ยูคาลิปตัส
ยูคาลิปตัส (อังกฤษ: Eucalyptus)เป็นพรรณไม้มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนีย มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่หมู่เกาะมินดาเนา เซลีเบส ปาปัวนิวกินี ในพื้นที่ชุ่มที่มีน้ำขังในเขตร้อน
ยูคาลิปตัส เป็นไม้ต่างประเทศ มีมากกว่า 700 ชนิด มีถิ่นอยู่ในทวีปออสเตรเลีย
ประเทศไทยได้เริ่มทดลองนำยูคาลิปตัสมาปลูกประมาณปี พ.ศ. 2493 และได้มีการทดลองปลูกกันจริงๆเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2507
ยูคาลิปตัสสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพของดินแทบทุกประเภท ตั้งแต่พื้นที่ริมน้ำ ที่ราบน้ำท่วมถึงบางระยะในรอบปี แม้แต่ดินที่้้เป็๋นทรายและมีความแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลานาน พื้นที่ดินเลวที่มีปริมาณน้ำฝนน้ิอยกว่า 650 มิลลิเ้มตรต่ิอปี รวมทั้งพืนที่ที่มีดินเค็ม ดินเ้ปรี้ยว แต่ยูคาลิปตัสจะไม่สามารถทนต่อดินที่มีสภาพเป็นหินปูนสูง
ลักษณะทั่วไป
ลำต้น เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูง 24-26 เมตร และอาจสูงถึง 50 เมตร ความโตเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เมตร
ใบ เป็นคู่ตรงข้ามเรียงสลับกัน ลักษณะเป็นรูปหอก มีขนาด 2.5-12X0.3-0.8 นิ้ว ก้านใบยาว ใบสีเขียวอ่อนทั้งสองด้าน เส้นใบมองเห็นได้ชัด
เปลือก มีลักษณะเรียบเป็นมัน มีสีเทาสลับสีขาวและน้ำตาลแดงเป็นบางแห่ง เปลือกนอกจะแตกอ่อนร่อนเป็นแผ่นหลุดออกจากผิวของลำต้น เมื่อแห้งจะลอกออกได้ง่าย เปลือกหนาประมาณ 1/2 เซนติเมตร
เมล็ด ขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร สีเหลือง เมล็ด 1 กิโลกรัมมีเมล็ดประมาณ 1-200,000 เมล็ด
ช่อดอก เกิดที่ข้อต่อระหว่างกิ่งกับใบ มีก้านดอกเรียวยาว และมีก้านย่อยแยกไปอีก ออกดอกเกือบตลอดปีออกดอกปีละ 7-8 เดือน
ผล มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม ผิวนอกแข็ง เมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก ทำให่เมล็ดที่อยู่ภายในหล่นออกมา
ลักษณะเนื้อไม้ มีแก่นสีน้ำตาล กระพี้น้ำตาลอ่อน กระพี้และแก่นสีแตกต่างเหก็นได้ชัด เนื้อไม้แตกง่ายหลังจากตัดฟัน
การเตรียมพื้นที่ปลูก
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยูคาลิปตัส ควรเป็็นพื้นที่ราบระบายน้ำได้ดี ลักษณะดินควรเป็นดินร่วนปนทราย มีค่า PH 5-6 ที่สำคัญไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก มีปริมาณน้ำฝนมาก หรือมีความชุมชื้นสูง มีสภาพชื้นแฉะอยู่เสมอ ถ้าเป็นพื้นที่เชิงเขาควรมีความลาดชันน้อย
การปรับปรุงสภาพพื้นที่ก่อนปลูก
ในสภาพพื้นที่ที่แห้งแล้ง ใช้แทรกเตอร์ไถปาดไม้เดิมออก เก็บริบสุมเผา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ก่อนฤดูฝนปลายเดือนเมษษยน-พฤษภาคม ใช้แทรกเตอร์ไถพรวน 2 ครั้ง โดยครั้งแรกใช้ผาน 3 หลังจากฝนตกหนัก 2-3 ครั้ง ใช้แทรกเตอร์ผาน 7 ไถแปรกลับอีกครั้ง การเตรียมพื้นที่แบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนระยะแรกสูงแต่การปลูกจะได้ผลดีและต้นไม้จะเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการกำจัดวัชพืชด้วย ในสภาพพื้นที่ที่เป็นไร่ร้างหรือพื้นที่กสิกรรมเก่าหรือพื้นที่ถูกแผ้วถางมาเป็นเวลานาน พื้นที่เหล่านี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับวัชพืช ตอนต้นฤดูฝนควรใช้แทรกเตอร์ไถพรวนและเก็บรากวัชพืชการกำหนดระยะปลูก
