโรงเรียนประถมแต่เรียนรู้เรื่องสมุนไพร เรื่องพืช แล้วปลูกผสมผสานในที่ 20 กว่าไร่ โดยปลูกยางพารา 10 ไร่ ประมาณ 800 ต้น กรีดยางมาได้หลายปีแล้ว ในเวลาเดียวกันก็ปลูกยางนาประมาณ 2,000 ต้น แซมด้วยต้นกฤษณาและสมุนไพรต่างๆ
           
ไม่นานมานี้ได้ตัด 700 ต้นไปสร้างวัด เหลือยางนา 1,300 ต้น แค่นี้ก็เป็นสวัสดิการยามแก่เฒ่าและมรดกให้ลูกหลานได้พอเพียง เพราะอีก 10 ปี เมื่อยางเหล่านี้จะอายุ 20 ปี จะมีราคาต้นละหลายหมื่นบาทถ้าเอาลงทำแปรเป็นไม้กระดาน คิดแล้วอาจจะไม่อยากเชื่อว่า ยางนา 1,300 ต้นจะมีค่าอย่างน้อย 30-40 ล้านบาท
           
ไม่เท่านั้น อาจารย์ประกาศิตบอกว่า สามปีแรกที่ปลูกยางนาจะเกิดเห็ดมากมายหลายชนิด คิดเป็นมูลค่าไร่ละ 3,000 บาทต่อปี เช่น เห็ดละโงก เห็ดเผาะ เห็ดหน้าแหล่ เห็ดน้ำหมาก เห็ดก่อ เห็ดถ่าน เมื่อเข้าปีที่ 8-9 ก็จะเกิดเห็ดปลวก เห็ดปลวกจิก เห็ดปลวกไก่น้อย เห็ดปลวกตาบ ซึ่งมีดอกใหญ่ๆ ภาคกลางเรียกว่าเห็ดโคนซึ่งราคากิโลกรัมละ 200-300 บาท
           
ทุกวันนี้อาจารย์ประกาศิตบอกว่าขายเห็ดที่เกิดในพื้นที่ 6 ไร่ได้ปีละประมาณ 20,000 บาท ที่ได้แค่นี้เพราะให้ชาวบ้านเข้าไปเก็บไปกินด้วย
           
สวนของอาจารย์ประกาศิตมีเห็ดมากมายเพราะสวนนี้ไม่ใช้สารเคมีเลย ใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียว ทำให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ เห็ดก็เกิดได้ มีจุบินทรีย์ ไส้เดือน มด แมลง ปลูกถั่วฝักยาวก็ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงเพราะมีแมลงบางชนิดมากินเพลี้ย ธรรมชาติดูแลกันเอง
           
อาจารย์ประกาศิตสังเกตว่ากิ้งกือกินเห็ด และเห็ดที่กิ้งกือกินได้ คนก็กินได้ ไม่มีพิษ นกกะปูดก็กินกิ้งกื้อ เพราะถ้าไม่กิน กิ้งกื้ออาจจะมีมากเกินไป นอกนั้นยังมีแมลงเรืองแสงชนิดหนึ่งที่กินกิ้งกือ มันมุดขึ้นมาจากดิน
           
ส่วนมดดำก็จะกินปลวกเวลาที่ต้นไม้ผุแล้วหักลงมา นกกะปูดกิน "แมงย่างซิ้น" เขียดตะปาด หอยทาก ไข่มดแดง นกกะปูดชอบเจาะรังมดแดงกินไข่ และยังชอบกินงูอีกด้วย
           
เหล่านี้เป็นตัวอย่างของวงจรธรรมชาติที่ดูแลกันเองทำให้เกิดความสมดุล
           
อาจารย์ประกาศิตเกษียณแบบ "เออร์ลี่รีไทร์" อยู่บ้านทำสวน ทำสมุนไพร สอบได้เภสัชกรรมเมื่อปีก่อน นับว่ามีความรู้ความสามารถ และเอาวิชาเหล่านี้มาใช้ในโรงเรียน ในชุมชน
           
วันนี้เขาอยู่ได้สบายๆ บางพารา 800 ต้นให้น้ำยางและทำยางแผ่นได้วันหนึ่งประมาณ 60 กิโล กรัม ถ้าราคาวันนี้อยู่ที่ 67 บาท คงขายได้ไม่ต่ำกว่า 4,000 บาท เดือนละแสนกว่าบาท
           
แล้วจะอยู่เป็นครูไปทำไมให้เมื่อย เป็นฐานความดีความชอบให้ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ไม่เอาไหน ได้แต่ทำความเจ็บปวดให้ครูผู้น้อย
           
(ไปบุรีรัมย์มา ได้ของดีมาฝาก แถมด้วยของเสียจากคนเน่าๆ บางคนที่โรงเรียนวัดบ้านพลับ)
 

ชมคลิปวีดีโอ

ตอน "ยางนาไม้เศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างรายได้ได้จริงอย่างมหาศาล"

คลิปนี้เป็นการแนะนำไม้ยางนา ให้คุณได้รู้จักมากขึ้น ในแง่มุมต่างๆ สำหรับเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการตัดสินใจทำธุรกิจสวนป่า ไม้ยางนา

ชมคลิปวีดีโอ

ตอน "พาชมสวนป่าเศรษฐกิจ ยางนา"

คลิปนี้เป็นการพาคุณไปชมสวนป่ายางนา ที่ปลูกไว้หลายพันต้น สวยและสมบูรณ์มาก

สนใจกล้าพันธุ์ไม้ยางนาสายพันธุ์ดี

ติดต่อคุณไก่ 095-4654546 หรือ 094-6465654

Tags : ยางนา ไม้ยางนา ต้นยางนา กล้าพันธุ์ไม้ยางนา

ความคิดเห็น

  1. 31
    โต
    โต 13/11/2010 20:01
    สุดยอดเลยครับ ผมจะเดินตามรอยเท้านี้ และจะพัฒนาการปลูกยางนานับตั้งแต่วันนี้ จะไม่รอวัน เกษียณมาถึง ผมจะทำบำเหน็จบำนานให้ตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ครับ อีกอย่างผมเป็นมือใหม่ ช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ อีกอย่างครับกำลังจะเริ่มปลูก ยางนา ไม่ทราบว่าต้องขออนุญาต จากใคร หน่วยงานใดหรือไม่ครับ
[Back]   1  2  3 4

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view