http://www.http://takuyak.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 23/05/2008
ปรับปรุง 13/01/2023
สถิติผู้เข้าชม5,772,966
Page Views7,086,157
สินค้าทั้งหมด 5
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
โลกร้อน หายนะมวลมนุษยชาติ
มิติธรรมชาติ
เศรษฐพอเพียง
สักทองพืชทำเงินที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
"ต้นยางนา" พืชสร้างเงินที่ไม่ธรรมดา
"ไม้ยูคาลิปตัส"ความต้องการใช้ที่มีอย่างต่อเนื่อง
ไม้พยุง ไม้เงินล้านวันนี้ราคาพุ่งแรงแซงไม่หยุด
เปิดคลังไอเดียพืชทำเงิน
ราคาทอง
ราคาน้ำมัน
พยากรณ์อากาศ
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
ทีวีผ่านเน็ต
ศูนย์รวมสมุนไพรทุกชนิด
เพื่อนบ้านทั้งหมด
 

ตะกูยักษ์...พีชทำเงินที่มาแรงสร้างรายได้เหลือเชื่อ

ตะกูยักษ์...พีชทำเงินที่มาแรงสร้างรายได้เหลือเชื่อ

 ต้นตะกู

       การปลูกไม้โตเร็วในประเทศไทย ในส่วนของผู้ผลิตไม้เศรษฐกิจโตเร็วในไทยแล้ว มีเกษตรกรและผู้สนใจที่ตะหนักถึงช่องว่างทางการตลาดและมองเห็นว่าเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ ได้ทำการปลูกไม้เศรษฐกิจโตเร็วจำนวนมาก เช่น ยูคาลิปตัส  เพื่อแปรรูปใช้งาน แต่ปลูกยูคาลิปตัสแล้วทำให้ดินเสื่อมสภาพ  หากกลับมาปลูกพืชดังเดิมหรือพืชชนิดอื่นจะได้ผลผลิตไม่ดีเท่าเดิม  จึงได้ชะลอการปลูกไปก่อน  โดยหันมามองไม้โตเร็วชนิดอื่นที่คิดว่าจะดีกว่า แต่การปลูกไม้ดังกล่าวส่วนหนึ่งจะพบปัญหาต่างกันไป เช่นเพาโลเนีย เป็นไม้เมืองหนาว เมื่อนำมาปลูกในไทยก็มีปัญหาเรื่องดินฟ้าอากาศที่ไม่เหมาะสมและดูแลยาก ทำให้ไม่ได้คุณภาพตามที่คาดหวังไว้  กรณีไม้ยมหอมที่มีปัญหาเรื่องหนอนกินยอดอย่างรุนแรง ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ ข้อมูลปัญหาที่พบเหล่านี้เกษตรกรส่วนมากจะพบปัญหาด้วยตัวเอง เนื่องจากไม่มีข้อมูลเรื่องอุปสรรคและปัญหาของไม้ที่ควรจะได้รับรู้ในการตัดสินใจก่อนปลูก เมื่อมีการทดลองและศึกษาข้อมูลในแปลงทดลอง ทำให้รู้ถึงศักยภาพของตะกู เป็นอย่างมาก เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตของตะกูในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งในแนวตั้งและแนวเส้นผ่าศูนย์กลางเจริญเติบโตได้ดีมาก ตะกูจึงเป็นไม้อีกชนิดหนึ่งที่สามารถจัดเป็นไม้เศรษฐกิจโตเร็วในอนาคตได้ แต่เนื่องจากแหล่งต้นใหญ่ ต้นกล้าหรือแหล่งเพาะพันธุ์มีน้อย  เพาะพันธุ์ได้ยาก จึงทำให้เกษตรกรไม่ทราบว่าจะหากล้าพันธุ์ได้ที่ใด รวมถึงข้อมูลที่ยังทราบกันอยู่ในกลุ่มแคบ ๆ ต้นตะกูเป็นไม้ยืนต้นซึ่งใกล้จะสูญพันธุ์จากประเทศไทยแล้ว เป็นไม้มงคล  โบราณเชื่อว่าจะขึ้นเป็นคู่ ๆ ในอาณาเขตบ้านของผู้มีบุญ  ปัจจุบันกรมป่าไม้จัดไม้ตะกูเป็นหนึ่งในไม้ป่ายืนต้นที่ปลูกทางด้านเศรษฐกิจของไทยอันดับที่ 21 ( เป็น 1 ใน 60 ชนิด ) เป็นไม้ที่เหมาะกับการปลูกป่าใหม่ที่ให้ผลเร็ว เป็นไม้โตเร็ว ลำต้นเปลาตรง มีขนาดใหญ่ ได้เนื้อไม้มาก  ส่วนเสียน้อย  ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ทดแทนไม้สัก ซึ่งเป็นไม้หวงห้าม เจริญเติบโตช้า เนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณไม้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด จึงต้องนำเข้าไม้แปรรูปจากต่างประเทศปีละกว่า 50,000  ล้านบาท ทำให้ขาดดุลการค้าทุกปี  การปลูกต้นตะกูจึงนับเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของการปลูกป่าใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งทางสิ่งแวดล้อมและทางเศรษฐกิจของไทยได้เร็วที่สุด