ภายหลังไถพรวนสิ่งที่ต้องทำคือการปักหลักกำหนดระยะปลูกเพื่อความสะดวกในการปลูกและให้มีระยะปลูกที่ถูกต้อง ทำให้ต้นไม้เป็นแถวสวยงามสะดวกในการดูแลบำรุงรักษา การปักหลักกำหนดระยะปลูกทำได้ 2 วิธี คือ ปักหมายทุกจุดที่ปลูก และปักหมายเฉพาะแนว โดยระยะห่างขึ้นอยู้กับวัตถุประสงค์ ดังนี้
กรณีปลูกเพื่อเ้ป็นไม้ฟืนหรือเผาถ่าน ควรใช้ระยะปลูก 1X2 หรือ 2X2 เมตร จะได้ประมาณ 400-800 ต้นต่อไร่ โดยช่วง 2-3 ปี สามารถตัดขายใช้ทำฟืนหรือถ่านได้ และตอไม้ยูคาลิปตัสที่ตัดออกไปสามารถแตกหน่อได้โดยไม่ต้องปลูกใหม่ กรณีปลูกเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ หรือไม้สำหรับก่อสร้าง ควรปลูกระยะ 2X3,2X4,3X3,4X4 ซึ่งจะปลูกได้ 100- 270 ต้นต่อไร่สามารถตัดได้เมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป กรณีปลูกเพื่อเป็นไม้ก่อสร้างต้องมีอายุมากกว่า 5 ปี ควรกำหนดระยะปลูกให้ห่าง โดยปีที่ 1-2 สามารถปลูกพืชควบลงระหว่างแถวได้การขุดหลุมปลูก
พื้นที่ที่ีมีการจัดการเตรียมพื้นที่โดยการไถพรวน ขนาดหลุมที่ควรใช้ประมาณ 25X25X25 เซนติเมตร ถึง 50X50X50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15
การปลูก
- การปลูกยูคาลิปตัสชนิดเดียวล้วนๆไม่มีพันธุ์ไม้อื่นปะปน จะให้ผลผลิตเต็มที่ การตัดการดูแลสวนป่าทำได้ง่าย สะดวก ประหยัด แมลงศัตรูพืชทำลายไม่ค่อยมีเนื่องจากยูคาลิปตัสมีรอบตัดฟันสั้นเพียง 3-5 ปี
- การปลูกยูคาลิปตัสร่วมกับพันธุ์ไม้อื่น โดยการปลูกควบกับไม้โตช้าเพื่อเป็นการกระจายรายได้ เพราะสามารถทยอยตัดไม้ยูคาลิปตัสขายเป็นระยะจนกว่าไม้โตช้าจะเจริญเติบโตจนสามารถใช้ประโยชน์ได้
- การปลูกยูคาลิปตัสแบบวนเกษตร เป็นการปลูกควบคู่ไปกับการปลูกพืชเกษตร การปศุสัตว์ การประมง
การปลูกยูคาลิปตัีส กล้าำไม้ที่เหมาะสมในการย้ายปลูกหาำกเพาะชำมาจากเมล็ด กล้าควรมีอายุประมาณ 3-5 เดือน ความสูงเฉลี่ยประมาณ 25 -40 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นกล้าที่เพาะมาจา่กการปักชำกล้าำไม้อายุประมาณ 45 วัน ก็สามารถย้ายปลูกได้แล้ว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นต้นฝนโดยเลือกปลูกหลังจากวันที่ฝนตก การปลูกควรใช้มือกดดินให้แน่นระดับดินที่กลบควรให้เป็นแอ่งลึกกว่าระดับดินโดยรอบเล็กน้อย เพื่อให้เป็นแอ่งรับน้ำฝนจากนั้นใช้ดินแห้่งหรือผิวดินที่อยู่ข้างๆ โรยปิดทับรอบๆกล้าไม้เพื่อไม่ให้ผิวหน้าดินที่ยังชื้นถูกแสงแดดและลมพัดโดยตรง
การบำรุงรักษา
- การกำจัดวัชพืช เนื่องจากยูคาลิปตัสมีความต้องการแสงและุมีความสามารถในการแก่งแย่งกับพวกวัชพืชในระยะแรกได้น้อย การดายวัชพืชอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็น เมื่อตันไม้สูงพ้นวัชพืชแล้วการดายวัชพืชรอบโคนต้นปีละครั้งก็เพียงพอ
- การป้องกันไฟ โดยการกำจัดวัชพืชให้น้อยลง การทำแนวกัำำนไฟ การชิงเผาวัชพืชก่อนถึงหน้าแล้ง
- การใส่ปุ๋ย อาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยคอกก็ได้ สำหรับปริมาณที่ใส่ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ขนาดต้นไม้ โดยใช้หลัก ใส่ปริมาณน้อยๆแต่ใส่บ่อยๆ ต้นไม้จะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยในช่วงแรกและในปีที่ 2 ส่วนในปีที่ 3,4 การใส่ปุ๋ยไม่ได้ช่วยให้่การเจริญเติบโตของต้นไม้มากนัก
