ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส
Eucalyptus camaldulensis
Dehn.การส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็วเพื่อให้มีไม้ใช้สอยในครัวเรือน และเพื่ออุตสาหกรรมที่จะมีเพิ่มมากขึ้น ไม้ที่ปลูกควรเป็นพันธุ์ไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว ปลูกง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้ง สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ดินเสื่อมโทรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม้ยูคาลิปตัสเป็นไม้โตเร็วชนิดหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมดังกล่าว มีรูปทรงลำต้นตรงเปลาดีพอสมควรสามารถเจริญเติบโตและตัดฟันเพื่อใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่อายุ
เนื่องจากประชาชนในชนบทยังไม่รู้ถึงประโยชน์ของไม้ยูคาลิปตัสมากเท่าที่ควร โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีสภาพแห้งแล้งดินเลว และมีอัตราการบุกรุกทำลายป่าสูงกว่าภาคอื่นๆจึงควรที่จะได้เร่งการรณรงค์ปลูกป่าให้มากขึ้น เพื่อทดแทนป่าที่ถูกทำลาย และรักษาความสมดุลตามธรรมชาติและที่สำคัญคือ ให้มีไม้ใช้สอยอย่างเพียงพอ โดยไม่ต้องตัดไม้จากป่าธรรมชาติอีกต่อไป 700 ชนิด มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปออสเตรเลียเป็นส่วนใหญ่ ประเทศไทยได้เริ่มนำยูคาลิปตัสชนิดต่างๆ มาทดลองปลูกประมาณปี พ.ศ. 2493 แต่ได้มีการทดลองกันจริงๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2507 ปรากฏว่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส (Eucalytus camaldulensis)สามารถเจริญเติบโตได้ในแทบทุกสภาพพื้นที่ และมีอัตราการเจริญเติบโตสูงจึงนิยมปลูกกันมากอย่างแพร่หลายยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส สามารเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพของดินแทบทุกประเภท ตั้งแต่ในที่ริมน้ำ ที่ราบน้ำท่วมบางระยะในรอบปี แม้แต่ดินที่เป็นทรายและมีความแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลานานพื้นที่ดินเลวที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 650 มม.ต่อปี รวมทั้งพื้นที่ที่มีดินเค็ม ดินเปรี้ยว แต่จะไม่ทนทานต่อดินที่มีหินปูนสูง
ลำต้น ใบ เมล็ด ขนาดเล็กกว่า 1 มม. สีเหลือง เมล็ด 1 ก.ก. มีเมล็ดประมาณ 1 – 200,000 เมล็ด ช่อดอก เกิดที่ข้อต่อระหว่างกิ่งกับใบ มีก้านดอกเรียวยาว และมีก้านย่อยแยกไปอีก ออกดอกเกือบตลอดปีขึ้นอยู่กับความสมบูรณืของต้นไม้มีทั้งดอกตูม ดอกบาน ผลอ่อนและผลแก่ในกิ่งเดียวกันออกดอกปีละ7 – 8 เดือน เหมาะกับการเลี้ยงผึ้ง ผล มีลักษณะครึ่งวงกลม หรือรูปถ้วย มีขนาด 0.2–0.3 x 0.2–0.3 นิ้ว ผิวนอกแข็ง เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแก่ปลายผลจะแยกออก ทำให้เมล็ดที่อยู่ภายในร่วงหล่นออกมา ลักษณะเนื้อไม้ มีแก่นสีน้ำตาล กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กระพี้และแก่นสีน้ำตาลอ่อน กระพี้และแก่นแตกต่างเห็นได้ชัด ไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซีส ที่มีอายุมากขึ้นจะมีสีน้ำตาลแดงเข้มกว่าไม้อายุน้อย เนื้อไม้มีลักษณะค่อนข้างละเอียด เสี้ยนสน(Interlocked grain) บางครั้งบิดไปตามแนวลำต้น เนื้อไม้มีความถ่วงจำเพาะอยู่ระหว่าง0.6 – 0.9 ในสภาพแห้งแล้งซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของไม้ เนื้อไม้แตกง่ายหลังจากตัดฟันตามแนวยาวขนานลำต้น แต่ถ้าทำให้ถูกหลักวิธีก็สามารถนำมาเลื่อยทำเครื่องเรือนและก่อสร้างได้ การเพาะชำกล้าไม้ยูคาลิปตัส ฤดูทำการเพาะ การเพาะเมล็ดยูคาลิปตัส ควรทำในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์เพราะระยะเวลาดังกล่าวจะทำให้สะดวกและได้ผลดี เนื่องจากหมดหน้าฝน และอากาศก็ไม่ร้อนจนเกินไปการย้ายชำจะมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง เมื่อกล้างอกมีอายุ 18 วัน เลี้ยงไว้ในถุงชำอย่างน้อย 2 – 3 เดือนจะมีความสูงประมาณ 25 ซม. ขนาดดังกล่าวเหมาะสมที่จะนำไปใช้ปลูกในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมพอดี แปลงเพาะเมล็ด แปลงเพาะเมล็ด แปลงเพาะควรให้ร่มประมาณ 50% ขนาดของแปลงควรจะกว้าประมาณ 1 เมตรเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน ส่วนความยาว แล้วแต่ความเหมาะสม ความกว้างขนาดดังกล่าว ช่วยให้ปฏิบัติงานในแปลงเพาะได้สะดวก และง่ายต่อการคำนวณเนื้อที่ที่จะใช้หว่านเมล็ดอีกด้วย ขอบแปลงก่อด้วยอิฐบล๊อค ซึ่งจะทำแข็งแรงและทนทานพื้นแปลงควรเป็นแบบเปิดหรือไม่มีสิ่งกีดกั้น เพราะเมื่อเวลาฝนตกหรือรดน้ำมากเกินไป น้ำจะได้ไม่ท่วมขังแต่จะซึมลงดินได้สะดวก และควรมีฝาครอบแปลงโดยใช้ไม้ทำขอบขนาดเท่าแปลงบุด้วยลวดตาข่าย เพื่อป้องกันแมลงหรือสัตว์ที่ชอบกินหรือทำลายเมล็ดและกล้าไม้ในเวลากลางคืน กลางวันเปิดให้ได้รับแสงและควรมีผ้าพลาสติกสำหรับคลุมลงบนฝาครอบแปลงเวลาฝนตกด้วย ถ้าเพาะเมล็ดจำนวนไม่มากนัก ควรเพาะลงในกระบะไม้หรือถาดพลาสติกซึ่งจะทำให้ดูแลรักษาง่ายสะดวกเวลาย้ายชำ สามารถยกไปทั้งกระบะ เมื่อชำไม่หมดก็ยกกลับมาไว้ที่เดิมได้ ดินสำหรับเพาะเมล็ด ควรเป็นดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ำได้ดี ดินในกรณีอื่นควรผสมทรายลงไปด้วยประมาณ 50% ทุบให้ละเอียด โดยแยกเอาเศษไม้หินและกรวดออกเสียก่อน จึงใส่แปลงเพาะให้เต็มเสมอกับขอบแปลง เกลี่ยให้ได้ระดับเสมอกับขอบแปลงทุกด้าน รดน้ำดินในแปลงและทิ้งไว้ให้ดินเกาะตัวกันก่อนจึงหว่านเมล็ด เมื่อเพาะเมล็ดครั้งหนึ่งแล้ว ควรเปลี่ยนดินในแปลงหรือกระบะใหม่ตากแปลงทิ้งไว้สัก 2 – 3 วัน เพื่อฆ่าเชื้อราที่จะเป็นอันตรายต่อเมล็ดหรือกล้าไม้ที่เราจะ เพาะครั้งต่อไป การหว่านเมล็ด เมล็ดยูคาลิปตัสมีขนาดเล็กมากและมีกากปนอยู่ จึงควรหว่านเมล็ดให้มีระยะสม่ำเสมอคลุมพื้นที่โดยตลอดและไม่ให้เมล็ดซ้อนกัน โดยทดลองหว่านบนกระดาษกราฟก่อนก็ได้เพื่อให้ทราบถึงปริมาณเมล็ดที่ใช้ต่อพื้นที่ หรือผสมกับทรายละเอียดอีก 2 เท่าตัว เพื่อจะได้ช่วยการกระจายของเมล็ดที่หว่านได้ดีขึ้น เมื่อหว่านเมล็ดเสร็จแล้วให้ใช้ทรายโรยทับบางๆ (หนา 1 – 2 มม.) แล้วเกลี่ยให้เรียบจึงรดน้ำควรบันทึกหรือปักป้ายบอกชนิดไม้ น้ำหนักเมล็ดที่ใช้เพาะ และวันที่เพาะ ส่วนวันงอก วันย้ายชำ และจำนวนกล้าที่ย้ายก็บันทึกเพิ่มเติมทีหลัง การรดน้ำแปลงเพาะ ขณะที่เมล็ดยังไม่งอก ควรรดทั้งเช้าและเย็น เพื่อให้ดินในแปลงชื้นอยู่เสมอโดยใช้บัวรดน้ำชนิดที่หัวเป็นฝอยละเอียดหรือใช้ถังพ่นยาก็ได้ น้ำที่ใช้รดถ้าผสมยาฆ่าเชื้อราด้วยจะเป็นการดี เมล็ดจะงอกหลังจากเพาะประมาณ 7 – 10 วัน เมื่อเมล็ดงอกแล้วควรลดการให้น้ำลงเป็นวันละครั้งในตอนเย็นหรือวันเว้นวัน หรือเมื่อเห็นว่าดินในแปลงแห้ง เพื่อป้องกันกล้าไม้เกิดโรคเน่าคอดิน(damping off) เนื่องจากดินชื้นแฉะเกินไป ถุงพลาสติกสำหรับบรรจุดินเพื่อชำกล้าไม้ยูคาลิปตัส ควรใช้ขนาด 10 x 17 ซม.(4”x6.5”) หนา 0.10 มม. 1 กิโลกรัมจะมีจำนวนถุงประมาณ 700 ถุง ก่อนนำไปบรรจุดินต้องเจาะรูก่อนเพื่อช่วยระบายน้ำส่วนเกินออกจากถุงเมื่อเวลารดน้ำหรือฝนตกมากเกินไป ถ้าน้ำขังอาจทำให้เกิดโรคเน่าคอดินแก่กล้าไม้ขณะยังเล็กอยู่ได้โดยใช้เหล็ก เจาะสายปะเก็น ขนาด 2 หุน ซึ่งจะเจาะได้เร็วและคราวละมากๆ โดยเจาะสูง จากก้นถุง 5 ซม. และ 3 ซม. ตำแหน่งละ 2 รู แต่ละรูห่างกันประมาณ 5 ซม. เมื่อคลี่ถุงออกแต่ละถุงจะมี 8 รู เวลาบรรจุดินใส่ถุงและขยุ้มก้นแต่งให้แบนราบแล้ว 4 รูล่างจะอยู่บริเวณขอบก้นถุงพอดีดินสำหรับบรรจุถุงชำ ควรเป็นดินร่วนปนทรายซึ่งมีการระบายน้ำดี ก่อนบรรจุควรทุบให้ละเอียด แยกกรวด หิน เศษหญ้าออกก่อน หากดินแห้งเกินไปให้รดน้ำดินเล็กน้อย เพื่อให้ดินเกาะตัวกันทำให้บรรจุได้ง่าย กระแทกถุงให้ดินแน่น ขยุ้มพับก้นถุงให้เรียบเพื่อสะดวกในการจัดเรียงถุง โดยเรียงเป็นแปลงกว้าง 12 ถุง ยาว 40 ถุง หรือเท่าไรก็ได้ แต่ให้สามารถเข้าไปดูแลจัดการได้สะดวก ดิน 1ลูกบาศก์เมตร บรรจุได้ประมาณ 2,200 ถุง เรียงไว้ในที่มีแสงประมาณ 50% และเปิดเพิ่มแสงได้เมื่อกล้าไม้โตขึ้น การชำกล้าไม้ ขนาดของกล้าไม้ยูคาลิปตัสที่พอเหมาะแก่การย้ายชำ คือ ความสูงราว 1.3 ซม. (Primary root) ยาวประมาณ 1 ซม. หรืออายุประมาณ 18 วัน มีใบจริงประมาณ 1 คู่ ขนาดดังกล่าว เมื่อย้ายชำจะมีเปอร์เซ็นต์รอดตายสูง ก่อนชำกล้าไม้ต้องรดน้ำในถุงชำเสียก่อน เพื่อให้ดินชื้นและเกาะตัวซึ่งกันและกัน ปล่อยทิ้งไว้สักครู่แล้วรดน้ำซ้ำลงไปอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้น้ำซึมลงไปทั่วถุง ปกติแล้วจะรดน้ำทิ้งไว้ในตอนเช้า และชำกล้าไม้ในตอนบ่าย เพื่อให้กล้าไม้ถูกแดดน้อยในวันที่ทำการย้ายชำ การถอนกล้าไม้ ในแปลงเพาะ ควรรดน้ำในแปลงเพาะให้ชุ่มเสียก่อนเพื่อให้ถอนกล้าได้ง่าย