ลักษณะต้นตะกู

                เป็นไม้ที่มีลำต้นสูงใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สูง 15 30 เมตร เนื้อละเอียดสีเหลืองนวล แข็งแรง น้ำหนักเบา เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระเป็นร่องละเอียดตามแนวลำต้น  กิ่งแตกเป็นแนวทำมุมกับพื้นดิน วางตำแหน่งเป็นคู่ ในตำแหน่งตรงข้ามกันเป็นช่วง ๆ ตามแนวลำต้น แต่ละช่วงสลับกัน ใบเป็นใบเดี่ยวทรงรีคล้ายใบสัก ผิวเนียนละเอียด แผ่นใบด้านบนมีขนสาก ๆ และมีสีเข้ม ส่วนท้องใบจะมีขนสั้น ๆ แทบมองไม่เป็น แต่สัมผัสนุ่มมืออยู่ด้านล่าง เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้าน เป็นเส้นใบชัดทั้งสองด้าน ใบมีกลิ่นหอม  ดอกมีสีเขียวอมเหลืองเมื่อแก่จะเป็นสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม กลุ่มดอกลักษณะกลมใหญ่ ประมาณ 3.5 7 เซนติเมตร จะออกในตำแหน่งปลายกิ่ง ในกลุ่มดอกมีกลีบดอกอัดแน่นจำนวนมากแต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบหยักมนและแผ่ออกเล็กน้อย ใต้กลีบดอกมีกระเปาะเมล็ด 5 กระเปาะ มีเมล็ดข้างใน เมื่อผลแก่เต็มที่จะร่วงลงตามธรรมชาติ เริ่มออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4 ปี สำหรับต้นที่โตเต็มที่แล้วจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายน กันยายน ผลรวมอุ้มน้ำ เกิดจากวงกลีบรองดอกของแต่ละดอกเชื่อมติดต่อกันโดยเรียงกันแน่นเป็นก้อนกลมอยู่บนช่อดอก มีขนาดความโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 6 เซนติเมตร

การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา

                ไม้ตะกูพบในอินเดีย  เนปาล  ไทย  พม่า  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย ฯลฯ  เชื่อว่าเป็นไม้ที่มีขอบเขตการกระจายพันธุ์กว้างชนิดหนึ่ง โดยกระจายพันธุ์จากเนปาลและอัสสัมมาทางทิศตะวันออกจนถึงแถบอินโดจีน และกระจายพันธุ์ลงไปทางใต้แถบมาเลเซีย  อินโดนีเซีย  จนกระทั่งถึงหมู่เกาะนิวกินี  สามารถขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบริมทะเลไปจนถึงระดับความสูง 1,500 เมตร  ปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000 5,000  มิลลิเมตร ในประเทศไทยมีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ โดยมักพบขึ้นเป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดั้งเดิมที่ถูกแผ้วถางแล้วปล่อยทิ้งไว้หรือสองข้างถนนที่ตัดผ่านป่าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น  สามารถตัดให้แตกหน่อได้ดี  จึงเป็นความหวังในอนาคตที่จะปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกูเพื่อเป็นแหล่งผลิตไม้แผ่นขนาดเล็ก ไม้ท่อน และทำเยื่อกระดาษ  โดยใช้รอบตัดฟันเพียง 5 10 ปี และนับว่าเป็นไม้เศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีอนาคตสดใสมากที่สุดชนิดหนึ่ง