- การลิดกิ่ง ยูคาลิปตัสสามารถลิดกิ่งได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่มีความจำเป็นในการลิดกิ่งเหมือนไม้ป่าชนิดอื่นๆ
- การตัดสางขยายระยะ การปลูกยูคาลิปตัสที่มีระยะปลูกชิดกัน ต้นไม้จะเบียดบังแย่งการเจริญเติบโตจึงจำเป็นที่จะต้องมีการตัดสางขยายระยะเพื่อเปิดโอกาสให้ต้นไม้ืที่เหลือเจริญเติบโตได้เต็มที่
การเจริญเติบโต
ยูคาลิปตัสจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตอบแทนภายในระยะเวลา 5 ปี การเจริญเติบโตในระยะแรกจะไม่ต้องการเนื้อที่เท่าใดนักเนื่องจา่กมีเรือนยอดแคบๆ แม้ต้นไม้จะเบียดเสียดกันบ้างแต่การเจริญเติบโตยังคงเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
การตัดฟัน และการไว้หน่อ
- ปลูกระยะ 1X1 เมตร(1,600 ต้นต่อไร่) ปีที่ 2 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้ฟืนขนาดเล็ก ปีที่ 3-4 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำฟืนและถ่าน ที่เหลือปีที่ 6 เพื่อทำเยื่อกระดาษ หรือไม้แปรรูปขนาดเล็ก
- ปลูกระยะ 2X2 เมตร(400 ต้นต่อไร่) และระยะ 2X4 เมตร (200 ต้นต่อไร่) ปีที่ 3-4 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำฟืนและถ่์าน ปีที่ 5 ตัดทำเยื่อกระดาษหรือไม้แปรรูปขนาดเล็ก หรือคงเหลือไม้ลักษณะดีไว้ 10-20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้แปรรูปใช้ก่อสร้างบ้านเรือน
- ปลูกระยะ 3X3 เมตร(176 ต้นต่อไร่) และ 4X4 เมตร(100 ต้นต่อไร่) ตัดในปีที่ 5 ทั้งหมด เพื่อทำเยื่อกระดาษ ไม้แปรรูปขนาดเล็ก หรือคงเหลือไม้ลักษณะดี 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้แปรรูปใช้ก่อสร้างบ้านเรือน
การตัดฟันไม้ออกมาใช้ประโยชน์ควรทำในระยะเิริ่มฤดูฝนเพราะดินมีควาวมชื้น ต้นไม้ที่ตัดโค่นลงจะได้รับความเสียหายจากการโค่นลัมน้อยกว่าช่วงฤดูแล้ง ควรตัดไม้ให้สูงจากระดับพื้นดินประมาณ 10-12 เซนติเมตร เพื่อปล่อยให้แตกหน่อใหม่ จากนั้นประมาณ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 10 กิโลกรัมต่อไร่ ปล่อยไว้อีก 1-2 เดือน ทำการตัดแต่งหน่อไว้ให้เหลือเพียง 2-3 หน่อ หรืออาจเหลือไว้ 7-8 หน่ออีกประมาณ 1 ปี จึงค่อยสางหน่อออกไป 5-6 หน่อ ไปทำฟืนทำถ่าน เหลือหน่อดีที่สุดเพียงหน่อเดียวหรือ 2 หน่อ ทำการบำรุงรักษาทุกๆปีตามปกติจนตัดฟันครั้งต่อไป
|
โครงสร้างของต้นยูคาลิปตัส
โครงสร้างของต้นยูคาลิปตัสซึ่งประกอบด้วย เปลือกไม้ซึ่งอยู่ด้านนอกสุดและเนื้อไม้ที่ซ่อนอยู่ด้านใน โดยในส่วนของเนื้อไม้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรก คือ “กระพี้” หรือเนื้อไม้ด้านนอกซึ่งอยู่ติดกับเปลือกไม้และเป็นที่อยู่ของท่อลำเลียงน้ำ (xylem) จำนวนมาก
ส่วนที่สอง คือ “แก่น” หรือเนื้อไม้ด้านในสุดซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกระพี้
เมื่อต้นยูคาลิปตัสเติบโตเต็มที่พื้นที่ของกระพี้ก็จะเพิ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างท่อลำเลียงน้ำใหม่ ซึ่งท่อลำเลียงน้ำอันเก่าหลังจากใช้งานมานานก็จะมีการสะสมของสารต่างๆ ภายในเซลล์ จนเกิดการอุดตันจนกลายเป็นแก่นที่ไม่สามารถลำเลียงน้ำได้อีก ซึ่งยูคาลิปตัสนั้นจะมีแก่นก็ต่อเมื่ออายุเกิน 15 ปีขึ้นไป
ยูคาลิปตัสเป็นไม้ที่มีพื้นที่ของกระพี้มากจึงหมายถึงการมีพื้นที่ลำเลียงน้ำขึ้นสู่เรือนยอดมากตามไปด้วย เนื่องจากแนวโน้มการดูดน้ำของต้นไม้แต่ละต้นมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ของกระพี้ในลำต้นเป็นสำคัญ