เลือกถอนกล้าไม้ที่มีขนาดใกล้เคียงกันในการชำแต่ละครั้ง เพื่อให้กล้าไม้เติบโตเป็นรุ่นๆ ไป ถ้ากล้าไม้มีรากแก้วยาวเกินไป ควรจะเด็ดออกบ้างเพื่อสะดวกในการชำ และมีเปอร์เซ็นต์รอดตายสูง กล้าไม้ที่ถอนมาควรจะพักไว้ในขันพลาสติกที่ใส่น้ำไว้เล็กน้อย การถอนกล้าไม้ชำครั้งหนึ่งๆ ไม่ควรถอนจำนวนมากๆควรจะกะให้ชำเสร็จหมดภายใน 3 ชั่วโมง ก่อนชำกล้าไม้ ให้ใช้ไม้แทงกลมเสี้ยมปลายแหลมขนาดดินสอดำแทงดินในถุงชำที่รดน้ำไว้ตรงกลางถุงพอดี ให้ลึกและกว้างพอเหมาะกับขนาดของรากกล้าไม้ ใส่รากกล้าไม้ลงไปในรูแล้วกดดินที่โคนกล้าไม้ให้แน่น ไม่ให้มีช่องว่างภายใน เสร็จแล้วใช้บัวรดน้ำชนิดเดียวกันกับที่รดน้ำแปลงเพาะรดน้ำให้กล้าไม้ในถุงชำอีกครั้ง หลังจากย้ายชำกล้าไม้ได้ประมาณ 20 วัน ให้แยกถุงที่กล้าไม้ตายออก นำถุงกล้าไม้ที่ไม่ตายจากแปลงอื่นใส่แทน สำหรับถุงที่ตายให้นำไปเรียงเป็นแปลงอีก ถอนวัชพืชและเติมดินให้เต็มแล้วค่อยนำกล้าไม้มาลงชำใหม่ การโรยทรายหน้าถุงชำ กล้าไม้ที่รอดตายและตั้งตัวได้แล้วให้ใช้ทรายหยาบโรยบนหน้าถุงให้เต็มที่ส่วนที่ยุบลงไป เพื่อกันไม่ให้ปากถุงพับเวลารดน้ำ ช่วยให้หน้าดินไม่จับกันแน่นหรือเกิดตะไคร่น้ำบนหน้าดิน และสะดวกต่อการถอนวัชพืชที่เกิดขึ้นในถุงชำด้วย การดูแลรักษากล้าไม้ การรดน้ำ ในระยะแรกหลังจากย้ายชำกล้าไม้ใหม่ๆ ควรจะรดน้ำในถุงทั้งเช้าและเย็นเป็นเวลา1 อาทิตย์ เพื่อให้ดินในถุงชำชุ่มชื้นอยู่เสมอ จะทำให้กล้าไม้ตั้งตัวได้เร็วขึ้น โดยใช้บัวรดน้ำชนิดที่หัวหรือฝักบัวเป็นฝอยละเอียดหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้า ส่วนกล้าไม้ที่รอดตายและตั้งตัวได้หลังจากโรยทรายหน้าถุงแล้ว ให้รดน้ำวันเว้นวันในตอนเช้าก็พอ เพราะถ้าให้น้ำมากจะทำให้กล้าไม้เติบโตทางด้านความสูงมากเกินไป ซึ่งทำให้ลำต้นอ่อน คดงอ และหักล้มง่าย การถอนวัชพืช เพื่อป้องกันวัชพืชขึ้นแก่งแย่งอาหารในดินจากกล้าไม้ควรถอนวัชพืชที่ขึ้น2 เมตร ควรถางวัชพืชออกให้หมด และบริเวณใกล้เคียงให้ตัดหญ้าให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นทีอยู่อาศัยของแมลงหรือโรคบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายแก่กล้าไม้ได้ นำกล้าไม้ที่ตัดรากแล้วในแปลงชำเดียวกันมาจัดแยกชั้นความสูง โดยเรียงตามลำดับตั้งแต่สูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้กล้าไม้ทุกต้นได้รับแสงสว่างอย่างทั่วถึงกันซึ่งจะทำให้กล้าไม้เจริญเติบโตเร็วขึ้นและสะดวกต่อการคัดกล้าไม้ที่มีขนาดเดียวกันไปปลูกอีกด้วยเพื่อให้จัดแยกชั้นความสูงได้เร็วขึ้น ควรนำมาจัดเรียงแยกออกจากแปลงเดิม โดยใช้ที่ว่างข้างแปลงนั่นเองและเลื่อนแต่ละแปลงตามมาตามลำดับ เมื่อจัดเสร็จไปแปลงหนึ่งๆ ควรรดน้ำทันที เพื่อให้กล้าไม้ฟื้นตัวเร็วขึ้นปกติการตัดรากและการจัดชั้นความสูงจะทำไปพร้อมกัน
ยูคาลิปตัสเป็นไม้ต่างประเทศมีมากกว่า
ความคิดเห็น