ชื่ออื่น ๆ ของต้นตะกู

                กระทุ่ม ( มาจากคำว่า กทัมพ ในภาษาบาลี )

                ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocepalus  chinensis ( Lamk.)  A.Rich.ex Walp.

                ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

                กรุงเทพฯ เรียก กระทุ่ม , กระทุ่มบก

                ภาคเหนือ เรียก ตุ้มหลวง , ตุ้มก้านซ้วง , ตุ้มก้านยาว

                กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน เรียก ปะแด๊ะ  , เปอแด๊ะ , สะพรั่ง

                ขอนแก่น  เรียก ตุ้มพราย , ทุ่มพราย

                สุโขทัย  จันทบุรี  นครศรีธรรมราช เรียก ตะกู

                ภาคตะวันออก เรียก แคแสง , ตะโกส้ม , ตะโกใหญ่

                ภาคใต้ เรียก  ตุ้มขี้หมู , โกหว่า , กลองประหยัน

                ในเมืองไทยพบได้หลายหลายสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ จะมีลักษณะดอกและใบที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย บางสายพันธุ์ก็เติบโตได้แต่เฉพาะในที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่บางสายพันธุ์ก็สามารถเติบโตได้ทั้งที่ใกล้น้ำและที่แล้ง  การลงทุนปลูกต้องเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตเร็ว และจะให้ดีควรเลือกสายพันธุ์ที่เติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ เช่นตะกูก้านแดง  ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทางเราแนะนำ เนื่องจากมีการวิจัยและคัดเลือกสายพันธุ์มาแล้ว  ต้นกล้าที่ได้จะเป็นต้นพันธุ์คุณภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งไม้ที่คุ้มค่าสร้างผลกำไรที่แน่นอนต่อผู้ปลูก

                                                                                                                 

เนื้อไม้

                เป็นไม้ที่มีสีเหลืองนวล  แข็งแรง ทนทาน เนื้อละเอียด  น้ำหนักเบา  มีความเหนียว ไม่แตกหักง่าย ขึ้นรูปง่าย  คุณสมบัติพิเศษของต้นตะกูอีกอย่าง คือ ปลวกหรือมอดไม้ไม่กินเหมือนไม้สัก  จึงนิยมนำมาสร้างบ้าน ทำไม้พื้น  ไม้กระดาน  เสาบ้าน  ประตู  หน้าต่าง  วงกบ  เหมาะสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์  เครื่องเรือน  เครื่องใช้ในบ้าน ง่ายต่อการทำการแปรรูป ถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง จึงถูกนำมาแกะสลักเป็นรูปเคารพต่าง ๆ สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ถูกจัดเป็นไม้มงคล เพราะในอินเดียเชื่อกันว่าเป็นต้นไม้ที่โปรดปรานของพระกฤษณะ  และชาวอินเดียนิยมนำดอกตะกูไปใช้ในการบูชาเทพเจ้า และยังนิยมนำดอกตะกูไปสกัดเพื่อเป็นส่วนประกอบของหัวน้ำหอม และเนื่องจากไม้มีลำต้นสูงเปลา สามารถแปรรูปได้ไม้หน้าใหญ่และยาว

                                                                                                                

ลักษณะเด่นของตะกู

1.    โตเร็ว  แปรรูปได้ปริมาณไม้ต่อต้นสูง

2.    สามารถอยู่รอดได้ในพื้นที่น้ำท่วมขัง และสามารถเจริญเติบโตได้เมื่อไม้ฟื้นตัวหลังน้ำลด