เนื่องจากยูคาลิปตัสจะมีระบบรากที่แผ่ขยายเร็วและสามารถหยั่งลงไปในดินได้ในระดับลึก จึงมีประสิทธิภาพในการเสาะแสวงหาแหล่งน้ำใต้ดินได้มากกว่าพืชชนิดอื่น
ข้อมูลยูคาลิปตัสต่อการใช้น้ำ
ยูคาลิปตัสเป็นแค่ต้นไม้ทั่วไปเท่านั้น ไม่ทำให้พื้นดินกลายเป็นทะเลทรายแน่นอน มีการปลูกจริงในหลายพื้นที่ และมีการทดลองในเชิงวิชาการก็ได้ข้อพิสูจน์แล้ว ประกอบกับประเทศไทยเราไม่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ให้เกษตรกร หรือนายทุนทำการปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นโดยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว ไม้เหล่านี้จึงปลูกอยู่อย่างกระจัดกระจาย หรือบางที่เกษตรกรก็นำไปปลูกตามพื้นที่ว่างเปล่าในหัวไร่คันนาที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ การปลูกไม้นี้กลับเป็นการช่วยให้พื้นที่ที่ปลูกพืชอื่นไม่ได้ ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และช่วยให้รักษาดินได้ดีกว่าการปล่อยพื้นที่รกร้างว่างเปล่า
จากการศึกษาผลกระทบของการปลูกไม้ยูคาลิปตัสต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำบนดิน พบว่าการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดสามารถแสดงออกมาในรูปของอัตราส่วนการคายน้ำ ซึ่งเป็นค่าของปริมาณน้ำที่พืชใช้ในการสร้างวัตถุแห้งหนักหนึ่งกรัม ประสิทธิภาพในการใช้น้ำของพืชจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชพรรณ ดังนั้นอัตราส่วนการคายน้ำของพืชชนิดใด มีค่าต่ำแสดงว่าพืชชนิดนั้นมีประสิทธิภาพในการใช้น้ำได้สูง (วิสุทธิ์,2530) โดยประสิทธิภาพการใช้น้ำคือการสร้างมวลสารจำนวนหน่วยที่เท่าๆกัน ไม้แต่ละชนิดใช้ปริมาณน้ำมากน้อยเพียงใดนั้น ในเรื่องนี้ Dabral (1970) ได้ทำการศึกษาที่สถาบันวิจัยป่าไม้ เดนราคูน ประเทศอินเดีย ด้วยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้น้ำของไม้ 4 ชนิด คือ ไม้สนเขา ไม้พอพูลัส ไม้พยุง และไม้ยูคาลิปตัส ผลการศึกษาพบว่า ในการสร้างมวลสาร 1 กรัม พรรณไม้ต่างๆ ข้างต้นจะต้องใช้ปริมาณน้ำ 8.87, 3.04, 2.59 และ 1.41 มิลลิลิตรต่อกรัม ตามลำดับ จากการทดลองแสดงว่าไม้ยูคาลิปตัสมีประสิทธิภาพการใช้น้ำดีที่สุด เนื่องจากใช้น้ำน้อยที่สุดในการสร้างมวลชีวภาพต่อกรัม ซึ่งสอดคล้องกับการสรุปความของ เริงชัย (ม.ป.ป.) ที่ว่า “ไม้โตเร็วชนิดต่างๆนั้น ต้องการความชื้นเพียงน้อยนิด ก็สามารถสร้างชีวมวล ทั้งต้น, ราก และใบได้มากมาย เมื่อเทียบกับชนิดไม้โตช้า” และ พงศ์ (2529) รายงานลักษณะเด่นของไม้ยูคาลิปตัสคือความสามารถพิเศษในการรักษาสมรรถนะในการผลิตชีวมวลไว้ได้เมื่อน้ำในดินมีน้อยลง ผลการทดลองพบว่า ในขณะที่น้ำในดินลดลง 66 และ 84% การผลิตชีวมวลจะลดลงเพียง 25 และ 38 % ตามลำดับเท่านั้น ความสามารถในการปรับตัวเองไม้ยูคาลิปตัสดังกล่าวข้างต้น เป็นหลักฐานที่ช่วยอธิบายได้ว่าไม้ยูคาลิปตัสใช้น้ำในการผลิตชีวมวล (การเจริญเติบโต) น้อยกว่าไม้อื่นๆ ซึ่งแสดงประสิทธิภาพการใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตชีวมวลของพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตชีวมวลของพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ
ชนิดไม้ | การใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตชีวมวล (ลิตร/กรัม) |
---|---|
Eucalyptus tereticornis ยูคาลิปตัส เทเรติคอร์นิส | 0.48 |
Syzygium cumini หว้า | 0.50 |
Albizzia lebbek พฤกษ์ | 0.55 |
Acacia auriculaefarmis กระถินณรงค์ | 0.72 |
Dalbergia sissoo ประดู่แขก | 0.77 |
Pongamia pinnata - | 0.88 |
นอกจากนี้เรื่องการใช้น้ำของยูคาลิปตัสที่มีผลต่อระดับน้ำใต้ดิน ที่ถูกโจมตีว่าเมื่อปลูกยูคาลิปตัสที่ใดบ่อน้ำหรือบ่อบาดาลจะแห้ง ซึ่งจากการศึกษาของพิทยา (2530) โดยทำการทดลองขุดบ่อในแปลงซึ่งปลูกไม้ 2 ชนิดคือ แปลงไม้ยูคาลิปตัส และไม้กระถินณรงค์ เปรียบเทียบกับในที่โล่ง จำนวน 4 บ่อ ปรากฏว่าเมื่อขุดบ่อได้ลึก ประมาณ 2.60 เมตร ก็ถึงระดับน้ำใต้ดินในบ่อทั้ง 4 แห่ง และทำการบันทึกระดับน้ำทุก ๆ 5 วัน ตลอดช่วงฤดูแล้วตั้งแต่เดือน มกราคม - เมษายน 2529 พบว่าการลดระดับน้ำใต้ดินในบ่อของทั้ง 3 บริเวณ ไม่มีความแตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 3 และ 4 โดยสรปได้ว่าประสิทธิภาพการใช้น้ำใต้ดินในบ่อลดลงเฉลี่ยวันละ 1.50 เซนติเมตร เท่าๆ กัน ทั้งในสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถินณรงค์ ที่มีอายุ 7 ปี และในที่โล่งตลอดช่วงฤดูแล้งระหว่างวันที่ 22 มกราคม - 23 เมษายน 2529 โดยระดับน้ำอยู่ลึกจากผิวดินมีค่าไม่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการอ้างของ จอห์น (2528) ซึ่งท่านได้อ้างการศึกษาของสถาบันวิจัยป่าไม้ เตราดู ประเทศอินเดียที่ว่าระบบรากของไม้ยูคาลิปตัส เทเรทติคอร์นิสจะหยั่งลงไปในดินลึกถึง 3 เมตรและเจริญเติบโตตามแนวรัศมี 3.5 เมตร จากลำต้น ส่วนรากของยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีสที่อายุ 5 ปี มีความลึกของรากน้อยกว่า 3 เมตรแต่การเติบโตของรากในแนวราบจะเป็น 9 เมตร ซึ่งสรุปได้ว่าระบบรากของไม้ยูคาลิปตัสมีการปรับตัวที่จะใช้น้ำฝนในส่วนของผิวดินมากกว่าจะใช้น้ำใต้ดินในระดับความลึกมากๆ
ตารางที่ 2 การลดระดับน้ำใต้ดินในบ่อของสวนป่าอายุ 7 ปี เปรียบเทียบกับในที่โล่งท้องที่จังหวัดศีรษะเกษ (หน่วย : ซม./วัน)
เดือน | ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส | กระถินณรงค์ | ที่โล่ง |
---|---|---|---|
มกราคม 2529 | 1.60 | 1.80 | 1.70 |
กุมภาพันธ์ 2529 | 0.50 | 1.80 | 1.70 |
มีนาคม 2529 | 1.47 | 1.47 | 1.54 |
เมษายน 2529 | 1.10 | 1.05 | 0.95 |
เฉลี่ย | 1.46 | 1.49 | 1.46 |
ตารางที่ 3 ระดับน้ำในบ่อลดลงจากผิวดินในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม - 23 เมษายน 2529 (หน่วย : เมตร)
ระดับน้ำ | ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส | กระถินณรงค์ | ที่โล่ง |
---|---|---|---|
ครั้งแรก | 2.85 | 2.79 | 2.67 |
ครั้งสุดท้าย | 4.06 | 4.00 | 3.82 |
ระดับที่ลดลง | 1.21 | 1.21 | 1.15 |
จากข้อมูลและการวิเคราะห์ข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
• ไม้ยูคาลิปตัสจัดได้ว่าเป็นไม้ที่มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมาก เมื่อเทียบกับการสร้างชีวมวลที่เท่า ๆ กัน
• ไม้ยูคาลิปตัสมีการสร้างชีวมวลในปริมาณที่มากกว่าไม้ชนิดอื่นๆ ก็อาจจะมีผลให้มีการใช้น้ำมากขึ้นตามส่วน ซึ่งก็เป็นไปตามปกติของพืชและไม้โตเร็วทั่วไป