3.    ทนแล้ง

4.    มีการงอกขึ้นใหม่ได้อีกจากโคนเดิมหลังจากการตัดฟัน ซึ่งเป็นลักษณะของไม้โตเร็ว ทำให้ผู้ปลูกไม่ต้องลงทุนในการปลูกต้นกล้าอีกในหลายรอบ

5.    เป็นไม้ที่มีลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มแคบ ๆ  เปลืองพื้นที่ในการปลูกน้อย จึงปลูกต่อไร่ได้จำนวนมาก

6.    ปลูกได้ในทุกที่ สามารถช่วยให้ความชุ่มชื้น ฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำป่าน้อยลง

7.    เนื้อไม้เนียน  ละเอียด  สวย  เนื้อไม้มีปริมาณมาก สามารถทำเฟอร์นิเจอร์ได้ทุกชนิดทั้งชิ้นใหญ่และชิ้นเล็ก

8.    ปลวกและมอดไม่กินเหมือนไม้สัก

ขั้นตอนการปลูกต้นตะกู

                ปลูกด้วยกล้าพันธุ์ สูงประมาณ 5 นิ้ว ขุดหลุมกว้าง 30 x 30  เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร หากเป็นพื้นที่ลูกรังควรขุดหลุมกว้าง 40 x 40 เซนติเมตร จากนั้นตากแดดทิ้งไว้สักระยะเพื่อฆ่าเชื้อ  ควรใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ๆ ละ 250 300  กรัม ขณะนำต้นตะกูลงปลูก ระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตกในขณะฉีกถุง  กลบดินให้แน่น อย่าให้น้ำขังบริเวณหลุม  ควรใช้ไม้ค้ำขวางลมผูกเชือกยึดติดกับไม้ค้ำ เพื่อป้องกันต้นล้ม ระยะเริ่มปลูกถึง 2 เดือน ควรดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้ต้นกล้าไม่ชะงัก การเจริญเติบโตพอต้นไม้อายุประมาณ 5 เดือน สูงประมาณ 5 เมตร

การใส่ปุ๋ย ( เพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น )

ปีที่ 1

-         ครั้งที่ 1 หลังจากการปลูกลงดิน 1 เดือน

-         ครั้งที่ 2 ช่วงปลายฤดูฝนแรก หลังจากปลูกลงดินไว้ ( ช่วงเดือนกันยายน ตุลาคม )

ปีที่ 2 – 5

-         ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน ( เดือนพฤษภาคม )

-         ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน ( เดือนกันยายน ตุลาคม )

พื้นที่สำหรับปลูก

                ต้นตะกูสามารถปลูกได้ไร่ละประมาณ 120 ต้นขึ้นไป   โดยดูตามสภาพพื้นที่เพาะปลูก  พื้นราบ การปลูก 3 x 3 เมตร ( ระยะด้านห่าง 3 เมตร ระยะแถว 3 เมตร ) เนินเขา  การปลูก 3 x 3 เมตร ( ระยะด้านห่าง 3 เมตร ระยะแถว 5 เมตร )