• อัตราการคายน้ำและระเหยน้ำของสวนป่าไม้ยูคาลิปตัสนั้น อยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป เมื่อเทียบกับไม้โตเร็วอื่นๆ
ข้อกล่าวอ้างว่าไม้ยูคาลิปตัสเปรียบเสมือนต้นไม้สูบระบายน้ำ ที่ทำให้หนอง บึง และแผ่นดินแห้งแล้งนั้น มีหลักฐานทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าระดับน้ำที่ลดลงเท่ากับการปลูกพืชอื่น และ ดีกว่าในที่โล่ง
โครงการ “ปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา”
ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดห้องเรียนภาคสนามเรียนรู้การปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาและในไร่มันสำปะหลัง ภายใต้โครงการ “การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบทโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินด้วยการปลูกไม้โตเร็ว” ในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมการใช้ไม้ยูคาลิปตัสมาก โดยใช้แม่ไม้จำนวน 4 พันธุ์ ใน 2 ท้องที่ (Site) เขตอำเภอพนมสารคาม และอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา คือ สายพันธุ์ K51, K59, K7 และ K58 ได้ทำการทดลองปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาปรับแต่ง เป็นลักษณะของการปลูกพืชควบในระบบวนเกษตร เกษตรกรสามารถปลูกยูคาบนคันนาได้โดยปลูกเป็นแถวเดี่ยว ๆ ให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2 – 3 เมตร เพื่อเปิดช่องว่างให้นาข้าวในนาได้รับแสงสว่างอย่างเต็มที่และเพียงพอ การปลูกลักษณะนี้แทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ปลูกและการดูแลรักษา เพราะชาวนาต้องยกตกแต่งคันนาและบำรุงรักษาต้นข้าวอยู่แล้ว หากคัดเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมตามคำแนะนำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะตัดไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่น้อยกว่า 3 ตัน ต่อไร่ เมื่ออายุ 5 ปี นอกจากนี้ยังได้ทดลองปลูกไม้ยูคาลิปตัสควบมันสำปะหลัง, ปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนาที่มีระยะห่างต่าง ๆ กัน และปลูกไม้ยูคาลิปตัสในบริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการไม่พบความเสียหายในเรื่องของการแย่งปุ๋ยพืชอาหารหรือการทำให้ดินเสื่อมสภาพ สามารถจะปลูกพืชสวนครัวหรือพืชชนิดอื่น ๆ ได้ เป็นการใช้พื้นที่เกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากจะเพิ่มวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมไม้ภายในประเทศ ยังเป็นการเพิ่มรายได้ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่เกษตรกรในชนบท สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยรวมให้แก่ชุมชนและประเทศอีกด้วย
“โครงการปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา" สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากการปลูกข้าวเชิงเดี่ยวประมาณ 2 – 3 เท่า ขณะที่การปลูกไม้ยูคาลิปตัสเป็นขอบเขตไร่มันสำปะหลัง ก็จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1 – 2 เท่า ซึ่งขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิของพืชทั้งสองชนิด ดังนั้นการปลูกไม้ยูคาลิปตัสในระบบวนเกษตร จึงนับว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ที่จะช่วยยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ยูคาลิปตัส ทำให้ดินเสื่อมจริงหรือ?