การดูแลรักษา

                ต้นตะกูสามารถหาอาหารเองได้ การดูแลรักษาจึงไม่ยุ่งยากใด ๆ เพียงแค่ช่วง 5 เดือนแรกหลังจากปลูกลงดินที่ต้องให้น้ำบ้าง  หลังจากนั้นก็แค่ใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น  แต่สิ่งที่ควรระมัดระวังในระยะเริ่มปลูกปีที่ 1 2  ควรหาวิธีป้องกันไม่ให้สัตว์กินพืชเข้าไปในแปลง เพราะอาจเข้าไปกัดกินยอดและใบของต้นตะกูได้ ส่วนโรคและแมลงที่ผ่านมาในประเทศไทย ยังไม่เคยมีรายงานความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงใด ๆ ในช่วง 3 ปีแรกจะต้องทำการดูแล ให้ตะกูได้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอเป็นการเร่งผลผลิตและปริมาณเนื้อไม้ เพื่อให้ตะกูมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าการปลูกตามธรรมชาติ ควรให้ปุ๋ยทุก 4 เดือนในระยะแรก และให้ปุ๋ยปีละ 2 ครั้งก่อนและหลังหน้าฝน  เมื่อไม้อายุ 2 ปีขึ้นไป ในช่วงแรกที่ต้นตะกูยังไม่โต ให้ทำการดายวัชพืช ไม่ให้วัชพืชสูงคลุมต้นกล้า  เมื่อต้นไม้สูงพ้นวัชพืชแล้ว ทำการดายวัชพืชรอบโคนต้นปีละครั้งก็เพียงพอ  ในช่วงระยะที่เจริญเติบโตตะกูสามารถลิดกิ่งได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่มีความจำเป็นในการลิดกิ่งเหมือนป่าชนิดอื่น ๆ

                หากต้องการปลูกเพื่อเป็นธุรกิจอย่างจริงจัง  การปลูกแบบนี้จะทำให้ได้ผลผลิตที่ได้คุณภาพและให้ผลตอบแทนเร็วกว่าปกติ  เนื่องจากสามารถควบคุมไม้ให้มีคุณภาพดี สามารถควบคุมแปลงปลูกทั้งในเรื่องจำนวนการปลูก  การให้ปุ๋ย และการดูแล  โดยจะทำการตัดโค่น เพื่อทำกำไรช่วงแรกในปีที่ 5 จำนวนหนึ่ง เพื่อให้ไม้ที่เหลืออยู่มีระยะห่างพื้นที่ในการเจริญเติบโต

                การปลูกแบบนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะไม่ต้องดูแลหรือบำรุงรักษามาก เพียงแค่ดูแลเมื่อแรกลงกล้าพันธุ์ไม้จนกระทั่งแน่ใจว่าไม้อยู่รอดแล้ว จากนั้นก็ปล่อยให้เจริญเติบโตตามสภาพแวดล้อม

                สามารถปลูกได้ตามระยะรอบแนวที่เพื่อเป็นแนวเขต เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเมื่อถึงระยะการตัดโค่นแล้วก็จะได้ผลตอบแทนจากการขายไม้พอสมควร

 

บทวิเคราะห์การลงทุน วงรอบ 25 ปี

 

ประเภทการลงทุน

งบลงทุน

เริ่มรับรู้รายได้

ยอดรวมรายได้

รายได้สุทธิ

เฉลี่ยรายได้ต่อปี

การดูแลรักษา

ปลูกไม้ยางพารา

38,000.-

ปีที่ 7

287,000.-

249,000.-

9,960.-

ต้องควบคุมรายได้เอง

ปลูกปาล์มน้ำมัน

26,500.-

ปีที่ 3

606,000.-

579,500.-

23,180.-

ต้องควบคุมรายได้เอง

ปลูกไม้ยูคาลิปตัส

42,000.-

ปีที่ 5

142,500.-

100,500.-

4,020.-

ควบคุมเองเมื่อตัดโค่น

ปลูกไม้ตะกู

21,500.-

ปีที่ 3

946,400.-

924,900.-

36,996.-

ควบคุมเองเมื่อตัดโค่น

 

  ข้อมูลอ้างอิง

  กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

  ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

 

สรุป                        บทวิเคราะห์นี้แสดงรายได้โดยประมาณต่อพื้นที่ 1 ไร่ต่อวงรอบ 25 ปี         ประมาณการอ้างอิงจากสถานการณ์ราคาในปัจจุบันที่ท้ายเอกสาร

"ตะกูยักษ์" สายพันธุ์ก้านแดงราคาเริ่มต้นที่1บาทกว่าๆ    จำหน่ายเมล็ดพันตะกูยักษ์สายพันธุ์ก้านแดงจำนวนมากราคาไม่แพงที่สำคัญเป็นเมล็พันธุ์ที่เก็บปีนี้ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้ามปีแบบผู้จำหน่ายอื่นเปอร์เซ็นต์การงอกสูงมาก.....สนใจติดต่อคุณไก่..081-2839267

      

ความคิดเห็น

  1. 1
    dune jonhon
    dune jonhon dunejonhon@gmail.com 02/02/2021 17:22

    Off White Hoodies Top Designer
    Wholesale online Salomon Running Shoes
    Coach Totes outlet for sale
    Pandora Collections
    ED Hardy Shopping
    Large Discount Polo Ralph Lauren
    Pandora Necklaces 2021
    Genuine Ed Hardy T Shirts
    Champion Jackets Logo
    Air Jordan High Red Bule
    Discount Pandora Disney
    Salomon Boots
    Polo Ralph Lauren By Free Shipping
    Best Adidas NMD Boost Online
    Adidas Yeezy USA Factory Outlet
    Authentic Adidas Discount Outlet
    Men's Ralph Lauren Hoodies New Arrival
    Golden Goose Hi Star Sale Italy
    Black White OFF White
    Pandora Rings Jewelry
    Golden Goose Superstar
    Ralph Lauren Yellow Red
    Palace Skateboard Hoodies White
    Nike Air Max 270
    Soccer Jersey Club
    Pandora Necklaces
    Coach Outlet Hobo UK
    Adidas Nemeziz Store Online
    Polo Ralph Lauren Shorts
    NFL Jerseys Cheap
    Ralph Lauren Dresses Factory Store
    Cheap Pandora Gifts
    Ralph Lauren Down Jackets Factory Outlet
    Air Jordan Mid Online
    Nike Air Jordan USA
    Golden Goose Hi Star
    Kate Spade Shoulder Canada Outlet
    Love Kills Slowly T Shirts
    Nike Air Max Plus USA Fashion
    Pandora Rings UK Online Shop
    Ralph Lauren Classic Polos
    Kate Spade Surprise Sale
    Coach Discount
    China Nike Air Max 90 Cheap
    Sale Nike Kyrie Worldwide
    Polo Ralph Lauren Shop Free
    Nike Kyrie Shoes US Save Off
    Largest Adidas Yeezy Boost Collection
    Coach Luggage Royal Fashion Bags
    US Outlet Golden Goose Superstar
    Love Kills Slowly
    Pink Adidas Superstar
    Salomon Speedcross Fashion Designs
    New York Nike Air Jordan
    Pandora Charms Pink Women
    Best Adidas Boost
    Kate Spade Hobos
    Adidas Products In White Black
    Buy High Quality Nike Air Max
    Ralph Lauren Polos
    Home Nike Air Jordan Low UK
    Ed Hardy Love Kill Slowly
    NFL Jerseys Dallas Cowboys
    Cheap Coach Crossbody Outlet
    us coach totes women
    Buy Online Nike AJ Shoes
    New York Adidas Boost Sale
    Outlet Nike Air Jordan 1 USA
    Coach Handbags Outlet Online
    Nike Air Max 270 USA Sale
    UK Online Ralph Lauren
    Supreme Store No Tax
    Adidas Yeezy Boost For Men
    Nike Shoes Just For You
    Hogan Platforms Italy Factory Outlet
    Golden Goose Size
    Nike Air Max Wholesale Online USA
    Denmark Adidas NMD Boost
    Nike Air Max White Black
    Adidas USA New York
    Supreme Outlet Singapore
    Coach Mini Bag USA Factory Outlet
    Nike Air Max 97 Online Shopping
    Official Supplier Ralph Lauren Body Warmer
    ED Hardy Hoodies Outlet
    Kate Spade Backpack
    Wholesale ED Hardy T-Shirts
    Denmark Adidas NMD Boost
    Available Nike Air Max
    Ralph Lauren Polo Buy Online
    Ralph Lauren Sale Retailer
    Polo Ralph Laurens for women
    USA coach leathers
    Europe Soccer Jerseys
    Ed Hardy Beach Pants Discount
    Nike Air Jordan Open Store

  2. 2
    USA Ralph Lauren Vest Men
    USA Ralph Lauren Vest Men dunejonhon@gmail.com 02/02/2021 17:22

    It as very straightforward to find out any topic on net as compared to trainings,courses, I found this article at this site.