นักวิชาการจากรมป่าไม้ได้ทำการศึกษาผลกระทบของการปลูกยูคาลิปตัสโดยเปรียบเทียบกับการปลูกกระถินณรงค์ ซึ่งเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการปรับปรุงดิน ซึ่งได้ผลการศึกษาดังนี้
1.การปลูกไม้ยูคาลิปตัส ไม่ปรากฎผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตลอดช่วงระยะเวลา 8 ปีที่ทำการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุตัดฟัน 4 ปี ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพดินแต่อย่างใด
2.การปลูกยูคาลิปตัสระยะ 4X4 สามารถปลูกพืชไร่ควบได้ไม่เกิน 3 ปี เนื่องจากการบดบังแสงแดดและการแก่งแย่งน้ำ ซึ่งไม้กระถินณรงค์ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน
3.ผลผลิตของพืชไร่ที่ทำการปลูกซ้ำในพื้นที่ที่เคยปลูกยูคาลิปตัสให้ผลผลิตมากกว่าพื้นที่ที่เคยปลูกกระถินณรงค์ (อายุตัดฟัน 4 ปี เท่ากัน)
4.ไม้ยูคาลิปตัสมีความสามารถในการแก่งแย่งความชื้นในดินสูง ดังนั้นในฤดูกาลที่แห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงจึงมีผลกระทบต่อพืชข้างเคียง จึงไม่ค่อยพบวัชพีชภายใต้สวนยูคาลิปตัส
5.หากต้องการปลูกพืชไร่ผสมผสานในพื้นที่ควรปลูกยูคาลิปตัสให้มีระยะห่าง 8 X 8 เมตร และปลูกห่างจากต้นยูคาลิปตัสประมาณ 1 - 1.50 เมตร
6.การปลูกยูคาลิปตัสเชิงเศรษฐกิจควรตัดไม้ออกจากพื้นที่ในปีที่ 4 เนื่องจากต้นไม้เจริญเติบโตถึงระดับสูงสุด เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้น้ำและธาตุุอาหารมากเกินไป ทำให้ดินมีการได้พักตัว
ข้อดี/ข้อเสีย
ข้อดี
1.โตเร็ว สามารถใช้ประโยชน์ได้ภาย 4-5 ปี มีการลงทุนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับไม้โตเร็วชนิดอื่น
2.เจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3.มีประสิทธิภาพสูงในการใช้น้ำและธาตุอาหารน้อยสำหรับการเจริญเติบโต
4.ช่วยปรับปรุงระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้นได้ โดยการเป็นไม้เบิกนำที่ดี
5.มีความสามารถในการแตกหน่อ
6.มีเนื้อไม้แข็งแรง ลำต้นเปลาตรง
7.กิ่งก้านใช้ทำฟืนถ่านที่มีคุณภาพดี ให้ความร้อนสูง ไม่แตกขณะเผาและไม่มีควันคุณภาพถ่านใกล้เคียงถ่านจากไม้โกงกาง
8.เมื่ออายุ 3-6 ปี เนื้อไม้มีความเหมาะสมสำหรับผลิตเยื่อกระดาษ
9.ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแผ่นเส้นใยไม้อัด แผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นไม้อัดซีเมนต์แผ่นไม้ประกอบต่างๆ
10.การปลูกยูคาลิปตัสในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจะช่วยรักษาระดับความชื้นในอากาศ
ข้อเสีย
1.เป็นพืชที่มีการใช้ปริมาณน้ำสูง เนื่องจากการเจริญเติบโตที่เร็วทำให้ความชื้นและระดับน้ำใต้ดินลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำและพืชข้างเคียง