  3. 3
    kopong
    kopong phanupongd@gmail.com 20/03/2017 11:17

    ภาคใต้มีใครรับซื้อต้นตะกูบ้างครับ

  4. 4
    24/10/2016 08:57

    รับซื้อไม้ตะกู แบบเหมาสวน แถวพิษณุโลกและใกล้เคียง


    รับซื้อต่อเนื่องตลอดปี และไม่จำกัดจำนวน ให้ราคาสูง ทางเรามีทีมงานดูแล ตัด ขนย้ายเอง หลังจากตกลงราคาและเงื่อนไขเรียบร้อยแล้ว โดยที่ท่านไม่ต้องทำอะไรเลย ที่สำคัญจ่ายเงินทันที


    สนใจติดต่อ สอบถามรายละเอียดได้เลย


    โทร 080-3301517


    Line : archiraphat

  5. 5
    Tonza
    Tonza tharathorn_sa@hotmail.com 21/03/2013 10:10

    ผมปลูกไม้ตะกูพันธ์ก้านแดงทิ้งไว้ที่ไร่ อายุประมาณ 5ปี เส้นรอบวงของต้น 50 - 60 ซม. ความกว้าง 5 - 8 นิ้ว อยู่ จ. สระบุรี 1500 - 2000 ต้น ท่านใดสนใจตัดแปรรูปไม้ไปเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะกับข้าว ราวไม้ตากผ้า เยื้อกระดาษ หรืออื่นๆ  (ผมก็อยากทำแปรรูปไม้เองแต่เครืื่องมือไม่มี) สนใจติดต่อมาได้ครับ 085-1794843 คุณต้น.(ดูรูปที่แนบมาครับ หรือ )


    >>(ปลูกไม้แล้วอย่าคิดมาก ไม้ยังไงก็ตัดขายได้ ถ้าไม่รีบร้อนเรื่องเงินนะครับ ผมลองตัดแปรรูปไป 1 ต้น เป็นไม้หน้า3 เนื้อไม้ผิวเสี้ยนละเอียดสีออกเหลืองนวลขาวน้ำหนักเบา ผิวสวย แต่ยังไม่ได้นำไม่อบน้ำยาหรือไล่ความชื้นอะไร ลองบิดงอก็ OK.รับแรงกดจิกกระแทกไม่ค่อยดีจะเป็นรอยยุบ เนื้อไม้พอๆกับไม้ยางพารา ที่นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ขายทั่วๆไป ) 

  6. 6
    ภานุศักดิ์
    ภานุศักดิ์ papadonut@hotmail.com 19/05/2011 21:51
    อยู่เกาะพะงันปลูกได้ป่าวครับ
  7. 7
    kanyanat
    kanyanat d-a-0-h-0-h@hotmail.com 23/01/2011 00:10

     อยากถามว่าหากแซมหรือปลูกระหว่างต้นยางได้หรือเปล่าค่ะ
    สนใจมากค่ะ แต่มีพื้นที่ปลูกไม่มากแค่ สิบไร่เอง แต่อยากลองปลูกดู
    หนูอยู่ภาคใต้จะเหมาะรึเปล่าค่ะหากคิดจะปลูก ต้นตะกู

  8. 8
    ณัฐพล
    ณัฐพล 21/12/2010 00:18
    น่าสนใจครับ ถ้าเอามาทำเฟอร์นิเจอร์ไม่รู้จะมีอายุการใช้งานยาวนานแค่ไหน
  9. 9
    รินทร์
    รินทร์ rukkaonaja@windowslive.com 05/09/2010 11:32

    ต้นตระกูใช้ปุ๋ยขี้ไก่ได้ไหมค่ะ

  10. 10
    unicon53002
    unicon53002 union53002@gmail.co.th 31/08/2010 12:57
    ต้นตะกูสามารถ ใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียวได้ไหมครับ
 1  2 [Next]

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

 
 หน้าแรก  ตะกู  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view