2.เป็นไม้ที่มีความสามารถในการแก่งแย่งทางด้านเรือนรากสูง มีการแก่งแย่งความชื้นได้ดี หากปริมาณความชื้นในดินต่ำหรือฝนตกน้อยไม้ยูคาลิปตัสจะดูดความชื้นจากดินไปหมด ทำให้การเจริญเติบโตของพืชชั้นล่างและไม้ข้างเคียงชะงัก
3.ใบสดของยูคาลิปตัสมีน้ำมันหอมระเหยสะสมอยู่ ซึ่งถ้ามีปริมาณความเข้มข้นสูงจะสามารถยับบั้งการงอกและการเจริญเติบโตของพืชอื่นได้
4.เป็นไม้ที่มีศักยภาพต่ำในการปลูกเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน
5.คุณภาพเนื้อไม้ยูคาลิปตัสเมื่อแปรรูปจะบิดงอได้ง่าย เนื้อไม้มีเสี้ยนบิดเป็นเกลียวและแตกร้าว จึงเหมาะสมสำหรับใช้งานหน้าแคบและสั้น
จำหน่ายต้นกล้ายูคาลิปตัส....สนใจติดต่อ..
คุณไก่..081-2839267 095-4654546
autentici orologi replica movimento svizzero orologi rolex a Roma sia nuovi che usati. orologi replica usati brescia Consulta i prezzi dei rolex ed acquista direttamente online o in sede presso gioielleria
For the table fans is a table is not enough,[url=http://www.emontre.eu]replique rolex[/url] because the savings still stay in a month to eat
five times the level of lamb skewers,[url=http://www.zorologi.cn]orologi replica[/url] I put the enthusiasm of the table are devoted to the
purchase of watches and clocks in the magazine, and I and the nations The fate of the magazine is from the magazine to see the picture of the
nations began.
รับซื้อไม้ยางพารา ยูคา แบบเหมาสวน แถวพิษณุโลกและใกล้เคียง
รับซื้อต่อเนื่องตลอดปี และไม่จำกัดจำนวน ให้ราคาสูง ทางเรามีทีมงานดูแล ตัด ขนย้ายเอง หลังจากตกลงราคาและเงื่อนไขเรียบร้อยแล้ว โดยที่ท่านไม่ต้องทำอะไรเลย ที่สำคัญจ่ายเงินทันที
สนใจติดต่อ สอบถามรายละเอียดได้เลย
โทร 080-3301517
Line : archiraphat
ต้องการซื้อไม้ยูคาจากไร่...ติดต่อ ...y2hand@yahoo.com..ร้านค้าไม้ยูคา นนทบุรี ครับ
ต้องการซื้อไม้ยูคาจากไร่...ติดต่อ ...y2hand@yahoo.com..ร้านค้าไม้ยูคา นนทบุรี ครับ
ต้องการไม้ยูคาฯ ขนาด 3x3 40-45 ตัน
ส่งกระบี่
เสนอราคาครับ
iammouse_1@hotmail.com
ต้องการขายสวนยูคาอายุ 6 ปี จำนวน 20 ไร่ ลงยูคาไว้ 8,000 ต้น ติดต่อที่ 0813699606 จังหวัดมุกดาหาร
ต้องการขายสวนยูคาอายุ 6 ปี จำนวน 20 ไร่ ลงยูคาไว้ 8,000 ต้น ติดต่อที่ 0813699606 จังหวัดมุกดาหาร
รับซื้อ - รับตัดไม้ยูคา แบบเหมาไร่ เหมาสวน มีทีมงานคนตัดไม้ พร้อมรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ รถไถ รถคีบไม้ บริเวณจังหวัดที่สามารถรับตัดได้
- สระแก้ว , ปราจีนบุรี , นครนายก , ฉะเชิงเทรา , ชลบุรี , ปทุมธานี , สระบุรี , ลพบุรี
มีประสบการณ์ พูดคุยต่อรองกันได้ครับ ติดต่อ 081-982-2123 คุณชัย ครับผม
ขอแก้ไขค่ะ ต้องการแหล่งขายที่แน่นอนค่ะ(ทางเราต้องการซื้อระยะยาว)086 8809080